พฤติกรรม “การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช” (endophytic oviposition) แสดงถึงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช
นายเฝิง จัว นักวิจัยและคณะทำงานจากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยยูนนาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้น พบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช และการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ
นายเฝิงกล่าวอีกว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ
“การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน”