เป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่มนุษย์หลงใหลในความงามของปลากัด ลำตัวที่เพรียวบางและครีบขนาดใหญ่ ซึ่งห้อยราวกับเส้นไหม สิ่งเหล่านี้มีสีสันที่สดใสหลากหลายซึ่งพบเห็นได้ยากในธรรมชาติ
งานวิจัยชี้ปลากัดถูกเพาะพันธุ์โดยมนุษย์มากนับพันปี
ปลากัดหรือที่รู้จักกันในนาม “ปลากัดสยาม” ไม่ได้กลายเป็นงานศิลปะที่มีชีวิตด้วยตัวของมันเอง สีสันอันวิจิตรบรรจงของปลากัดและครีบที่ยาว เป็นผลของการเพาะพันธุ์คัดเลือกอย่างพิถีพิถันมานับพันปี
จากการศึกษาใหม่ซึ่งอัปโหลดเมื่อเดือน เมษายน 2021 ใน BioRxiv แสดงให้เห็นผ่านการจัดลำดับจีโนม ก็พบว่ามนุษย์เริ่มเลี้ยงปลากัด ซึ่งนับไปอย่างน้อย 1,000 ปีก่อน การคัดเลือกอย่างระมัดระวังนับพันปี ไม่เพียงทำให้เกิดความหลากหลายที่น่าทึ่งของปลากัดในประเทศไทย ยังทำให้ทั้งปลากัดป่าและปลากัดสวยงามได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมไปอย่างมาก
ปลากัดป่า ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์และเป็นต้นกำเนิดของปลากัดสวยงาม แต่จนถึงตอนนี้พวกมันก็แตกต่างจากปลากัดสวยงามมาก ปลากัดป่าจะมีครีบสั้น มีสีคล้ำกว่าและขาดครีบที่โดดเด่นที่จะสามารถพบได้ในปลากัดเลี้ยงเพื่อความสวยงาม
และดูเหมือนว่า “ปลากัดป่า” ทั่วไป จะมีความก้าวร้าวน้อยกว่าปลากัดที่เลี้ยง “คุณไม่สามารถใส่ตัวผู้สองตัว (หรือแม้แต่ตัวเมีย) ในตู้ปลาเดียวกันได้ พวกมันจะโจมตีกันเองและจะต่อสู้กันจนตาย” และความก้าวร้าวของปลากัด ก็ถูกเอามาใช้ประโยชน์ในเกมพนัน พวกมันจะต่อสู้กันคล้ายการชนไก่
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด เริ่มมุ่งเน้นไปที่การสร้างสายพันธุ์ปลาสวยงาม ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในตะวันตก “ประวัติศาสตร์นี้ได้หล่อหลอมจนเป็นปลากัดสวยงามที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันเป็นปลาที่สวยงามจริงๆ แต่พวกก็ยังมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียวเช่นเดิม และมันเป็นเสน่ห์ของปลาชนิดนี้”
เพื่อตรวจสอบว่าประวัติศาสตร์นี้หล่อหลอมเป็นปลากัดที่เราเห็นในปัจจุบันอย่างไร ควอนและทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากปลากัดธรรมชาติและปลากัดในท้องถิ่นเพื่อจัดลำดับจีโนม
เธอกล่าวว่า “เราแปลกใจมากที่ปลากัดเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์มานานแค่ไหน มันถูกเลี้ยงโดยมนุษย์มาอย่างน้อย 1,000 ปี ทำให้เป็นหนึ่งในแหล่งเลี้ยงปลาที่เก่าแก่ที่สุดที่เรารู้จัก” นั่นเป็นย้อนหลังไปมากกว่างานวิจัยที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ ที่อ้างถึงการศึกษาที่บอกว่าปลากัดถูกสร้างมาเพื่อการต่อสู้ตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 13
การวิจัยยังเน้นว่าเหตุใดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จึงสามารถสร้างปลากัดได้หลายสิบสายพันธุ์ มีปลากัดสีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำเงิน ปลากัดที่มีครีบใหญ่และครีบเล็ก แม้แต่ปลากัดที่มีลักษณะคล้ายธงชาติไทย หากคุณสามารถจินตนาการได้ มันอาจจะมีอยู่จริง และผู้เลี้ยงที่เก่งพอจะสามารถสร้างมันขึ้นมาได้
ควอนกล่าวว่า “ลักษณะหลายอย่างที่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์เลือกนั้น ถูกควบคุมโดยยีนเพียงไม่กี่ตัว มันจะส่งผลกระทบสำคัญต่อรุ่นต่อไป” มันหมายความว่าคุณไม่ต้องใช้ความพยายามในการคอสปลาจำนวนมากเพื่อให้ได้ลักษณะที่คุณต้องการสำหรับปลาของคุณ”
และเป็นตามที่คาดไว้ นักวิจัยยังพบว่าปลากัดในประเทศไทย มีลักษณะทางพันธุกรรมไม่เหมือนกับลูกพี่ลูกน้องในป่า อย่างไรก็ตามพวกเขารู้สึกประหลาดใจที่พบว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาปลากัดเลี้ยงได้ผสมพันธุ์กับปลากัดป่า การผสมพันธุ์นี้น่าจะเป็นผลมาจากการปล่อยปลากัดที่เลี้ยงลงสู่แหล่งน้ำในธรรมชาติ มันอาจเป็นปัญหาในอนาคต เพราะจะเป็นการทำลายความพยายามในการอนุรักษ์ปลากัดดั้งเดิมซึ่งหายากขึ้นทุกวัน
สุดท้ายการศึกษาประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของปลาเหล่านี้ จะทำให้เข้าใจรายละเอียดมากขึ้น นักวิจัยหวังว่าจะปรับปรุงความเข้าใจว่าการเลี้ยงปลานั้นเปลี่ยนแปลงยีนของสายพันธุ์ได้อย่างไร และต่อไปปลากัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก อย่างที่ตลอดหนึ่งพันปีที่ผ่านมา จากปลากัดป่าที่ดูไม่มีอะไร มาถึงตอนนี้พวกมันมีได้ทุกสี และรูปร่างที่ต่างกันมากมาย และยังได้รับความนิยมไปทั่วโลก ..คงต้องดูและศึกษากันต่อไป