กบต้นไม้รังโฟมสีเทา (Grey foam-nest tree frog) ชื่อวิทยาศาสตร์ Chiromantis xerampelina เป็นกบสายพันธุ์หนึ่งใน Rhacophoridae พวกมันอาศัยอยู่ที่ในแอฟริกา แทบทุกแห่งทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นกบที่ชอบอาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทางตอนเหนือ และในทุ่งหญ้าสะวันนาที่แห้งแล้งทางตอนใต้
แม้ว่าพื้นที่แห้งจะไม่ใช่แหล่งที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดสำหรับพวกมัน ที่จะสูญเสียความชื้นผ่านผิวหนัง แต่กบรังโฟมมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญบางประการเพื่อจัดการกับปัญหานี้
วิธีหนึ่งที่กบจะรักษาความชื้นเอาไว้ได้ก็คือ การเอาขาไปซุกไว้ใต้ตัวของมันเอง และรักษาพื้นที่ผิวให้ต่ำเข้าไว้ นอกจากนี้มันยังมีผิวหนังที่ไม่สามารถซึมผ่านได้ ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำส่วนใหญ่ เพราะจะสูญเสียน้ำได้อย่างอิสระบริเวณผิวหนังของพวกมัน วิธีนี้ช่วยให้กบรังโฟมผลิตกรดยูริกเป็นอุจจาระแทนปัสสาวะ ซึ่งช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่า สุดท้ายกบพวกนี้ยังสามารถหลั่งของเหลวกันน้ำในช่วงฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณน้ำที่สูญเสียไปได้อีก
และเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์ กบรังโฟมจะสร้างรังด้วยโฟม โดยตัวเมียจะหลั่งของเหลวออกจากผิวหนังของมัน ซึ่งจะยึดอยู่บนกิ่งไม้หรือโครงสร้างที่ยื่นออกมาเหนือน้ำ จากนั้นตัวผู้จะเข้าร่วมกับตัวเมียแล้วตีของเหลวให้เป็นโฟม
ตัวผู้หลายตัวจะเข้าร่วมปาร์ตี้นี้ได้ และบางครั้งอาจมีตัวเมียหลายตัวเข้าร่วมด้วยเช่นกัน (ดังคลิป) ในขั้นตอนนี้ ตัวเมียต้องกลับลงไปในน้ำหลายครั้ง เพื่อให้ได้ของเหลวเพียงพอเพื่อสร้างรังที่เหมาะสม
เมื่อเตรียมรังเสร็จเรียบร้อย ตัวเมียจะวางไข่ในโฟม ซึ่งสามารถวางไข่ได้ตั้งแต่ 500 – 1300 ฟองในรังเดียว ไข่จะฟักออกในรังและภายใน 3 – 5 วัน ลูกอ๊อดจะหลุดออกจากรังและลงไปในน้ำ
หลายคนสงสัยว่าทำไมมันเลือกที่จะสร้างโฟมแล้ววางไข่ไว้ในโฟม? คำตอบของเรื่องนี้ยังไม่แน่ชัด อาจเพราะกบชนิดนี้ไม่ชอบว่ายน้ำเลย หรืออาจเพราะในน้ำมีผู้ล่ามากมายก็ได้ แต่ยังไงซะการวางไขของพวกมันก็เป็นอะไรที่แปลกประหลาดและน่าทึ่งมาก