มันเป็นอะไรที่น่าคิดว่าถ้าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นจริง ซึ่งในความเป็นจริงมีนักวิจัยหลายสิบคนทั่วโลกใช้เวลาศึกษาความเป็นไปได้นี้ และเราจะหลีกเลี่ยงมันอย่างไร เพราะมีหลายทฤษฏีมากเกี่ยวกับสิ่งที่อาจจะล้างบางมนุษย์ ตั้งแต่การบุกของเอเลี่ยนจนถึงอุกกาบาตพุ่งชนโลก โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า “ความเสี่ยงที่มีอยู่” และนี่คือความเสี่ยงบางประการที่บรรดานักวิจัยได้เสนอขึ้นมา
1. สงครามนิวเคลียร์
Luke Kemp นักวิจัยจากศูนย์ศึกษาความเสี่ยงของการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษได้กล่าวถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ ซึ่งสงครามนิวเคลียร์นั้นเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุด
ระเบิดนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่จบสงครามโลกครั้งที่สอง และมันเป็นอาวุธที่มีพลังทำลายน่ากลัวมาก มันสามารถทำลายเมืองให้พังพินาศได้ในพริบตาพร้อมฆ่าคนนับแสนได้ในเวลาอันสั้น และมันเป็นสิ่งที่ทำให้คนกลัวพลังของมันจนถึงทุกวันนี้
ถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์จริง สิ่งอันตรายที่สุดนอกจากรังสีคือฤดูหนาวนิวเคลียร์ เกิดจากฝุ่นที่ไปบดบังแสงอาทิตย์ทำให้อุณหภูมิต่ำลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตอาหาร “มันเป็นสิ่งที่จะสร้างผลกระทบไปแทบจะทั่วโลก” Kemp กล่าว แต่ถึงแม้มันสามารถทำให้คนจำนวนมากตายได้ แต่มันก็ไม่สามารถเป็นตัวที่ทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ได้
2. โรคระบาด
โรคระบาดเป็นภัยร้ายที่มีมานานแล้ว ในช่วงระยะเวลาเกือบสองปีที่ผ่านมานี้ โลกเรากำลังเจอกับการระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งมีคนกังวลว่ามันจะมีผลหนักกว่าที่คิดไหม “ฉันกังวลว่าการใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้งานผิดพลาดจะสร้างเชื้อโรคที่ร้ายแรงและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมันจะเป็นหายนะ” – Cassidy Nelson
ในฐานะที่เป็นผู้นำร่วมของทีมความปลอดภัยทางชีวภาพที่สถาบัน Future of Humanity Institute ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ Nelson ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่มนุษยชาติต้องเผชิญ เช่น โรคติดเชื้อใหม่ๆ โรคระบาดและอาวุธชีวภาพ
เธอตระหนักดีว่าเชื้อโรคที่ได้รับการออกแบบมาให้แพร่ระบาดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้มากที่สุด อาจสร้างความเสียหายได้มากกว่าเชื้อโรคตามธรรมชาติ ซึ่งอาจฆ่าประชากรจำนวนมากในโลกได้ในเวลาไม่นาน
“ธรรมชาติเป็นปรากฎการณ์ที่ค่อนข้างมหัศจรรย์ และเมื่อเกิดขึ้นกับเชื้อโรคผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ มันจะแย่มากเมื่อเกิดขึ้น” แต่ความกังวลของฉันคือ ถ้ามีคนที่พยายามออกแบบเชื้อโรคโดยเจตนาให้มีผลกระทบด้านลบมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผ่านวิธีการติดต่อและอันตรายถึงชีวิต” มันจะเป็นหายนะทางชีวภาพอย่างแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่มีการระบาดใหญ่ในปัจจุบัน เธอเชื่อว่าโอกาสที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นมีน้อย (ด้วยว่าหลักฐานทั้งหมดชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่า COVID-19 ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลอง)
ในขณะที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังลดผู้ติดเชื้อลงได้ “นั่นก็หมายความว่า ความสามารถของเราในการทำบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน”
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจนถึงปัญญาประดิษฐ์
สภาพอากาศที่แปรปรวนเป็นสิ่งที่จะนำมนุษย์ไปสู่เส้นทางของการสูญพันธุ์ได้ไหม? เพราะว่าในอดีตสิ่งมีชีวิตหลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มันสามารถทำให้มนุษย์ไปสู่ชะตากรรมเดียวกันได้ไหม
สิ่งที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มีทั้งความไม่มั่นคงในด้านอาหาร การขาดแคลนน้ำและสิ่งของจำเป็น แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้นเป็นตัวคูณความเสี่ยงที่มีอยู่ ซึ่งทำให้มันขยายภัยคุกคามที่มีผลต่อมนุษย์ ทำให้ทุกอย่างแย่ลงได้มากขึ้น และยังเป็นการจุดฉนวนหายนะอื่นๆ ตามมาอีกด้วย
ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นต้นเหตุความเชื่อมโยงการสูญพันธุ์ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่น่าเป็นไปได้ที่ผลจากหายนะเพียงครั้งเดียว จะทำมนุษย์สูญพันธุ์ได้อย่างเช่น สงครามนิวเคลียร์ ส่วนใหญ่จะมาจากผลกระทบที่ต่อเนื่อง การทำลายล้างจากหายนะอย่างรวดเร็วที่หลายคนคิดนั้น มันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เหตุการณ์หายนะอาจทำให้มีผู้รอดชีวิตเพียงไม่กี่แสนหรือพันคนบนโลก ซึ่งจะทำให้ความอยู่รอดของมนุษยชาติเป็นปัญหาเช่นกัน การล่มสลายสามารถกวาดล้างมนุษยชาติเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่จะส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคง และความขัดแย้งทั่วโลก และทำให้ประชากรลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป “เราไม่ได้กำลังพูดถึงแนวคิดเดียวว่าการสูญพันธุ์จะเป็นอย่างไร หรือจะเกิดขึ้นอย่างไร มันมีความละเอียดอ่อนมากกว่านั้น” Kemp กล่าว
มันยังมีมุมอื่นอีกด้วย ความเสี่ยงที่มีผลต่อการมีอยู่ของมนุษย์ชาติ เทคโนโลยีเองก็มีผลกระทบต่อการมีชีวิตอยู่ ความเสี่ยงเหล่านั้นคือ “ปัญญาประดิษฐ์” นักวิจัยคิดว่าหุ่นยนต์ที่ผลิตออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจกำหนดให้มีการเฝ้าระวังมนุษย์ หรือพัฒนาการให้แซงหน้าทั้งภายนอกและภายใน มันอาจจะถึงขั้นมองมนุษย์เป็นภัยและหาทางกำจัดมนุษย์เหมือนในภาพยนตร์เรื่องคนเหล็กก็เป็นได้
4. ฝีมือมนุษย์เอง
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีความเสี่ยงหลากหลายเท่าไร แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ มนุษย์เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของความเสี่ยงเหล่านี้ แล้วถ้าสิ่งที่เสี่ยงสุดคือตัวมนุษย์เองละ?
นี่คือสิ่งที่น่าสนใจของงานวิจัยโดย Sabin Roman ในฐานนะนักวิจัยที่สถาบัน Center for the Study of Existential Risk เขาจำลองการวิวัฒนาการและการล่มสลายของสังคม
โดยศึกษาจากอารยธรรมในอดีต ตั้งแต่อาณาจักรโรมันและเกาะอีสเตอร์ ทำให้พบว่าความเสี่ยงที่มีอยู่ส่วนใหญ่นั้น ถูกสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น ถึงแม้ภัยจากธรรมชาติจะมีส่วน แต่มันก็แค่ส่วนประกอบขนาดเล็กที่ยังเทียบกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาไม่ได้ ทาง Kemp เองก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
สุดท้ายเหตุการณ์ในภาพยนตร์หายนะหลังวันสิ้นโลกกำลังรอเราอยู่ไหม? เราไม่มีทางคาดการณ์เกี่ยวกับชะตากรรมของเราบนโลกนี้ได้ แต่เมื่อย้อนกลับไปมองสังคมที่ล่มสลายไปแล้ว
สิ่งหนึ่งที่ Roman มั่นใจคือมนุษย์ไม่เคยพร้อมที่จะปกป้องตัวเองได้ดีไปกว่านี้ แต่เรายังสามารถเรียนรู้สิ่งที่เคยเกิดขึ้นเพื่อหาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกครั้ง เรายังมีเวลาเตรียมตัวและรับมือ ถึงมันจะเกิดเรายังทำให้ได้ผลเสียหายน้อยที่สุด