14 ข้อเท็จจริงสนุกๆ ที่ได้จากไดโนเสาร์ในจูราสสิคเวิลด์

ภาพยนตร์ Jurassic World เป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของซีรีย์ Jurassic Park ที่ห่างหายไปนาน มันทำหลายสถิติในช่วงสัปดาห์แรกที่เปิดตัว และดึงดูดผู้ชมทั่วโลกจากดาวเด่นอย่างไดโนเสาร์ชื่อดัง และยังมีไดโนเสาร์ไฮบริดตัวใหม่ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้และอยู่ในน้ำ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริง 14 ข้อของพวกสัตว์ดึกดำบรรพในภาพยนตร์

JURASSIC WORLD DOMINION จูราสสิค เวิลด์ ทวงคืนอาณาจักร

1. โมซาซอรัส เป็นนักล่าที่มีความอดทนสูง

Advertisements

โมซาซอรัสที่น่าสะพรึงกลัวแต่มันไม่ใช่ไดโนเสาร์ มันเป็นกิ้งก่าทะเลขนาดมหึมา แม้ว่าจะมีฟันสองแถวที่น่ากลัว แต่เชื่อกันว่า โมซาซอรัส มีการรับรู้เชิงลึกที่ไม่ดีและประสาทรับกลิ่นที่แย่มาก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าวิธีการล่าของมันคือ การนอนรอเหยื่อใกล้ผิวน้ำและโจมตีเมื่อสัตว์ต่างๆ ขึ้นมาหายใจ

ในปี 2013 ซากดึกดำบรรพ์ของโมซาซอรัส ที่พบในแองโกลา มีซากของโมซาซอรัสขนาดเล็กอีกสามตัวในท้องของมัน ซึ่งเป็นหลักฐานว่าสัตว์ชนิดนี้อาจกินพวกเดียวกันเองด้วย

2. บรอนโทซอรัสเจ้าปัญหา

อพาโทซอรัส เป็นไดโนเสาร์คอยาวที่โด่งดัง เดิมมันเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า บรอนโทซอรัส พวกมันชอบกินพืชและใบไม้ที่อยู่ในระดับต่ำตามพื้นดิน ฟอสซิลของมันเคยสร้างความสับสนให้นักวิทยาศาสตร์ เพราะกระดูกพวกมันบางส่วนดันไปคล้ายกับโมซาซอรัส ทำให้นักวิทยาศาสตร์คำนวนขนาดพวกมันไว้ใหญ่มาก

ถึงแม้ปัจจุบันมันจะมีขนาดเหลือเพียง 25 เมตรแล้ว แต่ยังถือว่าใหญ่อยู่ดี อพาโทซอรัสเป็นหนึ่งในซอโรพอดที่อาจผลิตก๊าซมีเทนได้มากพอที่จะทำให้เกิดสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในช่วงยุคมีโซโซอิก

3. แองคิโลซอรัสเป็น “รถถังที่มีชีวิต”

ด้วยส่วนหลังที่โค้งมนและหางที่โค้งงอ แองคิโลซอรัส มีลักษณะคล้ายกับไดโนเสาร์ผสมตัวนิ่มขนาดมหึมา และมีหนามแหลม

Advertisements

ต้องขอบคุณแผ่นกระดูกที่แหลมคมที่เรียงตามหลัง พร้อมกับหางที่มีรูปร่างเหมือนไม้กระบอง แองคิโลซอรัสจึงได้รับฉายาว่า “รถถังที่มีชีวิต” บริเวณท้องของมันคือจุดอ่อนที่เปิดเผย แต่นักล่าจะต้องพลิกไดโนเสาร์หุ้มเกราะให้หงายท้องเพื่อไปยังจุดอ่อนนี้

4. เวโลซีแรปเตอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อไก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

Advertisements

แม้ว่าเวอร์ชั่นฮอลลีวูดจะดูน่ากลัวและสง่างาม แต่เวโลซีแรปเตอร์ ที่เห็นในภาพยนตร์นั้นใกล้เคียงกับแรปเตอร์ที่ใหญ่กว่ามากที่เรียกว่า “ไดโนไนคัส” โดยเวโลซีแรปเตอร์ตัวจริงมีขนาดเล็กกว่า ขนาดของมันมีขนาดเท่าสุนัขตัวใหญ่ๆและมีขนปกคลุมทำให้บางคนเรียกพวกมันว่าเป็น “ไก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์”

อย่างไรก็ตาม แร็ปเตอร์โดยรวมนั้นน่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่ฉลาดที่สุด เนื่องจากมีสมองที่ใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับร่างกายของพวกมัน ซึ่งเป็นอัตราส่วนน้ำหนักสมองต่อร่างกายที่สูงเป็นอันดับสองรองจากพวกทรูโอดอน ระดับความฉลาดนี้สอดคล้องกับนกกระจอกเทศในปัจจุบัน

5. เขาของไทรเซอราทอปส์มีไว้เพื่อรูปลักษณ์ประจำตัวเป็นหลัก

เขาของไทรเซอราทอปส์ได้จุดประกายการถกเถียงในหมู่นักวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับจุดประสงค์ของเขาพวกมัน การวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเขาของมัน มีแนวโน้มที่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องประดับประจำตัว

Advertisements

อย่างไรก็ตาม การค้นพบครั้งก่อนๆ ยังเผยให้เห็นรอยกัดของไทแรนโนซอรัส บนเขาไทรเซอราทอปส์ ซึ่งบ่งชี้ว่าคุณลักษณะเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อการป้องกันตัวได้ในบางกรณี

6. สเตโกซอรัสมีสมองเล็ก

แม้ว่าจะมีลำตัวที่ใหญ่ และมีแผ่นกระดูกแหลมคมหลายแผ่นที่ทำหน้าที่ป้องกันตัว แต่สเตโกซอรัสกลับมีสมองที่เล็กเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย

สมองของมันถูกนำไปเปรียบเทียบกับวอลนัทหรือมะนาว มีอยู่ช่วงนึงนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไดโนเสาร์มีกลุ่มประสาทเสริมในโพรงเหนือส่วนหลัง ซึ่งช่วยเสริมหัวเล็กๆ ของไดโนเสาร์ แต่สมมติฐานนี้กลับถูกพิสูจน์หักล้างในเวลาต่อมา

7. แรงกัดของทีเร็กซ์

Advertisements

ราชาแห่งไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส มีชื่อเสียงในการกัดที่รุนแรงที่สุดของสัตว์บกทั้งที่มีชีวิตหรือสูญพันธุ์ การใช้แบบจำลองที่จำลองผลกระทบของการกัดของมัน นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าแรงของตัวไทแรนโนซอรัส อาจมีพลังมากกว่าจระเข้น้ำเค็มของออสเตรเลียถึง 3.5 เท่า ซึ่งถือเป็นสถิติอันดับหนึ่งในบรรดาสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

8. เทอโรซอร์มีเท้าที่อ่อนแอ

หนึ่งในสองสายพันธุ์หลักที่จะหลบหนีจากกรงนกขนาดใหญ่ของ Jurassic World .. เทอราโนดอน มีปีกกว้างถึง 18 ฟุต อาหารของมันประกอบด้วยปลา เทอโรซอร์บางสายพันธุ์มีถุงใส่เหยื่อเหมือนนกกระทุง และยังมีแนวโน้มว่าจะสามารถดำน้ำและบินไปหาอาหารได้

Advertisements

อย่างไรก็ตาม มีนักบรรพชีวินวิทยาคนหนึ่งระบุไว้ว่า เท้าของเทอราโนดอน อาจอ่อนแอเกินกว่าจะรับน้ำหนักสัตวที่มีขนาดพอๆ กับมนุษย์ได้

9. ไดมอร์โฟดอนมีฟันที่ใช้งานได้หลากหลาย

ไดมอร์โฟดอน เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้อีกชนิดหนึ่งที่เห็นในภาพยนตร์ โดยมีปีกกว้างประมาณแปดฟุต ชื่อของมันแปลว่า “ฟันสองรูปแบบ” และหมายถึงความแตกต่างระหว่างชุดฟันบนและฟันล่าง ชุดบนนั้นคมและยาวกว่าและน่าจะมีไว้เพื่อฉกเหยื่อจากน้ำ ฟันซี่ที่สองที่ขากรรไกรล่างดูเหมือนจะใช้สำหรับจับเหยื่อระหว่างบิน

10. วัวแห่งยุคครีเทเชียส

เอ็ดมอนโตซอรัส เป็นไดโนเสาร์ปากเป็ดขนาดกลางที่กินผักและผลไม้ ไดโนเสาร์เหล่านี้มีชื่อเล่นว่า “วัวแห่งยุคครีเทเชียส” พวกมันเคลื่อนตัวเป็นฝูงนับพัน และอาจเดินทางไกลนับพันไมล์ในระหว่างการอพยพครั้งเดียวเหมือนกับวัว

11. ไดโนเสาร์ที่กินก้อนกรวด

ในบรรดาไดโนเสาร์หลายตัวที่มีลักษณะเหมือนนกกระจอกเทศ แกลลิไมมัส อาจใช้กลยุทธ์การให้อาหารที่น่าสนใจ เนื่องจากไม่สามารถเคี้ยวพืชที่กินได้เพราะไม่มีฟัน กัลลิมิมัสจึงกินกรวดเข้าไปด้วย ซึ่งจะช่วยบดอาหารในระหว่างการย่อย

12. ไดโนเสาร์ตัวจิ๋วที่ต้องเปลี่ยนชื่อเพราะตัวต่อ

ไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในภาพยนตร์ ไมโครซีราตัส มีความสูงโดยเฉลี่ยสิบนิ้วและยาวประมาณสองฟุตครึ่ง สัตว์กินพืชขนาดเล็กในตอนแรกถูกเรียกว่า ไมโครเซอราทอปส์ แต่นักบรรพชีวินวิทยาถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อหลังจากที่ได้รับการเปิดเผยว่าสกุลของตัวต่อที่ได้อ้างสิทธิ์ไปก่อนแล้ว

13. พาราซอโรโลฟัสมีหงอนที่ส่งเสียงดัง

พาราซอโรโลฟัสเป็นที่รู้จักสำหรับหงอนที่โดดเด่นที่ประดับศีรษะของมัน ซึ่งได้รับการจำลองโดยนักบรรพชีวินวิทยา จากการจำลองเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า หงอนสามารถเปล่งเสียงดังเมื่ออากาศไหลผ่าน ซึ่งบ่งชี้ว่ามันช่วยให้ไดโนเสาร์เหล่านี้สื่อสารได้

14. แบรีออนิกซ์ นักล่าปลาตัวฉกาจด้วยหอกประจำตัว

แบรีออนิกซ์เป็นไดโนเสาร์ที่กินปลาเป็นอาหารหลัก ชื่อของมันมีความหมายว่า “กรงเล็บหนัก” ในภาษากรีก เนื่องจากมีกรงเล็บขนาดใหญ่และแหลมที่ยื่นออกมาเป็นนิ้วหัวแม่มือของมือแต่ละข้าง

นักบรรพชีวินวิทยาคิดว่าไดโนเสาร์ใช้กรงเล็บเหล่านี้เหมือนหอกเพื่อจับปลา ไดโนเสาร์ที่กินเนื้อเป็นอาหารยังมีชุดฟันหยักที่คล้ายกับฟันจระเข้ในสมัยนี้สำหรับจับเหยื่อที่ลื่นไปด้วยเมือก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements