งูพิษเอเชียในสกุล ไตรเมียร์เรซูรัส (Trimeresurus) นั้นเป็นอะไรที่แยกออกได้ยาก เนื่องจากพวกมันมีความแปรผันทางสัณฐานวิทยาค่อนข้างมาก บางกลุ่มมีหลายชนิดที่มีลักษณะเหมือนกัน ในขณะที่บางกลุ่มอาจดูแตกต่างกันมาก …แต่ก็เป็นชนิดเดียวกัน
ทางด้านเหนือและใต้ของพม่า เป็นที่อยู่อาศัยของงูพิษที่คล้ายกัน ซึ่งทางตอนเหนือ งูพิษหางแดง ( Trimeresurus erythrurus ) ถูกระบุตัวด้วยลำตัวที่มีสีเขียวและมีเครื่องหมายอื่นๆ อีกเล็กน้อย ส่วนทางใต้จะมี งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (Trimeresurus purpureomaculatus) เป็นงูที่มีสีหลากหลาย ตั้งแต่สีเหลือง น้ำตาล สีดำ แต่ก็ไม่เคยเห็นเป็นสีเขียว และงูชนิดนี้ยังมีลวดลายบนตัวอีกด้วย
ระหว่างประชากรงูทั้งสองชนิดนี้ นักวิจัยพบว่ายังมีชนิดที่สามอยู่ด้วย ซึ่งมันอาศัยอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของพม่า โดยลักษณะของงูชนิดที่สาม มีลักษณะอยู่กึ่งกลางระหว่างงูชนิดที่หนึ่งและสอง
มันเป็นประชากรงูพิษลึกลับที่อาศัยอยู่ที่ภาคกลางของพม่า ซึ่งทำให้นักวิจัยต้องงุนงง ในตอนแรกพวกเขาคิดว่า มันอาจเป็นประชากรงูที่เกิดจากการผสมระหว่างงูสองชนิด แต่จากการศึกษาใหม่ได้ระบุว่างูชนิดที่สามนี้ “ไม่ใช่ลูกผสม” แต่เป็นชนิดที่แตกต่างกันทางพันธุกรรม
งูชนิดใหม่นี้ มีลักษณะที่สร้างความสับสนและน่าสนใจ เพราะบางกลุ่มมีสีเขียวเข้มแลมีลายจุดด่าง จึงทำให้ง่ายต่อการแยกออกจากงูพิษชนิดที่หนึ่งและสอง แต่ก็มีบางกลุ่มที่มีสีเขียวสดใสและไม่มีจุดใดๆ ด้วยเหตุนี้มันจึงเหมือนงูพิษชนิดที่หนึ่งทุกประการ
มันเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เมื่อสัตว์ชนิดหนึ่งมีความคล้ายคลึ่งและแตกต่างจากญาติที่ใกล้ชนิดที่สุดพร้อมกัน นักวิจัยคิดว่า ในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต งูชนิดใหม่นี้ อาจมีการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างงูพิษชนิดที่หนึ่งและสอง และสุดท้ายงูพิษชนิดใหม่นี้ ถูกเรียกว่า อิรวดี พิท ไวเปอร์ ( Trimeresurus ayeyarwadyensis ) ตามชื่อแม่น้ำสายใหญ่ในพม่า …และนี่คือเรื่องที่เรารู้ในตอนนี้เกี่ยวกับงูลึกลับชนิดใหม่ในพม่า