ทัวทารา ที่สุดของวิวัฒนาการสัตว์เลื้อยคลาน

ทัวทารา (tuatara) เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศนิวซีแลนด์ แม้ว่ามันจะคล้ายกิ้งก่า แต่มันไม่ใช่ทั้งกิ้งก่าและงู ความจริงทัวทารา เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับทัวทารา (Rhynchocephalia) ซึ่งในตอนนี้เหลือ ทัวทารา เพียงชนิดเดียว มันเป็นสัตว์ที่อยู่มาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ และแม้ไดโนเสาร์ส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไป หลายชนิดที่รอดชีวิตมาถึงวันนี้ ก็วิวัฒนาการเปลี่ยนรูปร่าง บางชนิดไม่เปลี่ยนเลย แต่ไม่มีชนิดไหนเทียบได้กับ ทัวทารา (tuatara) สัตว์ที่นักวิจัยยกให้เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการเร็วที่สุด และนี้คือเรื่องราวของมัน ...ถ้าดูแล้วชอบก็อย่าลืมกดติดตาม กดกระดิ่ง หรือหากต้องการสมัครสมาชิกก็ทำได้เช่นกัน

ทัวทารา คืออะไร?

Advertisements

ทัวทารา (Sphenodon punctatus) มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกิ้งกา แต่มันไม่ใช่กิ้งกว่า มันเป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับทัวทารา หรือ ริง-โค-เซ-ฟา-เลีย (Rhynchocephalia) พวกมันอยู่มาตั้งแต่ยุคไทรแอสซิก หรือเมื่อประมาณ 220 ล้านปีก่อน เมือเกือบร้อยล้านปีก่อน พวกมันมีคลามหลากหลายที่สูงมาก แต่ในตอนนี้เหลือเพียง ทัวทารา เพียงชนิดเดียว

โดยปกติทัวทาราจะมีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอมเขียวจนถึงสีเทา ความยาววัดจากหัวถึงปลายหางอยู่ที่ประมาณ 80 เซนติเมตร หนักได้ถึง 1.3 กิโลกรัม มีสันหลังเป็นหนามแหลม ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในตัวผู้ มีฟันสองแถว และแม้จะไม่มีหูที่เห็นได้จากภายนอก แต่ทัวทาราก็ได้ยินเสียง

ในอดีตทัวทารา ที่ได้รับการยอมรับ มีอยู่ 2 ชนิด หนึ่งคือ สฟีโนดอน พังค์ทาตุส (Sphenodon punctatus) สองคือ สฟีโนดอน กันเทอรี (Sphenodon guntheri) แต่ภายหลังถูกย้ายให้เป็นเพียงชนิดย่อยของชนิดแรกเท่านั้น! เนื่องจากพวกมันมีความต่างกันเพียงเล็กน้อยเกินกว่าจะเป็นอีกชนิด แถมจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมก็พบว่า ความต่างที่เห็นได้ เกิดจากรูปแบบทางภูมิศาสตร์เท่านั้น

ทัวทาราเติบโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 70 ปี และจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2552 ที่สวนสัตว์ในประเทศอังกฤษ ทัวทาราเพศผู้ตัวหนึ่งอายุ 111 ปี ที่ถูกเลี้ยงในนั้นได้ผสมพันธุ์กับทัวทาราเพศเมีย และได้ไข่และฟักออกเป็นตัวทั้งหมด 11 ตัวด้วยกัน ทัวทาราเมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จะไม่กลับมาดูแลหรือฟักไข่ แต่จะปล่อยให้ฟักเองโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งที่พวกมันยังมีเหลือรอดจนถึงทุกวันนี้

งานวิจัยทำให้รู้ว่า ทัวทาราเป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการเร็วมาก!

ทัวทารา (tuatara) เป็นสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ มันเป็นสัตว์ที่สืบเชื้อสายมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ จัดเป็นสัตว์หายาก และอายุยืนได้ถึง 200 ปี สามารถปรับสภาพตัวเองให้อยู่รอดถึงทุกวันนี้ คาดการณ์ว่า! ปัจจุบันมีประชากรเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยกว่า 50,000 ตัว

ในการประมาณความเร็วของวิวัฒนาการ นักวิจัยได้กู้คืนลำดับดีเอ็นเอ จากกระดูกของทัวทาราโบราณ ที่มีอายุมากกว่า 8 พันปี โดยทีมงานพบว่า แม้ว่าทัวทาราจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงร่างกายส่วนใหญ่ แม้จะผ่านช่วงวิวัฒนาการที่ยาวนาน แต่พวกมันก็วิวัฒนาการในระดับ DNA เร็วกว่าสัตว์อื่นๆ

Advertisements

เดวิด แลมเบิร์ต (David Lambert) นักวิจัยจาก อลัน วิลสัน เซ็นเตอร์ ฟอร์ โมเลกูลาร์ อีโคโลจี แอนด์ เอโวลูชั่น (Allan Wilson Center for Molecular Ecology and Evolution) ในนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “สิ่งที่พวกเราค้นพบคือ ทัวทารา มีอัตราการวิวัฒนาการระดับโมเลกุลสูงที่สุดที่เท่าที่เคยพบมา

ในอดีตนักวิจัยหลายคน คิดว่าวิวัฒนาการของโมเลกุล จะเร็วที่สุดในสัตว์ที่มีรูปแบบทางกายภาพหรือทางสัณฐานวิทยา หรือก็คือวิวัฒนาการที่เห็นได้ด้วยตา วิวัฒนาการของโมเลกุลก็จะเร็วเช่นกัน แต่! วิวัฒนาการของทัวทารา ชี้ให้เห็นว่า! วิวัฒนาการไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบทางกายภาพหรือทางสัณฐานวิทยาเสมอไป

“แน่นอนว่าเราเคยคาดว่า ทัวทาราที่เป็นสัตว์ทำกิจกรรมทุกอย่างช้า มันเติบโตช้า ทำแต่สิ่งเดิมๆ อย่างช้าๆ และมีการเผาผลาญที่ช้ามาก จะมีวิวัฒนาการอย่างช้าๆ แต่อันที่จริง ในระดับ DNA พวกมันวิวัฒนาการเร็วจนน่าตกใจ”

อัตราการวิวัฒนาการของเพนกวินอาเดลี ซึ่งแลมเบิร์ต และทีมของเขาเคยศึกษาในทวีปแอนตาร์กติกมาหลายปี ก็ยังช้ากว่าของทัวทาราเล็กน้อย อัตราของทัวทารานั้นเร็วกว่าสัตว์อื่นๆ ที่ได้รับการศึกษาอย่างมาก รวมถึง สิงโต วัว ม้า และ หมีถ้ำที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และจาก Guinness World Records ได้บันทึกเอาไว้ว่า วิวัฒนาการของทัวทารา มีอัตราที่เร็วกว่าค่าเฉลี่ยของสัตว์ส่วนใหญ่บนโลกเกือบ 10 เท่า!

นอกจากทัวทารา เพนกวินอาเดลี ยังมีปลาหมอสีในทะเลสาบวิกตอเรีย ก็เป็นหนึ่งในปลาที่วิวัฒนาการรวดเร็วที่สุด ในทะเลสาบวิกตอเรีย พวกมันเริ่มจากปลาหมอสีเพียงไม่กี่ชนิด และในช่วงเวลาเพียง 15,000 ปี ปลาหมอสีในทะเลสาบแห่งนี้ก็มีมากกว่า 500 ชนิด! มันเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากๆ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements