4 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้ เกี่ยวกับแทสเมเนียนเดวิล

แทสเมเนียนเดวิล (Tasmanian devil) เป็นสัตว์กินเนื้อมีกระเป๋าหน้าท้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ยังหลงเหลือจนถึงทุกวันนี้ เดิมนั้นมีพวกอย่างไทลาซีน (Tasmanian tiger) และสิงโตมาซูเปียนออสเตรเลีย (Marsupial lions) แต่พวกมันสูญพันธุ์ไปแล้ว

แทสเมเนียนเดวิล

ปัจจุบันแทสเมเนียนเดวิลยังคงพบได้ในเกาะแทสเมเนีย และเพิ่งเริ่มนำประชากรบางส่วนกลับไปยังแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย และเกาะข้างเคียง หลังจากที่พวกบนแผ่นดินใหญ่สูญพันธุ์ไปนานถึง 3,000 ปี ในปัจจุบันเราก็รู้ข้อมูลเกี่ยวกับพวกมันไม่มากนัก แต่นี่คือข้อมูลเท่าที่ทราบเกี่ยวกับพวกมัน

1. พวกมันสามารถวิวัฒนาการจนเอาชนะโรคเนื้องอกบนหน้าพวกมันได้แล้ว

Advertisements

เดิมทีแทสเมเนียนเดวิลกำลังพบวิกฤตจากโรคร้ายคือโรคมะเร็งแทสเมเนียน (DFTD) โรคนี้เริ่มระบาดในปี 1990 ทางตอนเหนือของเกาะแทสเมเนียน และแพร่ไปทั่ว โดยโรคนี้จะขึ้นบริเวณใบหน้าและปากมัน ทำให้แทสเมเนียนที่ติดเชื้อจะตายใน 6 เดือน มีเพียงส่วนน้อยที่หายเองได้ นับจากวันที่ค้นพบมันแพร่ไปทั่วฝั่งตะวันตกและระบาดในจำนวนประชากรแทสเมเนียนเดวิลถึง 80%

แต่ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง งานวิจัยที่ลงใน Science เมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่าแทสเมเนียนเดวิลยังคงอยู่ถึงแม้มันจะได้รับผลกระทบจากโรคนี้ “เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เรามีความกังวลอย่างมากว่าโรค DFTD จะทำให้แทสเมเนียนเดวิลสูญพันธุ์ เพราะการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วและอัตราการตายที่สูงมาก”

ด้วยการตรวจสอบจีโนมของไวรัส เราพบว่าการติดเชื้อนั้นน้อยลง และช้าลงมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ถึงแม้โรคนี้จะยังอยู่แต่พวกแทสเมเนียนก็เริ่มพัฒนาภูมิคุ้มกันแล้ว รวมถึงอัตราการตายที่ลดลงเช่นกัน

2. สามารถกำจัดซากสัตว์ได้ทั้งตัว

แทสเมเนียเดวิลเป็นสัตว์กินซากที่มีพรสวรรค์อย่างมาก มันกินทุกอย่างที่ขวางหน้า ภาพที่โด่งดังคือพวกมันที่รุมกินซากวาฬบนชายฝั่งตะวันตกของแทสเมเนีย

ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากทำการวิเคราะห์กะโหลกแทสเมเนียน 300 ตัว เผยว่าการกินอาหารที่มากเกินไปของพวกมันทำให้ฟันที่แหลมคมทู่ลงได้ สาเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาอาหารและผลกระทบต่อฟันพวกมัน เพราะแม้โรค DFTD จะลดลงมาก แต่พวกมันก็ยังไม่ปลอดภัย โครงการอนุรักษ์หลายโครงการจึงมุ่งเน้นไปที่การขยายพันธุ์เพื่อปล่อยพวกมันกลับสู่ธรรมชาติ และระหว่างนั้นต้องควบคุมดูแลพวกมันไปด้วย เพื่อให้พวกมันมีสุขภาพที่ดีพร้อม

และผลวิจัยยังพบว่าแทสเมเนียนเดวิลเป็นสัตว์ที่มีแรงกัดต่อน้ำหนักตัวมากสุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในโลกนี้ พวกมันยังสามารถกินอาหารที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวมัน 40 เท่าให้หมดใน 30 นาทีได้อย่างง่ายดาย

3. พวกมันเรืองแสง ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีการพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในออสเตรเลียจำนวนมาก ทั้งตัววอมแบต (Wombats) จนถึงตุ่นปากเป็ด (Platypuses) สามารถเรืองแสงได้ โดยสวนสัตว์โทเลโดในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกาตัดสินใจทดสอบเรื่องแบบนี้กับแทสเมเนียนเดวิล และผลออกมาเหมือนกัน ..พวกมันเรืองแสง

Advertisements
ในกรณีของแทสเมเนียนเดวิล ผิวหนังบริเวณจมูก ตา และหูชั้นในของพวกมันดูดซับแสงอัลตราไวโอเลต แล้วปล่อยกลับเป็นแสงสีน้ำเงินที่มองเห็นได้ มันไม่ชัดเจนว่าการเรืองแสงทางชีวภาพนี้มีวัตถุประสงค์ทางนิเวศวิทยาหรืออาจจะเป็นเพียงเรื่องบังเอิญ

การเรืองแสงนั้นพบได้ทั่วไปในแมลงและสัตว์ทะเล แต่การพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นเป็นอะไรที่แปลกใหม่ และไม่ทราบแน่ชัดถึงจุดประสงค์ของมัน “นักวิจัยกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้เรารู้ถึงสาเหตุนี้ มันอาจจะเกี่ยวกับการสื่อสารของพวกมันที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้”

4. แทสเมเนียนเดวิลเคยถูกตั้งค่าหัวจนเกือบสูญพันธุ์

Advertisements

เช่นเดียวกับไทลาซีน แทสเมเนียเดวิลถูกผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปเกลียดชัง เพราะหาว่าเป็นภัยคุกคามต่อปศุสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่และกระต่าย ในปี 1830 บริษัท Van Diemen’s Land ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับเกษตรกรรม ได้มอบเงินรางวัลสำหรับคนที่ล่าแทสเมเนียนเดวิลได้ เช่นเดียวกับไทลาซีนและหมาดิงโก้ (แต่ปัจจุบันบริษัท Van Diemen’s Land เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการอนุรักษ์แทสเมเนียนเดวิลรายสำคัญ)

ตามรายงานหน่วยงานอนุรักษ์สัตว์ป่าแทสเมเนียน พวกมันถูกล่าและวางยามานับร้อยปี แต่มันยังโชคดีกว่าไทลาซีนที่พวกมันกลายเป็นสัตว์คุ้มครองในปี 1941 เพราะว่าพวกมันแทบจะหายไปแล้วในตอนนั้น ส่วนไทลาซีนถึงสุดท้ายจะได้รับการคุ้มครองแต่ก็สายไปซะแล้ว

การตัดสินใจคุ้มครองพวกแทสเมเนียนเดวิล ก็มีคนไม่เห็นด้วย ถึงขนาดที่รัฐมนตรีกระทรวงที่ดินและแรงงาน พันตรีเดวีส์ ได้ลาออกเพื่อประท้วงว่าแทสเมเนียนเดวิลไม่เหมาะที่จะได้รับการคุ้มครอง

หลังจากนั้นประชากรพวกมันก็กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็เริ่มลดลงในช่วงยุค 90 จากโรค DFTD ก่อนจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

อ่านเรื่องอื่น

 

Advertisements