คนไข้ที่อยู่ตรงกลางของภาพ ไม่ใช่สิ่งที่คุ้นเคยแต่เป็นแรดที่ชื่อ “ออซ (Oz)” มันถูกนำตัวมาที่ศูนย์ดูแล หลังจากที่เฝ้าสังเกตอาการอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Care for Wild Rhino มาได้สักพัก จนเจ้าหน้าที่รายงานว่าใบหน้าของออซบวมผิดปกติ “หลังจากปรึกษาหารือกับสัตวแพทย์สัตว์ป่า จนมีการตัดสินใจที่จะดำเนินการโดยใช้เครื่อง CT Scan เพื่อประเมินปัญหานี้”
แม้ว่าการสแกนด้วยเครื่อง CT scan จะเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปและไม่เป็นอันตรายสำหรับแพทย์เพื่อใช้ในการวินิจฉัยภาวะต่างๆ ให้กับมนุษย์ แต่มันเป็นคนละเรื่องเลย เมื่อต้องใช้เครื่องนี้กับแรดที่ตัวใหญ่ขนาดนี้ “มันเป็นปัญหาใหญ่ของโลจิสติก” การย้ายแรดหนัก 1 ตัว เข้าและออกจากเครื่องมันเป็นเรื่องที่จัดการยากมาก
ก่อนจะนำออซไปที่เครื่อง CT scan ทีมแพทย์ต้องทำให้มันสงบสติอารมณ์ซะก่อน จากนั้นจึงนำมันขึ้นไปบนรรถเข็นขนาดใหญ่ เพื่อย้ายไปที่ห้อง CT Scan ซึ่งภาพ 3 มิติของปากและกรามของมันเผยให้เห็นฝีของรากฟัน
หลังจากการวินิจฉัยที่แม่นยำด้วยเครื่อง CT scan มันช่วยได้มากในกรณีเช่นนี้ เนื่องจากการถอนฟันอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติมได้ เพราะหากถอนฟันไป จะมีโอกาสที่ฟันซี่อื่นจะได้รับผลกระทบไปด้วย และยิ่งอาจนำไปสู่การกินอาหารของมัน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องไม่ถอนฟันโดยไม่จำเป็น ในกรณีของออซ การไม่ถอนฟันแล้วเลือกรักษาด้วยวิธีอื่นเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
ออซเป็นแรดกำพร้าในปี 2015 หลังจากที่มันรอดจากเหตุลักลอบล่าสัตว์ มันเป็นหนึ่งในแรดจำนวนมากที่ได้รับการดูแลที่ศูนย์อนุรักษ์ ซึ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือ ฟื้นฟู และการปล่อยสัตว์เหล่านี้คืนสู่ธรรมชาติ
แม้ว่าสถิติล่าสุดระบุว่าแรดที่ตายเนื่องจากการรุกล้ำจากมนุษย์จะลดลง นักอนุรักษ์ก็ยังกังวลว่า นี่อาจเป็นผลจากการลดลงของจำนวนประชากรแรดโดยรวม ทำให้มีสัตว์ป่าที่เหลืออยู่ในป่าน้อยลง จนทำให้ผู้ลอบล่าสัตว์มองหาเป้าหมายใหม่ๆ ได้ยาก “โชคดีสำหรับออซ ฟื้นตัวได้ดีหลังจากทำการรักษา ในคลิปมันกำลังกินหญ้าอย่างมีความสุขกับเพื่อนๆ ที่เหลือในที่สถานศักดิ์สิทธิ์ของแรด