ค้นพบไดโนเสาร์นักล่า ‘แขนจิ๋ว’ สายพันธุ์ใหม่ในอาร์เจนตินา

Christened Guemesia ochoai เป็นไดโนเสาร์แขนสั้นจำพวก Abelisaurid ชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบล่าสุดในอาร์เจนตินา ความจริงแล้วแขนของมันจะเรียกว่าไม่มีอยู่เลยก็ได้ เพราะแขนเล็กกว่านิ้วเท้าของมันซะอีก แถมยังแทบไม่มีประโยชน์

ไดโนเสาร์แขนจิ๋ว

ไดโนเสาร์แขนสั้นพวกนี้ท่องอยู่ในแอฟริกา อเมริกาใต้ และอินเดีย เมื่อราว 70 ล้านปีก่อน กะโหลกฟอสซิลที่ไม่สมบูรณ์บางส่วนของมันถูกค้นพบในอาร์เจนตินา และชี้ไปที่ระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ ที่พัฒนาขึ้นในพื้นที่นี้ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส การค้นพบนี้ค่อนข้างน่าตื่นเต้นเนื่องจากพื้นที่ที่พบมีฟอสซิของพวก Abelisaurid น้อยมาก ดังนั้นมันจึงช่วยเติมเต็มในส่วนสำคัญของปริศนาประวัติศาสตร์

ไอ้แขนจิ๋วแห่งอาร์เจนตินา!! “ไดโนเสาร์ตัวใหม่นี้ค่อนข้างแปลกสำหรับชนิดของมัน มันมีลักษณะสำคัญหลายประการที่บ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ โดยให้ข้อมูลใหม่ที่สำคัญเกี่ยวกับพื้นที่ของโลกที่เราไม่ค่อยรู้จักมากนัก” ศาสตราจารย์ Anjali Goswami หัวหน้าฝ่ายวิจัยที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอนดอน และยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมศึกษา

“มันแสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ค่อนข้างแตกต่างจากในส่วนอื่นๆ ของอาร์เจนตินา ซึ่งสนับสนุนแนวคิดของเขตที่แตกต่างกันในยุคครีเทเชียสของอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังแสดงให้เราเห็นว่ายังมีอีกมากที่จะค้นพบพวกมันในพื้นที่เหล่านี้ซึ่งได้รับความสนใจน้อยกว่าแหล่งฟอสซิลที่มีชื่อเสียงบางแห่ง”

เมื่อถึงเวลาที่เผ่าพันธุ์นี้เริ่มปรากฏตัว มหาทวีปแพนเจีย (Pangea) ได้เริ่มแยกออกจากกันเป็น Gondwana และ Laurasia ซึ่งทำให้ดินแดนอย่างแอฟริกา อเมริกาใต้ และอินเดียแยกจากกัน

แม้ว่าผืนดินเหล่านี้จะค่อยๆ เคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆ แต่สปีชีส์นี้ยังคงสามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างกันได้ ดังนั้นนักวิจัยจึงสันนิษฐานว่าบรรดาสัตว์ประจำถิ่นของผืนดินเหล่านี้ยังคงมีความคล้ายคลึงกันมาก เนื่องจากสัตว์ต่างๆ อพยพไปมาระหว่างกัน และ Abelisaurids เป็นหนึ่งในสายพันธุ์เหล่านี้

Abelisaurids เป็นสัตว์นักล่าอันดับต้นๆ ในระบบนิเวศน์ของมัน ล่าเหยื่อแม้กระทั่งพวกคอยาวอย่างไททันโนซอร์ อันยิ่งใหญ่ หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดคือแขนขาด้านหน้า สั้นกว่าของทีเร็กซ์ แขนพวกนี้แทบไม่มีประโยชน์เลย กล่าวอีกนัยหนึ่ง สายพันธุ์นี้ทำการล่าสัตว์โดยไม่สามารถใช้แขนจับได้ มันอาศัยขากรรไกรและคออันทรงพลังของพวกมันเพื่อจับเหยื่อ

ถึงพวกมันจะไม่ใช้แขน แต่ดูเหมือนว่าพวกมันจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมากเช่นกัน ฟอสซิลของไดโนเสาร์เหล่านี้ถูกพบทั่วแอฟริกา อเมริกาใต้ อินเดีย และยุโรป จนถึงการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีก่อน

แม้ว่าอาร์เจนตินาจะขึ้นชื่อในเรื่องฟอสซิล Abelisaurid (35 สายพันธุ์ที่ค้นพบแล้วที่นี่) แต่ส่วนใหญ่พบในปาตาโกเนียทางตอนใต้ของประเทศ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแทบไม่มีการค้นพบ จนกระทั้งตัวอย่างใหม่ล่าสุดนี้

ซากดึกดำบรรพ์นี้ประกอบด้วยกล่องสมองที่มีส่วนบนและส่วนหลังของกะโหลกศีรษะ ถูกค้นพบในพื้นที่ ลอส บลองกีโตส ใกล้อัมบลาโย ทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา หินมีอายุระหว่าง 75 – 65 ล้านปีก่อน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ตัวอย่างนี้อาศัยอยู่ใกล้กับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำลายล้างไดโนเสาร์

Advertisements

ตามที่ผู้ค้นพบกะโหลกเช่นเดียวกับ Abelisaurids อื่นๆ กะโหลกศีรษะมีกล่องสมองที่ “เล็กมาก” เล็กอย่างน่าทึ่ง กะโหลกของมันเล็กกว่าหัวกะโหลกประมาณ 70% นี่อาจบ่งบอกว่าสัตว์ดังกล่าวยังเป็นเด็ก แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการยืนยัน

ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของไดโนเสาร์คือชุดของรูเล็กๆ ที่ด้านหน้ากะโหลก เรียงเป็นแถวเรียกว่า foramina นักวิจัยเชื่อว่ารูเหล่านี้ช่วยให้สัตว์เย็นลงโดยปล่อยให้เลือดสูบฉีดเข้าไป (และปกคลุมด้วยผิวหนังบางๆ ที่ด้านหน้าของศีรษะ) เพื่อปลดปล่อยความร้อนที่มีอยู่

กะโหลกที่พบนี้ไม่มีเขาเลย นี่แสดงให้เห็นว่าสปีชีส์นี้เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆ ที่โผล่ขึ้นมาในกลุ่ม Abelisaurid ก่อนที่ไดโนเสาร์เหล่านี้จะพัฒนาเขาขึ้นมาเหมือนพวกคาร์โนซอรัส เนื่องจากมีหลักฐานเพียงพอที่จะแยกแยะว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ ทีมงานจึงตั้งชื่อมันตามนายพล Martin Miguel de Güemes วีรบุรุษแห่งสงครามประกาศอิสรภาพของอาร์เจนตินา และ Javier Ochoa ช่างเทคนิคของพิพิธภัณฑ์ที่ค้นพบมัน

“เราทิ้งฟอสซิลที่น่าตื่นเต้นไว้บนพื้นในการเดินทางครั้งล่าสุดของเรา โดยไม่รู้ว่าจะใช้เวลาหลายปีกว่าที่เราจะสามารถกลับไปยังพื้นที่ภาคสนามได้ ตอนนี้เราหวังว่ามันจะไม่ใช้เวลานานเกินไป ก่อนที่เราจะขุดพวกมันให้เสร็จและค้นพบสปีชีส์อื่นๆ อีกมากมายจากสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะนี้”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาzmescience