ทำไม? นกและกบพิษ จึงไม่ตายเพราะพิษตัวเอง

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมสัตว์มีพิษจึงไม่ถูกพิษของตัวเองจนตาย? เรื่องนี้ได้รับการศึกษามานาน แต่จนถึงทุกวันนี้คำตอบก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะพิษจากสัตว์ก็มีหลายชนิด และเรื่องที่สัตว์ไม่ตายเพราะพิษที่ผลิตขึ้นมาเองยังพอจะทำความเข้าใจได้ แต่หากเป็นสัตว์ที่รวบรวมพิษจากภายนอก อย่างการกินสัตว์หรือพืชชนิดอื่นจนทำให้พวกมันกลายเป็นสัตว์มีพิษ ทำไมสัตว์แบบนี้จึงไม่เป็นอะไร? และต้องเน้นย้ำว่านี้เป็นเพียงการทดลองของสัตว์บางชนิดเท่านั้น คำตอบจึงไม่ได้ครอบคลุมไปถึงสัตว์มีพิษทั้งหมด ...เดี๋ยวมาฟังกันว่าเป็นเพราะอะไร?

นกและกบมีพิษที่รวบรวมพิษจากภายนอก?

Advertisements

ในป่าฝนของนิวกีนีมีนกตัวเล็กๆ ที่ภายนอกดูธรรมดา แต่มันมีความลับอันน่าสะพรึงกลัว มันคือนกที่ชื่อว่า นกพีโทวี่หัวดำ (Hooded Pitohui) มันมีขนสีส้มและหัวสีดำซึ่งมีพิษ ความจริงมันเคยได้ชื่อว่า เป็นนกเพียงชนิดเดียวบนโลกที่มีพิษ พิษของนกชนิดนี้จะอยู่ตามขน และเมื่อสัมผัสก็จะรู้สึกเหมือนโดนไหม้ … “พิษพวกนี้เป็นกลไกในการป้องการตัวของสัตว์ จากสิ่งมีชีวิตที่จะมากินมัน” นักวิจัยกล่าว

นักวิจัยเชื่อว่านกพีโทวี่หัวดำ ไม่ได้ผลิตสารพิษด้วยตนเอง แต่อาจจะได้รับมาจากด้วงที่มันกินเป็นอาหาร กลไกพิษนี้สงสัยว่าอาจจะเป็นเช่นเดียวกับกบพิษ ที่อาศัยอยู่ในอเมริกาใต้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี่นำไปสู่คำถามว่า … สัตว์มีพิษพวกนี้ทำไมจึงไม่ได้รับผลจากพิษของตัวเอง?

ฟองน้ำพิษ ช่วยพวกมันเอาไว้

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ทฤษฏีที่ว่านกและกบพิษพวกนี้ สามารถพัฒนาโซเดียมชาเนล (Sodium channel) ในร่างกายให้สามารถต้านทานสารพิษได้ มีสัตว์หลายชนิดที่ร่างกายมีกลไกป้องกันสารพิษ เช่น พังพอน

แต่ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร เจอร์เนิล ออฟ เจนเนเริล ฟิซิออลโลจี (Journal of General Physiology) ได้เปลี่ยนทุกสิ่งไป ..นักวิจัยพบหลักฐานว่านกพีโทวี่หัวดำและกบพิษมีสิ่งที่เรียกว่า “ฟองน้ำพิษ” หรือโปรตีนทีช่วยกำจัดพิษ ด้วยสิ่งนี้จะสามารถดูดซับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตัวมันให้สลายไปได้

โดยหลักฐานของฟองน้ำพิษ ได้รับการพิสูจน์ในห้องทดลอง ทีมนักวิจัยได้จำลองยีนที่เกี่ยวข้องกับนกพีโทวี่หัวดำและกบพิษขึ้นมา และใส่เข้าไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่จะต้องสัมผัสกับสาร BTX ซึ่งเป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาท เซลล์พวกนี้ถูกสาร BTX เล่นงาน จึงพบว่าระบบโซเดียมของสัตว์พวกนี้ไม่สามารถต้านทานพิษได้ และเมื่อฉีด BTX เข้าไปในกบ ก็มีเพียงกบพิษเท่านั้นที่รอดชีวิต

“นั้นทำให้เราได้ข้อมูลว่า มีบางอย่างที่ป้องกันสารพิษพวกนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย” ทีมนักวิจัยกล่าว ทฤษฎีของเขาคือโปรตีนที่เป็นดังฟองน้ำ ได้ให้ภูมิคุ้มกันกับพวกกบพิษ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่พบสิ่งที่คล้ายคลึงกันในนกพีโทวี่หัวดำกับกบพิษ แต่นี่คือสิ่งที่ใกล้เคียงกับที่เขาสงสัยที่สุดแล้ว

กบพิษเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก

นักชีววิทยาด้านการวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการวิจัยกบพิษและพบว่า พวกมันสามารถทนต่อพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทอีกชนิดที่เรียกว่าเอพิบาทิดีน (Epibatidine) และผลที่ได้ก็ค่อนข้างน่าประทับใจ

Advertisements

“จากการวิจัย ฉันรู้สึกประหลาดใจที่ระบบโซเดียมของกบพิษ ที่ไม่ไวต่อสาร BTX ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราคาดการณ์ไว้” นักวิจัยกล่าว .. แต่เธอก็ได้เตือนว่า อย่าเพิ่งเชื่อผลลัพธ์นี้ “นี่เป็นเพียงหนึ่งในสารพิษจำนวนมากที่กบชนิดนี้มี แต่สำหรับเคสที่ทดสอบแล้วฉันมั่นใจ”

การศึกษาพิษที่อาจจะนำไปสู่การคิดค้นยารักษาโรค

Advertisements

แม้ว่านกในเกาะที่อยู่ห่างไกลและกบพิษเหมือนจะเป็นหัวข้อเฉพาะในการศึกษา แต่พวกมันอาจจะประยุกต์ใช้กับผู้คนทั่วไปได้ โดยเฉพาะในด้านการรักษา

“สารพิษเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกำหนดโปรตีนที่เฉพาะเจาะจง และค้นพบหน้าที่ของโปรตีน และยังช่วยเป็นพื้นฐานในการผลิตยาใหม่ๆ อีกด้วย” นักวิจัยกล่าวว่า …พิษพวกนี้อาจจะช่วยชีวิตคุณได้ในอนาคต

ตัวอย่างเช่น สารประกอบหนึ่งของพิษที่พบในกบพิษ พบว่ามีผลในการต้านมะเร็ง สาร BTX ที่มีในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่ปลาปักเป้าจนถึงตัวนิวต์ อาจสามารถใช้เป็นยาชาชนิดใหม่ได้

สุดท้ายสำหรับคำถามที่ว่า “ทำไมสัตว์พวกนี้ไม่ตายด้วยพิษตัวเอง” มันก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจอีกมาก แน่นอนว่าเรายังจำเป็นต้องศึกษาและค้นหาคำตอบให้มากขึ้น เพราะเมื่อเราเข้าใจมากขึ้น มันก็อาจจะช่วยมนุษย์ได้มากขึ้นเช่นกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements