6 ปลาดุกน้ำจืด ‘ที่พบในไทย’ อุย-ด้าน-บิ๊กอุย-รัสเซีย-ลำพัน-ลำพันภูเขา

สำหรับปลาดุกที่กำลังพูดถึงนี้ ถือเป็นปลาดุกที่สามารถพบได้ในประเทศไทย แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกชนิดที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทย แต่ก็พบได้ในธรรมชาติแล้ว และทั้งหมดก็สามารถนำมาทำอาหารได้ .. เดี๋ยวมาดูปลาดุกทั้ง 6 ชนิดกัน

1. ปลาดุกอุย

Advertisements

ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา (Broadhead catfish) ปัจจุบันเป็นปลาที่หายากในธรรมชาติ เพราะมันถูกแทนที่ด้วยปลาดุกชนิดอื่น โดยปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่มและมันมาก แน่นอนว่าราคาค่อนข้างแพง

ปลาดุกนา ปลาดุกอุยจะสีของลำตัวค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามด้านข้างของลำตัว 9-10 แถบ เมื่อโตขึ้นจะเลือนหายไป ผนังท้องมีสีขาวถึงเหลือง หัวค่อนข้างทู่ ที่สังเกตได้ชัด คือ ส่วนกะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมนมาก ..ในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า “ดุกเนื้ออ่อน”

2. ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน มีลักษณะคล้ายกับปลาดุกอุย แต่ปลาดุกอุยจะมีลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน ส่วนปลาดุกด้านจะมีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้นๆ ได้

ปลาดุกด้าน หากเทียบกันในเรื่องรสชาติแล้ว “ปลาดุกด้าน” ยังสู้ปลาดุกอุยไม่ได้ เนื่องจากมีดุกอุยมีรสชาติมัน อร่อย แต่ก็ยังเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยองเป็นต้น

3. ปลาดุกบิ๊กอุย

ปลาดุกบิ๊กอุยถือเป็นปลาดุกกลายพันธุ์ เป็นลูกผสมเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ปลาดุกรัสเซียกับแม่พันธุ์ปลาดุกอุย มีลักษณะภายนอกคล้ายปลาดุกอุย

Advertisements
จุดสังเกต คือ กะโหลกท้ายทอยจะแหลมเป็นหยักเช่นเดียวกับปลาดุกรัสเซีย เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรคเช่นเดียวกับปลาดุกรัสเซีย แต่มีเนื้อคล้ายปลาดุกอุย คือ เนื้อออกสีเหลือง นุ่ม รสชาติอร่อย เป็นปลาที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น ทำปลาดุกย่าง

4. ปลาดุกรัสเซีย (ปลาดุกแอฟริกา)

Advertisements

แม้มันจะชื่อว่า “ปลาดุกรัสเซีย” แต่บ้านเกิดของปลาดุกชนิดนี้ไม่ได้เป็นเมืองหนาว กลับกันมันเป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกาต่างหาก แต่มันกลับถูกเรียกปลาดุกรัสเซียอย่างติดปาก ซึ่งก็ไม่แน่ใจที่มาของชื่อนี้ .. ความจริงมันชื่อปลาดุกแอฟริกา

ปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกรัสเซียเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ อาจจะใหญ่ถึง 9-10 กิโลกรัม จึงถูกเรียกว่า ปลาดุกยักษ์ ลักษณะลำตัวเรียวยาว หัวใหญ่และแบน กะโหลกเป็นตุ่ม ๆ ไม่เรียบ กระดูกท้ายทอยมีลักษณะเป็นหยัก 3 หยัก ตัวมีสีเทา ไม่มีจุดประตามลำตัว เมื่อโตขึ้นจะปรากฏลายคล้ายหินอ่อน มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก ต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูง

แตกต่างของปลาดุก

ลักษณะหัวของปลาดุก เมื่อ ตก จับหรือจะไปซื้อปลาดุก สามารถสังเกตุหัวมันก่อนได้เลย คงดูได้ไม่ยาก เพราะปลาดุกอุยมีกะโหลกที่ต่างจากปลาดุกด้าน รัสเซีย รวมทั้งดุกบิ๊กอุย (บิ๊กอุยเหมือนกับดุกรัสเซีย)

Advertisements

5. ปลาดุกลำพัน

ปลาดุกลำพัน (Slender walking) ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias nieuhofii เป็นปลาเนื้อดี และยังหาได้ยากทั้งในธรรมชาติและในที่เลี้ยง ความจริงสถานะของปลาชนิดนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง แต่ก็ยังพบได้ในตลาดบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ของไทย เนื่องจากปลาชนิดนี้มีแหล่งนี้อยู่แถวนั้น

ปลาดุกลำพัน ลักษณะของปลาดุกลำพันค่อนข้างต่างจากปลาดุกทั้ง 4 ก่อนหน้ามาก มันมีลำตัวที่ยาวมาก ยาวจนบางทีอาจคิดว่าเป็นปลาไหลได้เลย สีของลำตัวค่อนข้างดำ และลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และสภาพแวดล้อมตัวโตเต็มวัยจะมีลำตัวสีเข้ม แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อจะมีสีน้ำตาลเหลืองข้างลำตัวมีจุดสีขาวเรียงเป็นแถวตามขวางประมาณ 13 – 20 แถวยกเว้นบริเวณท้อง

ปัจจุบัน ปลาดุกลำพันจัดเป็นปลาที่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในประเทศไทยมีรายงานพบ 2 สปีชีส์ คือ Prophagorus cataractus และ P. nieuhofii ซึ่งชนิดหลังจะพบมากที่สุดแหล่งอาศัยของปลาดุกชนิดนี้อยู่ในพื้นที่ภาคใต้บริเวณป่าพรุ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.สงขลา

6. ปลาดุกลำพันภูเขา

Advertisements

ปลาดุกลำพันภูเขา (Hillstram walking catfish) ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias cataractus เป็นปลาหนัง ในวงศ์ Clariidae มีส่วนหัวเล็ก ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาวมาก อาจติดต่อกับครีบหางที่โคนครีบ มีหนวด 4 คู่ รอบปาก ตามีขนาดเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลอมเขียวและมีจุดสีจางหรือสีเหลืองอ่อนเรียงเป็นบั้ง 10-12 บั้ง ด้านท้องสีจาง

เป็นปลาดุกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกลำพัน (Clarias nieuhofii) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปลาดุกลำพันภูเขามีลำตัวที่สั้นกว่าและพบในแหล่งน้ำแถบภูเขาในภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น โดยอาจพบได้ในประเทศมาเลเซีย หรือภาคตะวันออกของไทยด้วย ปัจจุบันพบน้อยมาก สถานภาพจึงไม่เป็นที่แน่ชัด

สนใจปลาคาร์ป ปลาทอง ปลาสวยงาม คลิ๊ก https://koi360.com/

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements