เมื่อไม่นานนี้มีข่าวการพบหมาจิ้งจอกเดินอยู่ใกล้ชุมชน แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะนอกจากพวกมันจะไม่ชอบอยู่ใกล้มนุษย์แล้ว พวกมันยังชอบอยู่ในป่าทึบอีก ส่วน ‘หมาใน’ เป็นหมาป่าที่หาตัวได้ยากและอยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ เดี๋ยวมาทำความรู้จักพวกมันทั้งสองกัน
หมาจิ้งจอกสยาม (Siamese jackal)
หมาจิ้งจอกสยาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Canis aureus cruesemanni เป็นชนิดย่อยของหมาจิ้งจอกทอง (Golden Jackal) เป็นหมาป่าที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทยนอกเหนือไปจากหมาใน
หางของหมาจิ้งจอกสยามจะสั้นกว่าหางของหมาในและขนที่หางจะมีสีดำเพียงแค่ 1 ใน 3 ความสูงประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 7-14 กิโลกรัมความยาวของลำตัววัดจากหัวหัวถึงปลายหางหางประมาณ 60–75 เซนติเมตร
หมาใน (dhole, asiatic wild dog)
หมาใน, หมาป่าเอเชีย หรือ หมาแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก จมูกสั้น ใบหูกลมมีขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นมีสีน้ำตาลแดง สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางยาวเป็นพวง ปลายหางมีสีเทาเข้มหรือดำ
หมาในพบตั้งแต่เอเชียตะวันออก อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงไปจนถึงเกาะชวา โดยหมาในถูกคุกคามจากการที่สัตว์ที่เป็นเหยื่อของพวกมันลดจำนวนลง ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลายและจากการล่า
ในอดีตก็เคยมีการฆ่าเพื่อเอาหนัง หมาในมักถูกกับดัก วางยาเบื่อ ถูกยิง จนในตอนนี้หมาในอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ ไซเตสจัดอยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง คลาดว่าทั้งโลกเหลืออยู่ 2,500 ตัว