งูพิษคืออะไร..?
งูพิษ คืองูที่มีพิษใช้สำหรับป้องกันตัวจากการถูกคุกคามหรือใช้ล่าเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างออกไปตามชนิด, วงศ์ และสกุล ซึ่งร้ายแรงที่สุดสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กว่าให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
พิษของงูจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำพิษ ในบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งใช้ผลิตน้ำพิษ ซึ่งลักษณะของต่อมน้ำพิษและโครงสร้างจะเกี่ยวข้องในการอนุกรมวิธานจำแนกชนิดของงู น้ำพิษของงูนั้นเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของโปรตีนและสารเคมีประเภทอื่น น้ำพิษในแต่ละชนิดเป็นสารประกอบต่างกันและมีน้ำหนักโมเลกุลต่างกันมาก และเป็นกรณีที่ไม่สามารถอธิบายวิวัฒนาการของน้ำพิษได้ชัดเจน รวมทั้งยากต่อการวินิจฉัยประเภทน้ำพิษและการรักษาเมื่อถูกกัด
งูพิษ 7 ชนิดในไทย
หากถูกงูกัดจะต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็นงูมีพิษหรือไม่
โดยทั่วไปเราจำแนกพิษของงูได้เป็น 4 ประเภท คือ
- พิษต่อระบบประสาท ได้แก่ พิษของงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม ผู้ที่ได้รับพิษจะเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก และอาจทำให้หยุดหายใจจนเสียชีวิตได้
- พิษต่อโลหิต ได้แก่ พิษของงูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
- พิษต่อกล้ามเนื้อ คือ พิษงูทะเล ทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลาย
- พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง ทำให้ลืมตาไม่ขึ้น แขนขาหมดแรง กระวนกระวาย ลิ้นแข็ง น้ำลายมากกลืนลำบาก เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ และเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษา
เรื่องของแนวทางรักษาต้องประเมินผู้ป่วยและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยการซักประวัติ ตำแหน่งที่ถูกงูกัด สถานที่ที่ถูกงูกัด อาการที่เกิดขึ้น รวมถึงชนิดของงูหรือการนำซากงูมาเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่แพทย์ในการรักษาต่อไป นอกจากนี้ควรรีบทำความสะอาดบริเวณแผลที่ถูกงูกัด และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการเดินในที่แคบหรือบริเวณที่รกมีหญ้าสูง โดยเฉพาะเวลากลางคืน ถ้าจำเป็นต้องเดินผ่านควรใส่รองเท้าหุ้มข้อเท้า ใส่กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว เตรียมไฟฉาย เพื่อหลีกเลี่ยงสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ