ในการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อวันพุธ (13 กรกฎาคม 2022) ใน Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences นักวิจัยได้วิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ Karataviella popovi เกือบ 160 ชนิด ซึ่งทั้งหมดเป็นแมลงน้ำที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
โดยพวกมันจะมีขาหลังเหมือนไม้พาย และฟอสซิลซึ่งผู้เขียนการศึกษาเรียกมันว่า “Exceptional” มีอายุ 163.5 ล้านปี ซึ่งหมายความว่า มันมีอายุจนถึงกลางยุคจูราสสิก (201.3 – 145.5 ล้านปีก่อน)
ในบรรดาฟอสซิลเหล่านี้ ทีมวิจัยได้ระบุตัวอย่างตัวเมียที่โตเต็มวัยจำนวน 30 ตัวอย่าง โดยมีกลุ่มไข่ติดอยู่ที่ “Mesotibia” ทางซ้ายของพวกมัน ซึ่งเป็นขากลางในขาข้างซ้ายของพวกมัน
ไข่ถูกบรรจุอย่างหนาแน่นและยังจัดเรียงเป็นแถวเรียงกันห้าหรือหกฟอง โดยมีไข่หกถึงเจ็ดฟองต่อแถว แต่ละฟองติดด้วย “ก้านไข่”
ไข่แต่ละฟองมีขนาดประมาณ 1.14 – 1.20 มม. ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อพิจารณาว่า ตัวเต็มวัย K. popovi จะมีความยาวเพียง 12.7 มม. เท่านั้น
โดยนักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า ตัวเมียของ K. popovi จะวางไข่โดยตรงบนขาของพวกมัน โดยเริ่มจากการหลั่งเมือกเหนียวๆ ออกมาก่อน จากนั้นจึงดำเนินการ “การเคลื่อนไหวที่โค้งงอเฉพาะของช่องท้อง” เพื่อขับไข่ออกไปยังแขนขาที่เหมาะสม “และดูเหมือน Mesotibia ด้านขวาที่ยังว่างอยู่ อาจถูกใช้เพื่อรักษาสมดุลในขณะว่ายน้ำหรือหาอาหาร”
ตามความรู้ของเราในตอนนี้ การแบกไข่กลุ่มหนึ่งไว้บนขาข้างหนึ่งเป็นกลยุทธ์เฉพาะในหมู่แมลง แต่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติในสัตว์ขาปล้องที่อยู่ในน้ำ
การค้นพบของเราได้ผลักดันหลักฐานของพฤติกรรมการฟักไข่ที่ชัดเจนในแมลงมาเกือบ 38 ล้านปี ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำความเข้าใจวิวัฒนาการ และความสำคัญในการปรับตัวของการดูแลพ่อแม่พันธุ์ในแมลง