กั้งตั๊กแตนเจ็ดสี (Peacock mantis shrimp, Harlequin mantis shrimp, Painted mantis shrimp) ชื่อวิทยาศาสตร์: Odontodactylus scyllarus) เป็นครัสเตเชียนชนิดหนึ่งจำพวกกั้ง
สัตว์ที่มีระบบการมองเห็นดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์โลก!
มันคือสิ่งมีชีวิตที่สายตาดีที่สุดในโลก! ในน้ำ พื้นดิน บนฟ้า ไม่มีสัตว์ชนิดไหนสู้มันได้ ด้วยดวงตากลมโตทั้งสองข้างนั้นสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้อย่างเป็นอิสระ มันมีเซลล์รับแสงมากถึง 12 สี เมื่อเทียบกับตามนุษย์ที่มีเซลล์รับแสงเพียงแค่ 3 สีเท่านั้น
นอกจากจะมองเห็นสีสันได้มากมายหลายเฉดสีแล้ว ยังสามารถรับรู้แสงโพลาไรซ์ได้อีกด้วย แค่การมองก็โหดแล้ว แต่สิ่งที่ยอดเยี่ยมของกั้งตัวนี่ไม่ใช่แต่การมอง!
มันมีอาวุธที่คล้ายกำปั้นของคน และแข็งแกร่งมาก
ขาคู่หน้าที่คล้ายกับกำปั้นหรือสันหมัดของมนุษย์ มันสามารถใช้เพื่อการจับเหยื่อคล้ายตั๊กแตนตำข้าวจับเหยื่อ และใช้โจมตีเหยื่อที่แม้แต่กระดองหอยแข็งๆ ก็ยังแตก
มันมีแรงดีดนี้รุนแรงมาก เพียงพอแบบเหลือๆ ที่จะทำให้มนุษย์บาดเจ็บได้ แม้กระทั่งกระจกตู้ปลาก็อาจแตกด้วยแรงดีดเพียงครั้งเดียว เพราะมันดีดได้แรงมากกว่า 1 พันเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง
“กั้งตั๊กแตนเจ็ดสี ดีดได้เร็วกว่ากระสุนขนาด .22 มิลลิเมตร แถมความแข็งแกร่งของขาคู่หน้ายังมากเพียงพอให้มันดีดได้อย่างน้อย 50,000 ครั้ง โดยที่ขาคู่หน้าไม่ได้รับบาดเจ็บเลย”
เนื่องจากโครงสร้างภายในของขาคู่หน้า มีลักษณะเป็นชั้นๆ ที่ซับซ้อน บริเวณที่รับแรงกระแทกโดยตรง ประกอบด้วยไฮดรอกซิลอะพาไทต์แบบผลึก ที่พบมากในกระดูกและฟันของมนุษย์ จึงทำให้ผิวชั้นนี้ทนทานต่อแรงกดอัดได้ดี อีกทั้งด้านในมีลักษณะของชั้นเส้นใยไคตินที่มีคุณสมบัติด้านความแข็งตึง (ความสามารถในการรักษารูปร่าง) ซึ่งพบมากในโครงสร้างภายนอกของสัตว์ครัสเตเชียน
มีการจัดเรียงตัวในลักษณะวนเป็นเกลียว และเติมเต็มด้วยสารอนินทรีย์ ชนิดอสัณฐานที่โครงสร้างของสสารไม่เป็นผลึกอยู่ระหว่างกลาง ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกที่เกิดจากการจู่โจม ส่วนชั้นที่มีลักษณะเป็นลายริ้วๆ เป็นเส้นใยไคตินมีหน้าที่ห่อหุ้มขาคู่หน้าทั้งหมดเพื่ออัดองค์ประกอบอนินทรีย์ต่างๆ ให้อยู่ภายในระยางค์เพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ซึ่งลักษณะทางกายภาคที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้เป็นต้นแบบให้นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ริเวอร์ไซด์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ของสหรัฐอเมริกาใช้ศึกษาเพื่อพัฒนาการสร้างวัสดุที่มีความแข็งแกร่งสูงแต่น้ำหนักเบา โดยเลียนแบบจากโครงสร้างอันนี้
“อ่านถึงตรงนี่ ผมว่ากั้งตัวนี่มัน ฟังก์ชั่นเยอะจัง”
ขนาดตัวของ กั้งตั๊กแตนเจ็ดสี
มีขนาดความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร พบในความลึกไม่เกิน 20 เมตร พบกระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่เกาะกวมจนถึงแอฟริกาตะวันออก ในน่านน้ำไทยพบได้น้อยทางฝั่งอ่าวไทย แต่จะพบได้มากกว่าทางฝั่งทะเลอันดามัน
เป็นกั้งที่ไม่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ เพราะมีเนื้อน้อย แต่มีการเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม โดยผู้เลี้ยงอาจหาท่อพีวีซีใส่ในตู้ เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อน
และนี่คือความแข็งแกร่งของเจ้ากั้งตัวนี้ ก็อย่างที่เห็น ดูเหมือนว่าจะหาได้ในทะเลไทยด้วยถึงจะน้อยก็ตาม ก็ไม่รู้ว่าจะมีน้าท่านไหนเลี้ยงอยู่บ้าง โดยส่วนตัวผมว่าเจ้ากั้งตั๊กแตนเจ็ดสีมันสวยมากจริงๆ แต่ก็โหดด้วย ถ้าชอบเรื่องนี้อย่าลืมแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นได้อ่านกันนะครับ
ดูการต่อสู้ของกั้งตั๊กแตนเจ็ดสี กับปลาหมึกยักษ์
*แร่ไฮดรอกซิลอะพาไทต์สามารถพบได้ในกระดูกและฟันของมนุษย์ ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้ในการรักษา เพื่อช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้กับผู้ป่วย
**เส้นไยไคติน เป็นโพลิเมอร์ธรรมชาติ โดยพบเป็นองค์ประกอบของเปลือกแข็งที่หุ้มเซลล์ของรา
ยีสต์ และจุลินทรีย์หลายชนิด หรือพบเป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกแมลง กุ้ง ปู
ปลาหมึก เป็นต้น
เมื่อกั้งสร้างฐานทัพ
Bobbit Worm หนอนทะเลสุดแกร่งที่ยาวได้ถึง 3 เมตร