ภูเขาไฟระเบิดเป็นตัวเร่งให้ไดโนเสาร์ครองโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างไดโนเสาร์กับภูเขาไฟในประวัติศาสตร์นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ดูไม่ดีเท่าไร เป็นเวลานานหลายทศวรรษแล้วที่นักวิทยาศาสตร์โต้เถียงกันว่า ภูเขาไฟหรือดาวเคราะห์น้อยทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อน จนกระทั้งปี 2010 คณะผู้เชี่ยวชาญได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า เป็นอุกกาบาตรไม่ใช่การปะทุของภูเขาไฟขนาดใหญ่ ที่ทำให้ไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดสูญพันธุ์

ไดโนเสาร์

ตอนนี้ทีมนักวิจัยกำลังเสนอหลักฐานที่น่าสนใจว่า การระเบิดของภูเขาไฟนั้นเป็นส่วนช่วยทำให้ไดโนเสาร์ครองโลกได้ไวขึ้นในยุคไทรแอสสิก ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 250 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาครั้งใหญ่ หลังจากการสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน ซึ่งเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดเพราะจำนวนสิ่งมีชีวิตมากกว่า 90% ต้องสูญพันธุ์ไป

ไดโนเสาร์ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกในยุคนี้ แต่ในเวลานั้นพวกมันมีขนาดเล็กมากและรูปร่างไม่ต่างจากพวกกิ้งก่าเท่าไร แต่ภายหลังพวกมันจะกลายเป็นสัตว์ยักษ์ยังรวมถึงพวกนกอีกด้วย

เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นตัวผลักดัน ให้พวกไดโนเสาร์เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้พิจารณาช่วงเวลาสองถึงสามล้านปีในช่วงยุคไทรแอสสิกประมาณ 234 – 232 ล้านปีก่อน โลกมีอุณหภูมิ ความชื้นและฝนที่มากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะพายุฝนในหลายพื้นที่

นักวิจัยได้วิเคราะห์หลักฐานของตะกอน และซากฟอสซิลของพืชจากทะเลสาบทางเหนือของจีน และสามารถตรวจสอบถึงการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรงได้ การระเบิดของภูเขาไฟ นอกจากพวกคาร์บอนไดออกไซด์แล้วยังมีพวกแร่ธาตุต่างๆ ออกมาอีกด้วย ทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างดี และช่วงนี้พืชเริ่มปรับตัวให้เข้ากับความชื้นและปริมารถน้ำที่เพิ่มขึ้นได้ด้วย

หินที่เก็บรักษาหลักฐานจากเหตุการณ์ Carnian Pluvial Episode ซึ่งดึงมาจากความลึก 1,200 ฟุตจากลุ่มน้ำ Jiyuan ประเทศจีน

ในระหว่างนี้ พืชที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ชื้นขึ้นมากก็สูญพันธุ์ไป เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิด เช่นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่จนถึงหอยทากขนาดเล็ก การที่พวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ยังรอดมาจากยุคเพอร์เมียนได้เริ่มตายลงไป เปิดทางให้พวกไดโนเสาร์ขึ้นมาแทนที่พวกมันได้

นอกจากนี้ยังเชื่อว่าความชื้นที่เพิ่มขึ้น ยังวางรากฐานให้ระบบนิเวศในยุคปัจจุบันด้วย ในช่วงเวลานั้นเราได้เห็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวของสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานในยุคปัจจุบัน ในการขับเคลื่อนความหลากหลายในยุคนั้นก็มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ตั้งแต่ไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ พวกสัตว์เลื้อยคลานในทะเล รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคเริ่มแรก

ตัวอย่างละอองเกสร สปอร์ และสาหร่ายที่สกัดจากตัวอย่างหินที่มาจาก Carnian Pluvial Episode ในประเทศจีนที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมหลังภูเขาไฟขนาดใหญ่ระเบิด

หลักฐานความชื้นที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้นักวิจัยได้รู้ถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วย “ขนาดการระเบิดของภูเขาไฟนั้นถี่และเยอะกว่าในยุคปัจจุบันมาก” Sarah Greene ผู้ศึกษาร่วมและนักบรรพชีวินวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม แต่การระเบิดพวกนี้กลับปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าที่มนุษย์ปล่อยออกมาอีก

ช่วงเวลาสองล้านปีนี้ถือว่าไม่นานเลยถ้าเทียบกับการวิวัฒนาการที่ผ่านมา แต่การวิวัฒนาการนั้นเร็วกว่าที่คิดมาก ใครจะรู้ว่าอีกไม่กี่ล้านปีข้างหน้าจะมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาnytimes