รายงานนี้มาจากเมืองบูลินดีประเทศยูกันดา ลิงที่อยู่ในคลิปคือชิมแปนซีตัวผู้อายุน้อยที่ชื่อ Araali มันได้แสดงพฤติกรรมแปลกๆ อย่างการสอดอวัยวะเพศของมันลงในขวดพลาสติกที่ทิ้งแล้ว นอกจากนี้นักวิจัยยังเห็นลิงเล่นกับขวดพลาสติก ขยับอุ้งเชิงกราน เปลี่ยนตำแหน่งขวดหลังจากที่องคชาตออกมาจากขวด และดูเหมือนชิมแปนซีตัวนี้จะแสดงออกทางปากที่ผ่อนคลายและดูสนุกสนาน
ทีมงานไม่สามารถระบุได้ว่าชิมแปนซีเสร็จกิจในขวดหรือไม่ นี่ไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์ที่กังวลมากเกินไปเกี่ยวกับสิ่งที่ Araali กระทำ เหตุการณ์นี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคำถามที่กว้างขึ้นว่า พฤติกรรมการช่วยตัวเองมาจากไหน? ทีมงานไม่เชื่อว่าสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับวิธีปรับปรุงคุณภาพของตัวอสุจิหรือเป็นทางเลือกที่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เนื่องจาก Araali เป็นเพียงลิงตัวผู้ระดับกลางในฝูงเท่านั้น
“พฤติกรรมช่วยตัวเองของ Araali ส่วนใหญ่มักเกิดจากแรงจูงใจของมัน ที่จะตรวจสอบและเล่นกับวัตถุของมนุษย์แบบที่แปลกใหม่ ชิมแปนซีตัวผู้จะแสดงการแข็งตัวของอวัยวะเพศของมันในบริบทต่างๆ นอกเหนือจากความตื่นตัวทางเพศ เช่น ความตื่นเต้นเมื่อได้รับอาหาร หรือระหว่างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบางอย่างรวมถึงการเล่น” นักวิจัยเขียนไว้ในรายงาน
คลิปลิงใช้เครื่องมือช่วยตัวเอง
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลิงชิมแปนซี
ชิมแปนซี (Chimpanzee) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pan troglodytes เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด มีแขนและขามีความยาวพอๆ กัน มีขนโดยเฉพาะที่หู มือ และเท้าสีเนื้อ ลูกที่เกิดใหม่จะมีใบหน้าสีชมพู ตัวผู้สูงราว 5 ฟุต น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียสูงราว 4 ฟุต เป็นลิงที่ชอบทำรังอยู่บนพื้นดินด้วยการโน้มกิ่งไม้ขัดทำเป็นที่นอน
เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 7-9 ปี เป็นสัดทุก ๆ 33-38 วัน ระยะเวลาสำหรับการผสมพันธุ์นาน 3 วัน ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ตั้งท้องนานประมาณ 230 วัน ลูกจะอยู่กับแม่นาน 1-2 ปี สูงสุดถึง 7 ปี และมีอายุยืนประมาณ 40 ปี ตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์จะผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว จึงยากที่จะบ่งบอกได้ว่า ลูกที่เกิดมานั้นมาจากลิงตัวผู้ตัวไหน
พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ทางแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ มีจ่าฝูงเป็นตัวผู้เพียงตัวเดียว หากินบนพื้นดินมากกว่าต้นไม้ โดยหากินในเวลากลางวัน โดยอาหารจะเป็นพวกผลไม้และใบไม้ต่างๆ รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่างๆ เช่น แมลง เป็นต้น ซึ่งชิมแปนซีมีพฤติกรรมที่จะประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ในการหาอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
“ปัจจุบันชิมแปนซีในธรรมชาติ เหลือน้อยมาก ทั่วโลกอาจมีไม่ถึงหนึ่งหมื่นตัว มันจึงถูกจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (EN)”