5 ปลาดุกน้ำจืดไทยแท้ ที่พบในธรรมชาติ แบบไม่นับปลาต่างถิ่น

ปลาดุกที่กำลังพูดถึงต่อไปนี้ เป็นปลาดุกที่พบได้ในประเทศไทย แน่นอนว่าผมเองจะเอาปลาดุกที่เป็นปลานอก อย่างปลาดุกบิ๊กอุย และปลาดุกรัสเซียออกไปจากรายชื่อนี้ และนี่คือ 5 ปลาดุกน้ำจืด "ไทยแท้"

ปลาดุกไทย

1. ปลาดุกอุย (Broadhead catfish)

Advertisements

ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา เป็นปลาดุกไทยแท้ ปัจจุบันเป็นปลาที่หายากในธรรมชาติ เพราะมันถูกแทนที่ด้วยปลาดุกชนิดอื่น โดยปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่มมีมันมาก แน่นอนว่าราคาค่อนข้างแพงด้วย

ปลาดุกอุย (Broadhead catfish) – ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias macrocephalus

ปลาดุกอุยจะลำตัวสีค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามด้านข้างของลำตัว 9 – 10 แถบ เมื่อโตขึ้นจะเลือนหายไป ผนังท้องมีสีขาวถึงเหลือง หัวค่อนข้างทู่ ที่สังเกตได้ชัด คือส่วนกะโหลกท้ายทอยจะดูโค้งมน ..ในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า “ดุกเนื้ออ่อน”

2. ปลาดุกด้าน (Walking catfish)

ปลาดุกด้าน มีลักษณะคล้ายกับปลาดุกอุย แต่ปลาดุกอุยจะมีลำตัวสั้นป้อมกว่า ส่วนปลาดุกด้านจะมีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถตัวไปบนบกได้เป็นระยะทางสั้นๆ ได้

ปลาดุกด้าน (Walking catfish) – ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias batrachus

ในเรื่องรสชาติ “ปลาดุกด้าน” ยังสู้ปลาดุกอุยไม่ได้ เนื่องจากมีดุกอุยมีรสชาติมัน อร่อย แต่ก็ยังเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เป็นปลาดุกที่นำมาทำอาหารต่างๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยองเป็นต้น

3. ปลาดัก (Blackskin catfish)

แม้ปลาดักจะไม่มีชื่อปลาดุกนำหน้า แต่มันก็อยู่ในวงศ์สกุลเดียวกับปลาดุก ปลาดักมีรูปร่างคล้ายปลาดุกด้าน เว้นแต่ที่ครีบอกด้านหน้า มีลักษณะขอบหยักคล้ายฟันเลื่อย และมีผิวเนื้อสีดำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปลาดุกเนื้อเลน” เมื่อโตเต็มวันจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร .. ในประเทศไทยพบได้แถบภาคกลางตอนบนและภาคอีสาน

ปลาดัก (Blackskin catfish) – วิทยาศาสตร์ Clarias meladerma
Advertisements

4. ปลาดุกลำพัน (Slender walking catfish)

Advertisements

ปลาดุกลำพัน เป็นปลาเนื้อดี หาได้ยากทั้งในธรรมชาติหรือแม้แต่ในที่เลี้ยง ความจริงสถานะของปลาชนิดนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง แต่ก็ยังพบได้ในตลาดบางพื้นที่ เป็นปลาที่ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่เป็นกรด เช่น ในป่าพรุ และลำธารในป่าดิบชื้น พบเฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และภาคตะวันออกตั้งแต่ จังหวัดจันทบุรี … บางพื้นที่เรียกว่า “ปลามัด”

ปลาดุกลำพัน (Slender walking catfish) – ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias nieuhofii

ลักษณะของปลาดุกลำพัน จะมีลำตัวที่ยาวเป็นพิเศษ ยาวสุดที่เคยพบคือ 60 เซนติเมตร สีของลำตัวค่อนข้างดำ ตัวโตเต็มวัยจะมีสีเข้ม แต่ก็เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ข้างลำตัวมีจุดสีขาวเรียงเป็นแถวตามขวางประมาณ 13 – 20 แถวยกเว้นบริเวณท้อง

5. ปลาดุกลำพันภูเขา (Hillstram walking catfish)

ปลาดุกลำพันภูเขา เป็นปลาดุกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกลำพัน แต่ปลาดุกลำพันภูเขามีลำตัวที่สั้นกว่า และพบในแหล่งน้ำแถบภูเขาในภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น แต่อาจพบที่ภาคตะวันออกของไทยด้วย ปัจจุบันพบน้อยมาก สถานภาพจึงไม่เป็นที่แน่ชัด

ปลาดุกลำพันภูเขา (Hillstram walking catfish) – ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias cataractus / cr. fb รวมปลาดุกลำพัน
Advertisements

ดุกลำพันภูเขา มีส่วนหัวเล็ก ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาวมาก อาจติดต่อกับครีบหางที่โคนครีบ มีหนวด 4 คู่ รอบปาก ตามีขนาดเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลอมเขียวและมีจุดสีจางหรือสีเหลืองอ่อนเรียงเป็นบั้ง 10-12 บั้ง ด้านท้องสีจาง

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements