นักวิจัยประเมินว่าสายพันธุ์รุกรานนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.9 ล้านเมตริกตันต่อปี เพียงเพาะพวกมันขุดดินไปทั่ว และงานวิจัยใหม่นี้ระบุว่า ผลกระทบต่อสภาพอากาศของหมูป่าทั่วโลกนั้นเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถ 1.1 ล้านคันต่อปี
“หมูมีถิ่นกำเนิดในยุโรปและบางส่วนของเอเชีย แต่พวกมันได้รับการแนะนำให้รู้จักไปทุกทวีป ยกเว้นแอนตาร์กติกา”
หมูดุร้ายจะขุดดินขณะค้นหาอาหาร ในกระบวนการนี้เปรียบเสมือน “รถไถขนาดเล็กที่กำลังไถดิน” การทำเช่นนี้จะทำให้จุลินทรีย์ในดินสัมผัสกับออกซิเจน จากนั้นจุลินทรีย์จะแพร่พันธุ์ในอัตราที่รวดเร็วและสามารถผลิตคาร์บอนในรูปของ CO₂ “เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลกกับดิน ไม่ว่าจะรูปแบบไหน มันสามารถส่งผลกระทบต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากดิน”
นักวิจัยคาดการณ์ว่าหมูป่ากำลังขุดดินแบบถอนรากถอนโคนบนพื้นที่มากกว่า 36,000 ตารางกิโลเมตร (14,000 ตารางไมล์) ในภูมิภาคที่พวกมันรุกรานอยู่
โอเชียเนีย (Oceania) คือพื้นที่ใหญ่สุดที่หมูป่ารุกรานอยู่ ประมาณ 22,000 ตารางกิโลเมตร อันดับสองคืออเมริกาเหนือ โดยหมูป่าในโอเชียเนียคิดเป็นกว่า 60% ของประมาณการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี หรือเทียบเท่ากับรถ 643,000 คัน
ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Global Change Biology ได้ดึงข้อมูลจากแบบจำลอง 3 แบบ แบบจำลองหนึ่งได้ทำนายความหนาแน่นของหมูป่าทั่วโลกจากการจำลอง 10,000 แบบ โดยอิงจากข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับประชากรและที่ตั้งของหมูป่า
แบบจำลองที่สองแปลงความหนาแน่นของสุกรให้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และแบบจำลองที่สามจะประเมินปริมาณ CO₂ ที่ปล่อยออกมาเมื่อดินถูกรบกวน
สุดท้ายแล้วหมูป่าก็เป็นปัญหาของมนุษย์ เราได้นำพวกมันไปทั่วโลก และนี่เป็นอีกหนึ่งผลกระทบจากสภาพอากาศที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ