ทฤษฎีแสงและเหยื่อปลอม ใช้สีอะไรแหล่มสุด

ช่วงนี้เน้นบทความ ตกปลาต่างประเทศนะครับ ถือเป็นการศึกษาเรียนรู้อย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยเรื่องนี้เป็นทฤษฎีแสง ที่มีความเกี่ยวข้องกับสีของเหยื่อปลอมในขณะที่แสดงอยู่ใต้น้ำ ถ้าอ่านแล้วน่าจะทำให้เลือกใช้สีให้เหมาะกับหมาย ตกปลา ได้ดีขึ้น

ช่วงนี้เน้นบทความ ตกปลาต่างประเทศนะครับ ถือเป็นการศึกษาเรียนรู้อย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยเรื่องนี้เป็นทฤษฎีแสง ที่มีความเกี่ยวข้องกับสีของเหยื่อปลอมในขณะที่แสดงอยู่ใต้น้ำ ถ้าอ่านแล้วน่าจะทำให้เลือกใช้สีให้เหมาะกับหมาย ตกปลา ได้ดีขึ้น

ในการตกปลา เหยื่อปลอมที่เป็นชื่นชอบของเหล่านักล่าใต้น้ำ มักจะมีสีสันที่สดใสแล้วยังมีให้เลือกมากมายอีกด้วย แต่สีของเหยื่อมันจะเป็นเช่นเดียวกับที่มันอยู่บนพื้นงั้นหรือ ..? ไม่มีทางเป็นเช่นนั้น เพราะน้ำเองมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงแดดค่อยข้างมาก ยิ่งลึกเท่าไรแสงก็ยิ่งน้อยและยิ่งทำให้การแสดงสีของเหยื่อเปลี่ยนไปอีกด้วย เดี๋ยวเรามาดูกันว่าสีของเหยื่อเมื่ออยู่ใต้มันเป็นยังไง

เกี่ยวกับภูมิอากาศ

Advertisements

cocat-below-001 ในวันที่แดดแรง : เหยื่อปลอมสีเงิน และสีทอง ดูจะทำงานดีที่สุดในวันที่มีแดดค่อนข้างแรง เพราะสะท้อนแสดงได้ดี แต่ในทางกลับกันมันจะมองไม่เห็นเลยในวันที่มีเมฆมาก
ในวันที่เมฆมาก : ในวันแบบนี้ต้องใช้สีแบบ UV หรือจะเรียกสีสะท้อนแสงก็ได้ มันจะมีสีสดขึ้นในวันที่แดดไม่ค่อยจะมี เพราะฉะนั้นในวันที่แดดไม่ค่อยมีจึงเหมาะที่สุดแล้ว

การดูดซับแสงจะมากขึ้นเมื่อความยาวคลื่นยาว (ปลายสีแดงของสเปกตรัม) กับความยาวคลื่นสั้น (ปลายสีฟ้าของสเปกตรัม) โดยทีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านระดับความลึกของน้ำ
อัตราการความถูกต้องในการสูญเสียของสีนั้นจะแตกต่างกันไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง องศาของดวงอาทิตย์ ความสูงต่ำบนขอบฟ้า ปริมาณเมฆปกคลุมแค่ไหน และก็เช่นเดียวกันความคมชัดและสีของน้ำ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่นวัชพืช, แพลงก์ตอน และถึงแม้นักตกปลาจะใช้เหยื่อในมหาสมุทรที่ไกลจากชายฝั่ง แดดค่อนข้างดี จะมีเพียงร้อยละ 25 ของแสงเท่านั้น ที่สามารถส่องสว่างไปได้ถึง 30 ฟุต หรืออาจมากกว่านั้นนิดหน่อย และเมื่อถึงความลึก 300 ฟุต แสงจะเหลือเพียงร้อยละ 0.5 นั้นก็คือสีไม่มีผลอีกต่อไป ..และหากเป็นทะเลสาบน้ำจืดและแม่น้ำการสูญเสียของแสงก็ยิ่งมีมากขึ้นไปอีก

อะไรที่เกี่ยวกับความขุ่น

cocat-below-002 Silt/Clay (น้ำที่เป็นตะกอนหรือดินเหนียว) เหยื่อปลอมสี “ดำ” ทำงานได้ดีที่สุด
Algae (ตะไคร่น้ำ) เหยื่อปลอมที่ “Two-toned” (สองสี) เพราะปลาจะสามารถมองเห็นความแตกต่าง
Tannic Acid (น้ำที่ดูเป็นสีสนิม น้ำตาล) เหมาะที่จะใช้โทนสีมืด

โดยหลักการแล้ว สีแดงจะเป็นสีแรกที่ตาของเรามองเห็น และมันจะค่อยๆ หายไปเมื่ออยู่ในระยะ 15 – 20 ฟุตจากผิวน้ำ แต่จะขึ้นอยู่กับความขุ่นด้วย จากนั้นสีส้มจะหายไปตามด้วยเหลือง, เขียว และม่วง ส่วนโทนสีน้ำเงินเข้มจะมองเห็นได้ดีในความลึกและขุ่น

ปรากฏการณ์นี้ทำมีผลต่อสิ่งที่ทำให้เรามองเห็น โดยวัตถุสีขาวจะมองเห็นเป็นสีฟ้าหรือสีเทา วัตถุสีแดงจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือกลายเป็นสีดำภายในความลึกเพียงไม่กี่ฟุต ลึกลงไปประมาณ 40 หรือ 50 ฟุต แม้จะเป็นน้ำที่ใสมาก แต่ดูเหมือนจะมี 3 เฉดสีเท่านั้นคือ สีเทา, สีฟ้าและสีดำ

การดูดกลืนของแสง และสีของเหยื่อ

cocat-below-003 จากภาพเป็นการแสดงการมองเห็นของปลาในระดับความลึกที่ต่างกัน ซึ่งเป็นผลของแสงเมื่อส่องไปในระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น ในสีแดงจะใช้ได้กับความลึกระหว่าง 0 – 20 ฟุต (ในน้ำใสแดดดี) และโทนสีมืดจะมองเห็นได้ลึกมาก การแสดงสีในความลึกแบบนี้มีผลทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยที่ 40 ฟุตในแนวตั้ง จะมีผลกระทบเดียวกับ 40 ฟุตในแนวนอน

เอาละขอตัดจบเพียงเท่านี้ก่อนเลยนะครับ สำหรับบทความนี้มาจาก fix.com ซึ่งผมเอามาเรียบเรียงใหม่ ตัดออกไปบ้างหวังว่าจะช่วยเป็นแนวทางในการเลือกสีของเหยื่อให้เหมาะกับหมายครับ

อ่านเพิ่มเติม ทฤษฎีพลังสีขาวในเหยื่อปลอม

Advertisements
แหล่งที่มาfix.com