GaryLoomis พูดอะไรเกี่ยวกับ IM,Modulus,Strain Rate

สวัสดีครับ ^ ^ ระหว่างที่หาข้อมูลอยู่ผมแมวบ้าก็ไปเจอบทความภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมากๆ เกี่ยวกับคันเบ็ด โดยบทความนี้ถูกเผยแพร่ไปตั้งแต่ปี 2011 มันเป็นบทความที่ Gary Loomis พูดถึงคันเบ็ด วัสดุ รวมไปถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคแรกๆ ของคันเบ็ดยุคใหม่ครับ

จริงๆ แล้วสำหรับนัก ตกปลา น่าจะเคยได้ยินชื่อคนๆ นี้อยู่แล้ว แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า Gary Loomis คือใครนะ ต้องบอกว่าเขาเป็นบุคคลแรกๆ ที่สร้างคันเบ็ดที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสำคัญที่สามารถนำเอากราไฟท์มาใช้กับคันเบ็ดเลย ถือเป็นบุคคลระดับตำนาน เอาง่ายๆ ถ้าถามใครคือตำนานของการทำเหยื่อปลอม แน่นอนว่านึกได้ชื่อเดียว นั้นคือ “Lauri Rapala” ถ้าถามว่าใครคือตำนานผู้ผลิตคันเบ็ด ก็ต้องนึกถึง “Gary Loomis” แค่ Gary Loomis ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้นเอง

best-pictures-of-rod-loomis นับตั้งแต่ที่มีการใช้กราไฟท์ตัวแรกในการผลิตคันเบ็ด โดยบริษัท “Fenwick” ในช่วงปี ค.ศ 1974 วัสดุชนิดนี้ก็ได้เติบโตขึ้นอย่ามาก และเป็นที่นิยมใช้กับอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก และสิ่งที่มักพบเจอในการแจ้งรายละเอียดของแบงค์ในยุคแรกๆ หรือแม้แต่ตอนนี้ จะเป็นคำว่า IM6, IM7 และ IM8 ตรงนี้หลายคนเข้าใจว่าเป็นเป็นการแจ้งความแตกต่างของมาตรฐานคุณภาพ หรือโมดูลัสที่สูงขึ้นในการผลิตมากกว่า ..?

Gary Loomis ซึ่งเป็นหนึ่งในในทีมงานที่สำคัญที่สุดในโลกของการออกแบบแบงค์กราไฟท์ และยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท “G.Loomis”  เขาได้ตกลงที่จะใช้ความรู้ของเขา เพื่อบอกความเข้าใจกับสิ่งที่เรียกกว่า IM6, IM7 และ IM8

Gary Loomis เริ่มต้นด้วยการอธิบายเกี่ยวกับ  IM6, IM7 และ IM8 ว่าจริงๆ แล้วมันคือหมายเลขทางการค้าที่บริษัท “Hexcel Corp” (ผู้ผลิต Carbon Fiber รายใหญ่ของโลก) ใช้เพื่อระบุผลิตภัณฑ์ของตนเอง มันไม่ได้บอกถึงมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือมาตรฐานวัสดุแต่อย่างใด ถึงแม้ Hexules Fibres ที่ผลิตโดย Hexcel Corp. จะเป็นมาตรฐานที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้เพื่อเปรียบเทียบวัสดุของพวกเขา และความวุ่นวายก็เกิดขึ้นคือเมื่อผู้ผลิตแบงค์มากมายใช้วัสดุที่ผลิตโดย บริษัทอื่น นอกเหนือจาก Hexcel แต่ก็ยังมาระบุว่าแบงค์ของพวกเขาเป็น IM6, IM7 และ IM8 ซึ่งมันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย เมื่อไม่ได้ผลิตโดย Hexcel Corp

ก่อนอื่นนัก ตกปลา ต้องเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าโมดูลัส “Modulus” ที่เกี่ยวข้องกับแบงค์ของคันเบ็ด คำว่าโมดูลัส ไม่ได้เป็นตัวเลขที่ระบุถึงเกรดของวัสดุ แต่โดยทั่วไปมันแสดงถึงความแข็งของวัสดุ ยิ่งโมดูลัสสูงขึ้น วัสดุก็ยิ่งมีความแข็ง มีมลต่อน้ำหนักที่มากขึ้น นั้นคือโมดูลัสที่น้อย ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักน้อย

Gary Loomis กล่าวว่า “คุณต้องจำไว้ว่า น้ำหนักเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการใช้งาน” ความแข็งยังหมายถึงการตอบสนองที่ดี นั้นคือการกักเก็บและปล่อยพลังงานของแบงค์ ยิ่งโมดูลัสสูงแบงค์จะตอบสนองเร็ว และสม่ำเสมอมากขึ้น แน่นอนว่าแบงค์จะมีพลัง และแม่นย่ำมากขึ้นด้วย

Visionary-fishing แต่คุณจะไม่สามารถพูดถึงโมดูลัส โดยไม่รวมถึงอัตราความความเครียด (Strain Rate) หรือความแรงที่วัดได้ของวัสดุ (Measured Strength) ในขณะที่โมดูลัสที่มีเป็นล้านๆ จะมีอัตราความเครียจเป็นพันๆ โดยอัตราความเครียจของคันเบ็ดที่ยอมรับได้สำหรับคันเบ็ดคือ 680,000 หรือสูงกว่า แบงค์ที่ทำจาก “IM6 Hercules Fibers” จะมีโมดูลัส 36 ล้าน และมีอัตราความเครียดอยู่ที่ 750,000

เมื่อแบงค์ใช้วัสดุที่มีโมดูลัสสูงขึ้น อัตราความเครียดก็จะลดลง ส่งผลให้แบงค์ มีโอกาสล้มเหลวได้มากกว่าขึ้น เพราะมันจะเปราะบางกว่า หรือก็คือโมดูลัสสูง หักง่ายกว่านั้นเอง อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางวัสดุ และการออกแบบทางวิศวกรรม บริษัทต่างๆ สามารถผลิตแบงค์ที่มีโมดูลัสสูงๆ ในขณะที่มีอัตราความเครียดสูงได้ แบงค์ระดับสูงๆ รุ่นใหม่ๆ จะมีความอ่อนไหว อัตราการตอบสนองสูง และแข็งแรงมาก

แต่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเปราะบาง นั้นส่งผลเป็นวงกว้าง และสาเหตุนี้เกิดจากโมดูลัสสูงขึ้น ก็จำเป็นต้องใช้วัสดุที่น้อยลง นั้นหมายความว่าความหนาของผนังที่เป็นช่องว่างของแบงค์ ซึ่งปกติจะเป็นท่อกลวง มันจะเป็นทินเนอร์ที่ผิว และคุณจำได้สิ่งที่ฉันได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ “น้ำหนักเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการใช้งาน”

จุดสำคัญของเรื่องนี้คือ เมื่อแบงค์มีความบาง และมีโมดูลัสที่สูง มันจะไม่มีแนวโน้มที่จะถูกทำลายได้ง่ายๆ ในสภาพการใช้งานปกติ แต่แบงค์เกือบทั้งหมดจะถูกทำลายด้วยวิธีคือ ไม่ว่าจะจากการกดทับ ตีโดนวัตถุคือ หรือใช้งานเกินกำลังมากจนเกินไป …ทั้งนี้ในแบงค์สมัยใหม่มีการใช้วัสดุผสมที่เรียกว่า Composite (การผสมกราไฟท์กับไฟเบอร์กลาส) ซึ่งมีการผลิตเช่นนี้จำนวนมาก กับแบงค์ที่มีโมดูลัสปานกลาง (33 ล้าน ถึง 42 ล้าน) และมีอัตราความเครียดสูง (7 แสน หรือสูงกว่า) ทั้งยังได้การตอบสนองที่ไว ความคงทนที่มากขึ้น ด้วยแบงค์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ High-End ของผู้ผลิตแบงค์ แบงค์เหล่านี้จะมีอัตราการตอบสนองที่ไวอย่างที่สุด แน่นอนว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก การใช้งานจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง รวมทั้งการขนส่งด้วย เพราะถ้ามันจะหักก็มีโอกาสก็มักจะไม่ได้หักจากการใช้งานปกติ

เอาละผมขอสรุปสักหน่อยจากบทความนี้ ^ ^ ปกติแล้วเรื่องของ Strain Rate ของคันเบ็ด ยิ่งเยอะสิ่งดี แต่ในทางกับกัน Strain Rate จะเยอะ ก็เมื่อโมดูลัสที่น้อยลง และ Strain Rate ที่ยอมรับได้คือ 680,000 นั้นคือระดับของคันเบ็ดบ้านๆ แต่ด้วยเทโนโลยีการออกแบบแบงค์เลยทำให้รักษา Strain Rate ให้สูงๆ ได้ โดยที่โมดูลัสสูงได้ แต่ไม่มีบริษัทไหนระบุ Strain Rate คันเบ็ดนี้เท่าไรนี้ดิ ^ ^

มีบทความเสริมที่ผมอ่านประกอบมา ตัวแบงค์ระดับ High-End จริงๆ ในเรื่องระดับการตอบสนองต่างๆ ของมัน แทบจะไม่ต่างกัน เพราะมันคือที่สุดแล้ว แต่มันไปตัดสินกันที่ใครประกอบคันเบ็ดได้สมบรูณ์แบบกว่า อย่างที่ผมเคยคุยกับช่างบิวท์คันท่านหนึ่ง ถามไปว่าถ้าแบงค์เดียวกัน คันบิวท์สู้คันสำเร็จได้หรือเปล่า ถ้าเป็นระดับท๊อปเลย ตัวช่างเองยังบอกเลยว่ายากมาก ถ้าช่างไม่ฝีมือจริง ก็ยากที่จะเทียบกันได้

เอาละขอจบเพียงเท่านี้ก่อน ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้าๆ ได้ไม่มากก็น้อย  อย่างน้อยก็น่าจะได้เป็นความรู้รอบตัวนะ ^ ^

Advertisements