เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัตย์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบกระโดงหลังสูง และกว้างมีสีแดง ลำตัวเป็นสีขาวเงินและสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว แก้มสีเหลืองปนแดง ขนาดของลำตัวความยาว 15 – 35 เซนติเมตร
ปลากระแหทอง (ปลากระแห หรือ ปลาตะเพียนหางแดง)
ชื่อสามัญ : Schwanenfeld’s Tinfoil Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbodes schwanenfeldi
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัตย์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบกระโดงหลังสูง และกว้างมีสีแดง ลำตัวเป็นสีขาวเงินและสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว แก้มสีเหลืองปนแดง ขนาดของลำตัวความยาว 15 – 35 เซนติเมตร
- นิสัย รักสงบ อยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียว ว่องไว ไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลา
- ถิ่นอาศัย พบทุกภาคในประเทศไทย ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
- อาหาร พืชพันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ปลากระแห หรือกระแหทอง และปลาตะเพียนทอง คล้ายคลึงกันมาก ตัวมีขนาดค่อนข้างเล็ก และในสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครอธิบายถึงความแตกต่างของปลาทั้งสองชนิดนี้ แถมยังมีชื่อว่าปลาตะเพียนหางแดงอีกต่างหาก โดยเฉพาะที่ฉะเชิงเทราไม่ค่อยมีคนนิยมเรียกว่าปลากระแหกันเท่าไร พ่อค้าแม่ขายพากันเรียกว่า ปลาตะเพียนหางแดง และบางคนก็เรียกเป็นปลาตะเพียนทองก็มี
เนื่องจากทั้งปลาตะเพียนทองและปลากระแห เป็นปลาที่พลอยติดร่างแห ปะปนกับปลาอื่นๆ และมีขนาดเล็ก จึงไม่ได้เป็นเมนูอาหารประจำบ้านบ่อยๆ ปลาตะเพียนเป็นปลาที่มีก้างมากขนาดปลาตะเพียนขาว (ตะเพียนเงิน) ที่ตัวค่อนข้างเล็กก็ไม่นำมาทำกับข้าว ดังนั้นปลากระแห ปลาตะเพียนทองจึงเป็นเพียงปลาสวยงามเอามาให้ลูกหลานในบ้านได้ดูกัน
การตกปลากะแห
เลือกอ่านปลาชนิดอื่น
ที่มา สถานีประมงน้ำจืดราชบุรี