กบไฟกระพริบ แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนี้?

หากไม่รู้อะไรและได้เห็นกบตัวนี้ครั้งแรก อาจจะคิดว่ามันแปลกประหลาดสุดๆ แต่ความจริงสาเหตุที่ทำให้กบเป็นเช่นนี้ มันเป็นเรื่องค่อนข้างธรรมดา นั้นเพราะมันเป็นเพียงกบตัวบางๆ ที่กินสัตว์ที่เปล่งแสงได้อย่างหิ่งห้อยเข้าไป แต่นั้นหมายความว่าหิ่งห้อยจะต้องรอดชีวิตอยู่ในท้องกบนานพอด้วยนะ

กบหิ่งห้อย

สัตว์บางชนิดสามารถกลืนเหยื่อของมันเข้าไปทั้งตัวได้ และบางตัวถึงกับกินเหยื่อของมันโดยที่เหยื่อยังมีชีวิตอยู่แม้จะลงท้องไปแล้ว แต่มีสัตว์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถทำแบบนี้ได้ จนทำให้เกิดภาพที่ดูอัศจรรย์ใจเหมือนที่แสดงในคลิป (ท้ายเรื่อง)

ดูเหมือนว่ากบจะกินเหยื่อแบบนี้เป็นอาหารว่างเป็นครั้งคราว แต่ของที่เร่าร้อนนี้จะเป็นอันตรายต่อมันได้หรือไม่? หิ่งห้อยมีลักษณะพิเศษคือแสงกระพริบ ซึ่งเกิดขึ้นในอวัยวะที่เปล่งแสงพิเศษอยู่ในช่องท้องส่วนล่างของหิ่งห้อย อวัยวะประกอบด้วยเอนไซม์ที่เรียกว่าลูซิเฟอเรส (luciferase) ซึ่งเป็นสารเคมีที่รู้จักในชื่อ ลูซิเฟอรินและเอนไซม์อะดีโนซีนไตรฟอสเฟตเรืองแสง (ATP)

เมื่อเติมออกซิเจนลงในส่วนผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่สร้างแสง หิ่งห้อยจะเปล่งประกายด้วยสาเหตุหลายประการที่ต่างกันไปตามสายพันธุ์ รวมถึงอายุของมัน

หิ่งห้อยที่โตเต็มวัยบางตัวใช้รูปแบบแฟลชที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อระบุหิ่งห้อยตัวอื่นๆ จากสายพันธุ์เดียวกัน หรือเพื่อค้นหาว่าหิ่งห้อยตัวใดที่อาจจะเป็นคู่ที่เต็มใจของมัน ..การวิจัยพบว่า หิ่งห้อยตัวเมียมักชอบตัวผู้ที่มีแสงจ้ากว่าและมีรูปแบบการกะพริบเร็วกว่า

อย่างไรก็ตาม แสงยังสามารถใช้เป็นตัวยับยั้งผู้ล่าได้ เช่นเดียวกับรูปแบบที่สดใสของหนอนผีเสื้อที่เป็นพิษ แสงวาบของท้องหิ่งห้อยเป็นสัญญาณไฟเตือนที่บ่งบอกว่าตัวแมลงอาจมีพิษหากรับประทานเข้าไป

Advertisements
ไม่ชัดเจนว่ากบในคลิปจะรอดจากอาหารเรืองแสงได้หรือไม่ บางทีพวกมันอาจโชคดีที่กินหิ่งห้อยหนึ่งในไม่กี่สายพันธุ์ ที่ไม่ได้มีสารลูซิบูฟากินที่อันตรายถึงชีวิต หรือบางทีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหล่านี้อาจพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อสารพิษบางชนิด หรือเป็นไปได้ว่าอาหารของพวกมันยังสดเกินกว่าจะเป็นพิษได้ .. กดเพื่อดูคลิป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements