5 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ‘ปลาน้ำจืดไทย’ ที่คุณอาจเคยไม่รู้

ปลาน้ำจืดกับคนไทย เป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกันมาก เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งน้ำจืดจำนวนมาก แน่นอนว่าปลาก็มีมากเช่นกัน ปลาน้ำจืดจึงเป็นแหล่งอาหารหลักของคนไทย ..เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักปลาน้ำจืดให้มากขึ้นกัน

ปลาน้ำจืดไทย

1. ประเภทของปลาน้ำจืด

Advertisements

โดยปกติแล้ว เราจะแบ่งปลาออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ “ปลาหนัง อย่างเช่น ปลาบึก สวาย เทโพ เทพา ดุก กด สายยู อุบ เค้า ไหล” ประเภทที่สองก็คือ “ปลาเกล็ด อย่างเช่น ปลาตะเพียน ตะพาก ตะโกก กา เพี้ย กระมัง กระแห กระสูบ ช่อน ชะโด ล่อนม กระสง”

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งจากพฤติกรรมการกินอาหารของปลาได้ เช่น ปลากินพืช “ปลายี่สก ปลาสลิด ปลาซ่ง กระมัง กระแห” .. ปลากินเนื้อ ..”ปลาช่อน ชะโด กระสูบ” และ ปลากินทั้งเนื้อและพืช “ปลาสวาย แรด ตะเพียน”

แต่ในปัจจุบัน พฤติกรรมการกินอาหารของปลา ค่อนข้างเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมและชุมชน เช่น ปลาสวายบริเวณชุมชนบ้านเรือนอาจจะกินอาหารที่มาจากเศษอาหารของคนในถิ่นนั้นๆ

2. ปลามีหนวดไว้ทำไม

เคยสงสัยบ้างไหมว่า ปลาบางตัวมีหนวดยาว บางตัวมีหนวดสั้นหรือบางตัวไม่มีหนวดเลย ปลามีหนวดไว้ทำไม? .. หนวดพวกนี้เป็นตัวเซ็นเซอร์ของมัน ปลาแต่ละชนิดสามารถปรับสภาพร่างกายของตัวมันให้รับรู้สัญญาณจากภายนอกได้ ทำให้ปรับระบบร่างกายให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศหรือแหล่งอาศัยของมัน

3. ปลาใช้ประสาทในการรับรู้อะไรบ้าง?

แน่นอนว่าปลามีประสาทรับรู้คล้ายๆ กับมนุษย์ ความจริงอาจมีประสิทธิภาพกว่าด้วยซ้ำ โดยปกติแล้วปลาจะใช้การมองด้วยดวงตา การดมกลิ่น การสั่นสะเทือนทางผิวหนัง การรับรู้เรื่องรสชาติ และบางชนิดยังมีสัมผัสพิเศษอีกด้วย

– 3.1 การดมกลิ่น

Advertisements

ประสาทสัมผัสในการรับรู้เรื่องกลิ่น นับเป็นส่วนที่ดีที่สุดของปลาเลยก็ว่าได้ จึงไม่แปลกเลยที่เราจะตกปลาได้ด้วยการปรุงแต่งเหยื่อก่อนจะนำไปตก เช่น ขนมปังแผ่นผสมหัวเชื้อกลิ่นนม เนย เพื่อนำไปตกปลาสวาย สายยู ตะโกก เหยื่อหมัก เอาไปตกปลากด ปลาเทโพ เป็นต้น

– 3.2 การสั่นสะเทือนทางผิวหนัง

ปลาจะมีเส้นประสาทในการรับรู้ที่แตกต่างกันไป เช่น ปลาบางชนิดจะมีเส้นประสาทข้างลำตัวทั้งสองด้าน เพื่อรับรู้แรงสั่นสะเทือนของวัตถุที่เข้ามาใกล้มัน

ปลาบางตัวมีหนวดเป็นตัวรับความรู้สึก ซึ่งปลาพวกนี้มักจะอยู่ในแหล่งน้ำขุ่น เช่น ปลาดุก ปลาเค้า ปลากด อีกทั้งยังใช้หนวดนี้ในการคลำหาเหยื่อด้วย

– 3.3 การรับรู้เรื่องรสชาติ

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการรับรู้รสของปลาทำให้ได้ผลออกมาว่า ในโพรงปากของปลานั้น ไม่มีต่อมรับรู้เรื่องรสชาติของอาหาร

แต่มันกลับมีต่อมที่คล้ายกับการรับรู้รสชาติภายนอกโพรงปาก เช่นตามตัว ตามหาง หรือตามหนวดอย่างเช่นตัวอย่างปลากดที่ได้ยกตัวอย่างในเบื้องต้นไปแล้ว

– 3.4 สัมผัสพิเศษ

Advertisements

อันนี้คงอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทั้งมวล ปลาสามารถรับรู้ด้วยสัญชาตญาณพิเศษ เช่นเส้นประสาทด้านข้างลำตัว สามารถแบ่งแยกสภาพพื้นผิวใต้น้ำได้ ทำให้มันไม่ว่ายชนสิ่งกีดขวางใต้น้ำที่มีสภาพขุ่นมัวได้ ปลาบางชนิดสามรถขับเมือกออกมาเพื่อเป็นการเตือนภัยได้

4. อุณหภูมิและสภาพแวดล้อมของน้ำที่มีต่อปลา

อุณหภูมิของน้ำ นับว่ามีความสำคัญต่อการกินเหยื่อของปลา อย่างเช่น ในฤดูหนาว ระดับน้ำที่ลึกลงไปจะเย็นจัดปลาจะขึ้นมาหากินในระดับน้ำที่สูงขึ้น เช่น ผิวน้ำหรือระดับกลางน้ำ

ซึ่งระดับน้ำในช่วงนี้จะเป็นระดับความเย็นที่พอเหมาะ และปลาจะเข้ามาหากินใกล้ฝั่งมากขึ้นซึ่งในทางกลับกัน หากเป็นฤดูร้อนมันก็จะพากันกลับลงไปหากินในระดับน้ำที่ลึกลงไป

ปลาบางประเภทชอบหากินในบางเวลากลางคืน และปลาบางประเภทก็ชอบหากินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน ปลาบางชนิดกินเหยื่อถี่ในช่วงหลังฝนตก เช่น ปลากระแก ปลากระมัง ปลาบางชนิดชอบหากินในช่วงเช้าถึงสาย บ่ายๆ ถึงเย็น เช่น ปลากระสูบ ปลาชะโด เป็นต้น

5. ในไทยมีปลาน้ำจืดใหญ่ที่สุดในโลก 3 ชนิด

ใน 10 อันดับปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีอยู่ถึง 3 ชนิด ที่พบได้ในประเทศไทย นั้นก็คือ ปลาบึก (Mekong Giant Catfish), ปลากระเบนราหูน้ำจืด (Giant Freshwater Stingray), ปลากระโห้ (Giant Barb, Siamese giant carp)

Advertisements

ปลาทั้ง 3 ชนิดอยู่ในสถานะ “เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์” โดยเฉพาะ “ปลากระเบนราหูน้ำจืด” เพราะปลาชนิดนี้หาได้ยากแม้จะในบ่อปลา หรือฟิชชิ่งปาร์ค ในขณะที่ ปลาบึก และ ปลากระโห้ ยังพบได้ในฟิชชิ่งปาร์ค และมีการปล่อยลงเขื่อนอยู่เสมอ .. แม้จะไม่ใช่ปลาธรรมชาติก็ตาม

ก็จบแล้วสำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับปลาน้ำจืด ความจริงมันเป็นความรู้ที่ดูจะเหมาะกับนักตกปลาเป็นพิเศษ ยังไงก็อย่าลืมแชร์ไปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะครับ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements