3 ปลาหมอแคระสวยจัด ที่พบได้ในธรรมชาติไทย

ปลาหมอแคระอาจไม่คุ้นหูเท่าไรเมื่อพูดถึงในธรรมชาติ แต่ก็ไม่แปลกเพราะบางตัวหายาก เดินในร้านปลาสวยงามบางทีอาจจะเจอง่ายกว่า แต่รู้หรือไม่ว่าในไทยมีปลาหมอแคะตัวสวยอยู่ 3 ชนิด และผมจะมาพูดถึงพวกมันในเรื่องนี้

ปลาหมอแคระคืออะไร..?

Advertisements

ขอพูดถึงภาพรวมของปลาหมอแคระก่อนนะครับ วงศ์ปลาหมอแคระ (Chameleonfish) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Badidae โดยแต่เดิมวงศ์นี้เคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาต่างหาก

ปลาหมอแคระ เป็นปลาขนาดเล็กกระจายพันธุ์อยู่ทวีปเอเชียได้แก่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ มีความหลากหลายสูงสุดที่เอเชียใต้และประเทศพม่า โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ทางตะวันออกไกลสุด คือ ประเทศจีนทางตอนใต้และประเทศไทย

เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำสำคัญ ๆ ในภูมิภาคเหล่านี้ เช่น แม่น้ำคงคา, แม่น้ำพรหมบุตร, แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง และแม่น้ำแม่กลอง

ปลาหมอแคระ ที่ผมกำลังพูดถึง เป็นปลาที่หากินแบบซุ่มรอเหยื่อด้วยการลอยตัวนิ่งๆ แล้วจึงฮุบ สามารถเปลี่ยนสีลำตัวไปตามอารมณ์และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และยังสามารถกลอกลูกตาไปมาได้ด้วย คล้ายกับกิ้งก่าคาเมเลี่ยน อันเป็นที่มาในชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ มีความยาวโดยเฉลี่ยเพียง 3-4 เซนติเมตรเท่านั้น เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ในประเทศไทยพบ 3 ชนิดเท่านั้น คือ

ตัวผู้ในสกุล Badis มีความสวยงามทางสีสันและลำตัวใหญ่กว่าตัวเมีย มีพฤติกรรมดูแลและเลี้ยงลูก นับตั้งแต่เริ่มผสมพันธุ์ด้วยการต้อนตัวเมียเข้าไปในผนังถ้ำหรือโพรงใต้น้ำ ปลาตัวเมียจะวางไข่ติดกับผนังถ้ำ ไข่ใช้เวลา 3-4 วันในการฟักเป็นตัว ในระยะแรกลูกปลาจะยังว่ายน้ำไม่ได้และเกาะติดกับผนัง และอีก 3-4 วันในการที่ถุงไข่แดงจะยุบลงไป และออกว่ายน้ำในแนวขนานหากินเองได้ และพ่อปลาจะเลิกดูแลลูกในช่วงนี้

ปลาหมอแคระขี้เซา (Badis siamensis)

ปลาหมอแคระพม่า
ปลาหมอแคระพม่า หรือ ปลาหมอแคระแดง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอแคระขี้เซา แต่ส่วนหัวสั้นกว่าเล็กน้อย มีจุดสีดำบนครีบหลังเป็นจุดใหญ่กว่า ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง และมีจุดสีแดงคล้ำหรือแดงสดในทุกเกล็ดสลับกับจุดสีฟ้าเหลือบ โคนหางด้านบนมีจุดสีคล้ำจุดใหญ่ ครีบหลังมีแถบสีคล้ำอมม่วงและแดง มีขลิบสีจาง มีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร

ปลาหมอแคระแม่กลอง (Badis khwae)

Advertisements
ปลาหมอแคระแม่กลอง
ปลาหมอแคระแม่กลอง มีช่วงลำตัว ช่วงระหว่างตา และจุดเริ่มต้นของครีบหลังยาว โดยรวม จึงเป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาวอาศัยอยู่ในลำธารที่มีระบบนิเวศจำเพาะ ที่มีปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามฤดูกาล ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในที่เดียวกันและได้วิวัฒนาการปรับตัวตามการผันแปรตามฤดูกาลของลำธาร

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements