ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2515 (1972) หลังจากที่มีการศึกษามาอย่างยาวนาน ในที่สุด นักบรรพชีวินวิทยา ก็ได้ประกาศการค้นพบปลาแซลมอนขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และแม้ว่ามันจะเป็นปลาสายพันธุ์โบราณ แต่พวกมันก็เป็นปลาที่ว่ายอยู่มาตามแนวชายฝั่งของแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อ 12 – 5 ล้านปีก่อน ซึ่ง! ถือว่าอายุน้อย เมื่อคิดว่าเป็นปลาโบราณ! …น่าเสียดายที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
มันเป็นปลาที่มีความยาวได้อย่างน้อย 2.4 เมตร จากตัวอย่างที่เป็นฟอสซิลได้แสดงให้เห็นถึงฟันหรือเขี้ยวโค้งสองซี่ ซึ่งยื่นลงมาจากขากรรไกรบน เพราะแบบนี้! ในช่วงเวลานั้น จึงเข้าใจว่า มันมีฟันคล้ายกับเสือเขี้ยวดาบ ชื่อเล่นของปลาตัวนี้จึงเป็น เซเบอร์ทูธ แซลมอน (saber-toothed salmon / spike-toothed salmon)
แต่! จากการศึกษาใหม่ ด้วยเทคโนโลยี่ล่าสุด ทำให้นักวิจัย สามารถสร้างรูปร่างของปลาขึ้นมาใหม่ได้ โดยเฉพาะส่วนหัวและเขี้ยวของมัน จนในที่สุดนักวิจัยก็รู้ว่า แท้จริงแล้ว ลักษณะของเขี้ยวที่เข้าใจกันมาตลอด มันผิดไปอย่างสิ้นเชิง! ทีมนักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเขี้ยวทั้งสองไม่ได้ยื่นลงมาเหมือนเสือเขี้ยวดาบ แต่เป็นยื่นออกไปด้านข้างจมูกของมัน ซึ่งเหมือนกับหมูป่า
งานวิจัยนี้ ได้ถูกนำนำเสนอไว้ใน อ็อกซ์เฟิร์ด แอคาเดมิก (Oxford Academic) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้นำเสนอมุมมองใหม่ ที่เกี่ยวกับปลาแซลมอนขนาดใหญ่ ซึ่งรู้จักกันในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ออน-โค-ไรน์-คัส รา-โทร-ซัส (Oncorhynchus rastrosus)
การเปลี่ยนแปลงนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ใหม่! ที่เกี่ยวกับปลา ซึ่งรวบรวมได้จากบันทึกฟอสซิล นักบรรพชีวินวิทยาพบว่า เขี้ยวที่โดดเด่นของปลาแซลมอนโบราณ จะเปลี่ยนไปเมื่อปลาโตขึ้น โดยจะเติบโตขึ้นเมื่อปลาแซลมอนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และเปลี่ยนที่อยู่จากทะเลเป็นน้ำจืด ซึ่งคล้ายกับปลาแซลมอนในปัจจุบัน ที่เมื่อแหล่งที่อยู่เปลี่ยนไป ลักษณะทางกายภาพจะเปลี่ยนไปมาก มากซะจนเป็นปลาอีกชนิดเลยทีเดียว
การปรับแต่งรูปลักษณ์ของปลา จะขึ้นอยู่กับทั้งการค้นพบฟอสซิลใหม่ และการวิเคราะห์ซากฟอสซิลแรกสุด ซึ่งได้อธิบายไว้เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน ในบรรดาการค้นพบครั้งแรกสุด ส่วนของขากรรไกรที่ยึดเขี้ยวทั้งสอง นั้นแยกออกจากส่วนอื่นๆ ของกะโหลก
สำหรับเหตุที่ทำให้นักวิจัยยังไม่รู้จักตำแหน่งของเขี้ยวในตอนแรก เป็นเพราะชิ้นส่วนยังไม่สมบรูณ์พอ! เพราะแบบนี้ พวกเขาจึงคิดว่า เขี้ยวที่ชี้ลงจะสมเหตุสมผลที่สุดแล้ว ใครจะไปคิดถึงปลาที่มีเขี้ยวงอกไปด้านข้าง ในตอนนั้นไม่มีปลาแม้แต่ชนิดเดียวที่มีฟันแบบนี้
จนในปี พ.ศ. 2557 (2014) นักบรรพชีวินวิทยาที่กำลังขุดค้นแหล่งฟอสซิลในโอเรกอน ก็พบเข้ากับชิ้นส่วนเพิ่มเติมของปลาแซลมอนตัวนี้ มันเป็นส่วนกระโหลกที่แสดงให้เห็นเขี้ยวที่โดดเด่นเอาไว้อย่างชัดเจน! และเมื่อรวมกับข้อมูลที่ได้จากการ CT สแกน จึงยืนยันได้ว่า! ปลาแซลมอนชนิดนี้ จะมีเขี้ยวแบบนี้เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และเข้ามาในน้ำจืด
การค้นพบเขี้ยวที่แหลมคมในปลาแซลมอนที่ต่างกัน ทำให้นักวิจัยประหลาดใจ มีข้อมูลหนึ่งจากนักสะสมฟอสซิล เมื่อปี พ.ศ. 2557 (2014) พวกเขาเองก็เคยพบฟอสซิลของปลาชนิดนี้ ในบริเวณใกล้เคียงกัน พวกเขาคิดว่า! ปลาพวกนี้น่าจะเป็นคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งทั้งคู่มีเขี้ยวแหลมคมขนาดมหึมา …เพราะแบบนี้ นักวิจัยจึงคาดว่า ปลาแซลมอน ไม่ว่าจะเป็นเพศผู้หรือเมีย จะมีเขี้ยวที่แหลมคมทุกตัว โดยจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของกะโหลกศีรษะ เมื่อเข้าใกล้วัยผู้ใหญ่ ปลาแต่ละตัวจะงอกเขี้ยวที่แหลมคมอันเป็นสัญลักษณ์ของพวกมัน
ลักษณะที่ผิดปกติของเขี้ยวที่แหลมคม ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา สงสัยว่าทำไมลักษณะดังกล่าวจึงวิวัฒนาการมาเป็นแบบนี้ และมีไว้เพื่ออะไร? หากอ้างอิงงานจากวิจัยก่อนหน้านี้ ได้ระบุเอาไว้ว่า! เขี้ยวบางซี่ของปลา ทื่อและสึกหรอ ซึ่งบ่งชี้ว่า พวกมันเสียดสีกับพื้นผิวที่แข็ง บางทีปลาอาจใช้ฟันในการขูดและเคลื่อนย้ายเศษหิน เพื่อใช้ในการสร้างรัง และอาจเป็นประโยชน์ในการปกป้องรังจากปลาอื่นๆ
อ่านเรื่องอื่น
-
อะไรคือ? ปลาแซลมอนซอมบี้ กระบวนการพิเศษที่มอบให้ปลาสายพันธุ์เดียว
-
การค้นพบปลาเทราต์ญี่ปุ่น ที่หายสาบสูญไปเกือบร้อยปี