รายงานฉบับนี้อ้างอิงจากการวิเคราะห์ผลการศึกษามากกว่า 14,000 ชิ้น จนเป็นบทสรุปที่มีความหนาประมาณ 3,500 หน้า มันชัดเจนและครอบคลุมที่สุด มันเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กายภาพของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าสภาพอากาศในอดีตเป็นอย่างไร ตอนนี้เป็นอย่างไร และจะเป็นอย่างไรในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า” และยังแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในอนาคตผ่านการกระทำหรือไม่ทำ แล้วเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซกักความร้อนอื่นๆ เราทำอะไรได้บ้าง ..ต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญ 5 ข้อ จากการสรุปรายงานนี้
1. อิทธิพลของมนุษย์ทำให้โลกร้อนขึ้นได้อย่างชัดเจน
รายงานนี้เป็นการประเมินทางวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศครั้งที่หกโดยสหประชาชาติ มันไม่เหมือนกับรายงานก่อนหน้านี้ เพราะรายงานฉบับนี้ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับใครหรือสิ่งใดที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน เพราะได้ระบุเอาไว้เป็นครั้งแรกว่า “เห็นได้ชัดว่าอิทธิพลของมนุษย์ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นดินอุ่นขึ้น” ..ไม่เน้นไปที่ใครหรือประเทศไหนแต่เป็นมนุษย์
จากการสังเกตการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศตั้งแต่ปี 1750 สามารถเชื่อมโยงโดยตรงกับกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเผาถ่านหิน น้ำมัน และเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ จนโลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม การปล่อยมลพิษเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก และเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไปในปัจจุบัน ในขณะที่โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนผลกระทบไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในบางพื้นที่ แต่จะเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก
2. วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับภูมิอากาศ ดีขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น
เหตุผลที่รายงานฉบับล่าสุด สามารถสรุปได้โดยไม่ต้องสงสัยว่ามนุษย์มีความรับผิดชอบในภาวะโลกร้อน คือการวิจัยสภาพภูมิอากาศของพวกเราทำได้ดีขึ้นมาก
มีข้อมูลเชิงสังเกตอีกมากมาย เช่น การวัดอุณหภูมิและข้อมูลอื่นๆ ทั้งจากเครื่องมือบนบก ในมหาสมุทร และในอวกาศ ซึ่งลดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น การปรับปรุงนี้สังเกตเห็นได้ชัดเจนขึ้นมากโดยเฉพาะกับประเทศที่ร่ำรวยน้อย จนมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศได้น้อย
โมเดลคอมพิวเตอร์ที่จำลองสภาพอากาศได้รับการปรับปรุงอย่างมากเช่นกัน และมีคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังมากขึ้น มันช่วยเรียกใช้การจำลองเหล่านี้เร็วขึ้น มันง่ายที่จะจำลองซ้ำแล้วซ้ำอีก ด้วยการปรับปรุงเหล่านี้ บวกกับความสามารถในการเพิ่มข้อมูลเข้ากับแบบจำลองมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มั่นใจมากขึ้นว่า แบบจำลองของพวกเขาคาดการณ์สภาพอากาศในอนาคตได้อย่างถูกต้อง
3. เราจะถูกขังอยู่ใน 30 ปี จากผลกระทบของสภาพอากาศที่เลวร้ายลงไม่ว่าเราจะทำอะไรกับโลกก็ตาม
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนนี้ โลกได้อุ่นขึ้นมาแล้วประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส โดยรายงานสรุปว่ามนุษย์ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากซะจนภาวะโลกร้อนจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงกลางศตวรรษ แม้ว่าประเทศต่างๆ จะดำเนินการทันทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างที่พยายามทำกันในปัจจุบัน
นั่นหมายความว่าผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนบางอย่างที่โลกกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เช่น ภัยแล้งที่รุนแรง คลื่นความร้อนรุนแรง ฝนตกหนักและน้ำท่วม จะยังคงเลวร้ายต่อไปอีกอย่างน้อย 30 ปีข้างหน้า
ผลกระทบบางอย่างจะดำเนินต่อไปอีกนานกว่านั้นมาก แผ่นน้ำแข็งขนาดมหึมาในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาตะวันตกจะละลายต่อไปอย่างน้อยก็จนถึงปลายศตวรรษ ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 2,000 ปี
4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
รายงานพบว่า การเปลี่ยนแปลงบางอย่างยิ่งใหญ่กว่าที่เคยเป็นมามาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้าตั้งแต่หลายศตวรรษจนถึงหลายสหัสวรรษ ซึ่งความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมากกว่าครั้งไหนๆ ในช่วงสองล้านปีที่ผ่านมา ขอบเขตของน้ำแข็งในทะเลช่วงปลายฤดูร้อนในแถบอาร์กติกนั้นต่ำกว่าที่เคยเป็นมาในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา
รายงานยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากกว่าเดิมประมาณสองเท่าตั้งแต่ปี 2006 โดยช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมานั้นอบอุ่นกว่าครั้งก่อนๆ คลื่นความร้อนบนบกเริ่มร้อนขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 1950 คลื่นความร้อนจากทะเลก็เช่นกัน การระเบิดของความร้อนจัดในมหาสมุทรที่สามารถคร่าชีวิตสัตว์ทะเลได้ เพิ่มความถี่เป็นสองเท่าในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
5. ยังมีช่องว่างที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางภูมิอากาศได้
รายงานนี้ได้ระบุถึงสภาพอากาศล่วงหน้า 5 ประการ ซึ่งมนุษย์จะใช้เพื่อกำหนดขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดการปล่อยมลพิษที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่ถึงแม้จะทำตามเป้าหมายที่ทะเยอทะยานกว่าที่กำหนดไว้ในข้อตกลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของปารีสปี 2015 โลกก็ยังร้อนถึง 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 หรือเร็วกว่านั้น
และรายงานระบุว่า การลดการปล่อยก๊าซอย่างจริงจัง รวดเร็วและแพร่หลาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ สามารถจำกัดภาวะโลกร้อนได้เกินกว่าปี 2050 โดยในสถานการณ์ที่มองโลกในแง่ดีที่สุด การปล่อยมลพิษ “เป็นศูนย์” อาจทำให้ภาวะโลกร้อนกลับมาต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสได้เล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ
สถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นงานใหญ่ยักษ์และมีราคาแพงมากสำหรับโลก นอกจากนี้ยังต้องการความร่วมมือทางการเมืองที่รัฐบาลส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ ไม่สามารถรวบรวมได้ มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะหยุดเรื่องนี้ แต่ก็ยังเป็นไปได้