ตะกอน-อีกัวน่าเขียว ต่างกันตรงไหน ดูเอาไว้จะได้ไม่จับผิวตัว

หลังจากที่นำเสนอเรื่องของอีกัวน่าเขียวที่กลายเป็นสัตว์รุกรานในไทย และกำลังฮิตตามจับกัน วันนี้เลยขอเอาเรื่องของกิ้งกาที่คล้ายกับอีกัวน่าเขียวมาให้รู้จักกัน มันคือ “ตะกอง” หรือ “ลั้ง” มันเป็นกิ้งกาท้องถิ่นที่พบในไทย และยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้การที่จะจับอีกัวน่าในธรรมชาติ ก็ขอให้มองดูดีๆ ก่อนว่ามันคือตะกองหรือเปล่า จับมั่วระวังโดนปรับหรืออาจติดคุกได้ ...โดยในเรื่องนี้ผมจะขอเน้นไปที่ตะกอง และจะแยกความแตกต่างเท่าที่มองเห็นได้ง่ายให้ดูกัน

ตะกอง คืออะไร?

Advertisements

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ “ตะกอง” กันก่อน โดย ตะกอง มีอีกชื่อ ลั้ง มันมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Chinese water dragon หรือให้แปลตรงๆ ก็คือ มังกรน้ำจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Physignathus cocincinus อยู่ในสกุลมังกรน้ำ

ตะกอง – ลั้ง (Chinese water dragon)

โดยกิ้งกาที่อยู่ในสกุลมังกรน้ำจะมีอยู่แค่สองชนิด หนึ่งคือ ตะกอง หรือ มังกรน้ำจีน (Physignathus cocincinus) ซึ่งพบตั้งตอนใต้ของจีนและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย อีกชนิดคือ มังกรน้ำออสเตรเลีย (Physignathus esueurii) พบในหลายรัฐทางภาคตะวันออกของออสเตรเลีย

มังกรน้ำออสเตรเลีย (Physignathus esueurii)

หากดูจากชื่อสามัญและชื่อสกุลแล้ว ก็น่าจะพอเดาได้ว่า ตะกองคงต้องชอบน้ำมากๆ ใช่แล้ว มันว่ายน้ำเก่งมาก และตะกองก็เป็นกิ้งกาที่นิยมเอามาเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย แต่เพราะมันเป็นกิ้งกากินเนื้อ และต้องการความชื้นที่ค่อนข้างมาก แถมยังก้าวร้าวกว่าอีกัวน่าเขียวจึงเลี้ยงได้ยากกว่า

อาหารส่วนใหญ่ของตะกองก็คือ แมลงชนิดต่างๆ กบ เขียด ปลาขนาดเล็ก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บางชนิด มันเป็นกิ้งกาที่สามารถดำน้ำเพื่อจับปลาได้ด้วย และมันก็ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหล … พื้นที่โล่งและแห้งแล้งจึงมีโอกาสต่ำที่จะพบพวกมัน

ตะกอง และ อีกัวน่าเขียว ต่างกันตรงไหน?

หากมองผ่านๆ รูปร่างหน้าตาของ “ตะกอง” นั้นค่อนข้างคล้ายกับอีกัวน่าเขียว โดยเฉพาะในวัยเด็ก แต่เมื่อพวกมันโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโตเต็มวัย ตะกอง และ อีกัวน่าเขียว จะต่างกันชัดเจน ในเรื่องความยาวตะกองจะยาวประมาณ 90 – 120 เซนติเมตร ในขณะที่อีกัวน่าเขียว มีความยาว 120 – 170 เซนติเมตร และตะกองก็ดูผอมเพียวกว่า เพราะตะกองหนักไม่ถึงกิโลกรัม ในขณะที่อีกัวน่าเขียวอาจหนักได้ถึง 3 กิโลกรัม

ตะกองตัวเล็กและผอมกว่า
Advertisements

ในเรื่องสีสัน ตะกองจะมีเขียวเป็นหลัก แต่สีอาจหลากหลายในเรื่องความเข้มของสีเขียว บางทีอาจเจอกับตัวที่มีสีออกดำเขียว ในขณะที่อีกัวน่าเขียวนั้น มีสีที่หลากหลาย ตั้งแต่เขียว ไปจนถึงสีผสม สีดำ สีน้ำตาลแดง ฟ้า ส้ม

จุดสังเกตอีกหนึ่งที่เราสามารถแยกตะกองออกจากอีกัวน่าเขียวคือที่ส่วนหัว ตรงใต้กระดูกขากรรไกรล่าง แถวเกล็ดของริมฝีปากล่าง จะมีเกล็ดคล้ายแผ่นสีขาวขนาดใหญ่ 8 – 10 แผ่น ซึ่งจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ในขณะที่อีกัวน่าเขียวไม่มี

ตะกองมีแผ่นเกล็ดสีขาว

ที่หลังของตะกองจะมีหนามคล้ายกับอีกัวน่าเขียว เพียงแต่ส่วนใหญ่จะเล็กและสั้นกว่า และจุดสังเกตสุดท้ายที่มองเห็นได้ด้วยตาก็คือ อีกัวน่าเขียวจะมีเหนียงอยู่ที่คอ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายของพวกมัน ในขณะที่ตะกองนั้นไม่มีเลย

ตะกองไม่มีเหนียงที่คอ
Advertisements
เหนียงที่คอของอีกัวน่า

ในเรื่องที่อยู่อาศัย ทั้งตะกองและอีกัวน่าเขียว ต่างก็ชอบอยู่ในบริเวณที่คล้ายกัน พวกมันชอบอยู่บนต้นไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำธาร พวกมันว่ายน้ำเก่ง แต่ตะกองจะต้องการความชื่นมากกว่า ส่วนอีกัวน่าเขียวไม่ค่อยชอบลงน้ำเท่าไร

สุดท้ายเอาเข้าจริงๆ ตะกองนั้นต่างกับอีกัวน่าเขียวค่อนข้างมาก นั้นเพราะจะผอมและดูเป็นกิ้งกามากกว่า ในขณะที่อีกัวน่าเขียว มันค่อนข้างไกลจากกิ้งกาเล็กน้อย เรื่องจะแยกพวกมันออกจากกันไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ในวัยเด็กของพวกมันจะแยกยากหน่อย แต่ผมว่าตะกองในวัยเด็กมันคล้ายตุ๊กแก ส่วนอีกัวน่าเขียวในวัยเด็กมันคล้ายกิ้งก่าสวนที่มีเหนียง สรุปจากที่เล่ามา หลายคนก็น่าจะทราบความแตกต่างระหว่างกิ้งกาทั้งสองชนิดแล้วนะ คงจะไม่จับผิดตัวกันแล้ว

อ่านเรื่องอื่น

อีกัวน่า จะกลายเป็นสัตว์รุกรานที่น่ากลัวในไทยได้หรือไม่
ค้นพบ ‘อิคิดนา’ ในตำนาน ตัวแรกในรอบ 60 ปี
Advertisements