เช็คกันให้ดี ‘สัตว์น้ำ 13 ชนิด’ ห้ามเลี้ยงในไทย

กรมประมง ออกประกาศฯ ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น 13 ชนิด เพื่อควบคุมการแพร่พันธุ์และทำลายระบบนิเวศแหล่งน้ำ ซึ่งมีผลไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564

สำหรับประกาศมีบังคับใช้ในวันที่ 16 ส.ค.2564 เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยอย่างมาก

ยกตัวอย่างกรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร ซึ่งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมาก

กรมประมจึงได้กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ส.ค.2564 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิด ได้แก่

  1. ปลาหมอสีคางดำ
  2. ปลาหมอมายัน
  3. ปลาหมอบัตเตอร์
  4. ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม
  5. ปลาเทราท์สายรุ้ง (ปลาเรนโบว์เทราต์)
  6. ปลาเทราท์สีน้ำตาล
  7. ปลากะพงปากกว้าง
  8. ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช
  9. ปลาเก๋าหยก
  10. ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO ทุกชนิด
  11. ปูขนจีน
  12. หอยมุกน้ำจืด
  13. หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena

เพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศ

Advertisements

สำหรับเกษตรกรหรือหน่วยงานใดที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มนี้ ทั้งเพื่อจำหน่ายหรือศึกษาวิจัย ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมงภายใน 30 วัน หลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้

โดยสัตว์น้ำที่จับได้ สามารถนำมาบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่การจำหน่ายจะต้องทำให้ตายก่อน รวมถึงห้ามมีการปล่อยสัตว์น้ำลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับสูงสุด 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ หากไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว ขอให้นำสัตว์น้ำส่งมอบให้หน่วยงานกรมประมงใกล้บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

“บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ปลาหมอสีคางดำ (Sarotherodon melanotheron)

ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin tilapia) เป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาเพื่อทดลองเลี้ยงตั้งแต่ปี 2553 มันได้หลุดออกจากฟาร์มทดลองเลี้ยงในปีเดียวกัน ขณะนี้ได้ระบาดและสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรในวงกว้าง จนทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องลงไปแก้ปัญหากันเลย

การระบาดของปลาหมอสีคางดำเริ่มส่งผลกระทบประมาณปี 2555 ในพื้นที่ อ.เขาย้อย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี และพื้นที่ อ.อัมพวาและ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ทั้งนี้ เนื่องจากปลาชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์กินเนื้อ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำกร่อยและน้ำจืด ทำให้กุ้งและปลาชนิดอื่นที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ถูกกินและสูญหายไปจำนวนมาก

ปลาหมอ มายัน (Cichlasoma urophthalmus)

ปลาหมอมายัน (Mayan Cichlid) เป็นปลาที่หากินได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หากินตามพื้นท้องน้ำ ชอบอยู่เขตร้อน เป็นปลาขนาดกลาง มีขนาดตั้งแต่ 8 – 22 เซนติเมตร น้ำหนักสูงสุด 600 กรัม เป็นปลาที่อยู่ได้แม้ออกซิเจนต่ำ ปลาชนิดนี้กินเนื้อ เช่นลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก มีนิสัยดุร้าย หวงถิ่น

พบการรุกรานในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 โดยจับได้ที่คลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางขุนเทียน และมีการจับได้โดยชาวประมงในปี 2549 โดยใช้ลอบ ข่าย และเบ็ดตกปลา จัดเป็นปลาที่มีอันตรายต่อระบบนิเวศไทยอย่างมาก

ปลาหมอ บัตเตอร์ (Heterotilapia buttikofe)

Advertisements

ปลาหมอบัตเตอร์ (Zebra tilapia) เป็นหนึ่งในปลาหมอที่นักตกปลารู้จักกันดี เพราะกันค่อนข้างบ่อย จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัวสีเหลืองหรือขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยลายจะจางลงไปเมื่อปลาโตเต็มที่ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก และพบมากที่สุดที่ประเทศไลบีเรีย มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว สำหรับในประเทศไทย ปลาหมอบัตเตอร์นับว่าเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีผู้เลี้ยงแล้วนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งไปแล้ว เช่นเดียวกับปลานิล

ภาพปลาที่ห้ามเลี้ยงอื่นๆ

ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม
ปลาเรนโบว์เทราต์
ปลาเทราท์สีน้ำตาล
Advertisements
ปลากะพงปากกว้าง
ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช
Advertisements
ปลาเก๋าหยก
ปูขนจีน
หอยมุกน้ำจืด
Advertisements
หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements