เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และอีก 3 คนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจากกินเนื้อเต่ามีพิษที่อยู่บริเวณเกาะ Pemba ของประเทศแทนซาเนีย ..ควบคู่ไปกับการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงนี้ ยังมีอีก 38 คนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหลังจากที่กินเนื้อเต่าในวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ที่ผ่านมา
แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษ แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง และตัวอย่างเนื้อเต่าก็ต้องส่งไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบอีกครั้ง
เนื้อเต่าถือเป็นอาหารอันโอชะในพื้นที่ตามแนวชายฝั่งของแทนซาเนีย และบนเกาะแซนซิบาร์ แต่ในบางครั้งอาจก่อให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษร้ายแรงที่เรียกว่า Chelonitoxism มันเป็นพิษจากสารก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง อาเจียน และกลืนลำบาก ควบคู่ไปกับผลกระทบร้ายแรงต่อตับ โดยผลชันสูตรพลิกศพแสดงให้เห็นว่ามีอาการตกเลือดและมีเนื้อร้ายของเนื้อเยื่อตับ
ที่แย่คือ “ไม่มียาแก้พิษสำหรับ Chelonitoxism และการรักษาจนให้ผู้ป่วยฟื้นตัวอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์” สาเหตุของ Chelonitoxism นั้นไม่แน่นอน เชื่อกันว่ามาจากเต่าที่ “กินสาหร่ายพิษ” ซึ่งสะสมในร่างกายของเต่าจนถึงระดับที่เป็นพิษ
จากการศึกษาที่ผ่านมา ได้แนะนำว่า Chelonitoxin อาจแสดงผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ประสาท และทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะจำนวนมาก ในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ด้วยผลกระทบของสิ่งนี้ ทำให้การรักษาจึงเป็นเรื่องยากมาก
นี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกของการกินเนื้อเต่าจนเสียชีวิต เพราะเมื่อเดือนมีนาคมในมาดากัสการ์ มีผู้เสียชีวิต 19 คน ซึ่งเป็นเด็ก 9 คน หลังจากกินเนื้อเต่า ตามรายงานยังมีผู้ป่วยในอินโดนีเซีย ไมโครนีเซีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียของอินเดียด้วย
“Chelonitoxism มักพบในเต่าทะเล ที่อยู่ในภูมิภาคของมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดีย แต่ก็ถือว่าหาได้ยาก โดยเต่า 4 สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องมี เต่ากระ (Hawksbill sea turtle), เต่าตนุ ( Green sea turtle), เต่าหัวค้อน ( loggerhead sea turtle), เต่ามะเฟือง (Leatherback sea turtle)”