จากการสำรวจขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ ณ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ โดยทีมนักวิจัยจาก พิพิธภัณฑ์สิรินธร สำนักงานทรัพยากรเขต 2 กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำให้ค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ปลาปอด ที่ประกอบด้วย ชิ้นส่วนของกะโหลก และแผ่นฟัน ซึ่งคาดว่าเป็นชิ้นส่วนจากปลาตัวเดียวกัน
จึงได้ตั้งชื่อปลาปอดที่พบที่ภูน้อย เป็นปลาปอดชนิดใหม่ของโลก ชื่อ เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป (Ferganoceratodus annekempae) ซึ่งชื่อชนิดตั้งเป็นเกียรติให้กับ ดร.แอน เคมป์ ผู้เชี่ยวชาญปลาปอดของโลก
ดังนั้นการค้นพบปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป ณ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ ภูน้อย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงมีความสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก
สำหรับแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย อยู่ในพื้นที่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในหมวดหินภูกระดึง กลุ่มหินโคราช ยุคจูแรสซิกตอนปลาย มีอายุประมาณ 150 ล้านปี เป็นแหล่งที่มีการสำรวจขุดค้นมามากกว่า 10 ปี
มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่หลากหลาย เช่น ฉลามน้ำจืด ปลากระดูกแข็ง ปลาปอด เต่า จระเข้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เทอโรซอร์ และไดโนเสาร์ ถือว่าเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก และจัดว่าเป็นแหล่งที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้
ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศให้พื้นที่ภูน้อยเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ขึ้นทะเบียนของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณี จะจัดแถลงข่าวในเรื่องนี้ อย่างเป็นทางการต่อไป
การุณยฆาต “ปลาปอด” อายุกว่า 90 ปี
เพิ่มเติมเกี่ยวกับปลาปอด
ปลาปอด (อังกฤษ: Lungfish, Salamanderfish, Amphibious fish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อย Dipnoi เป็นปลาเพียงจำพวกเดียวในโลกที่ยังมีการสืบสายพันธุ์จนปัจจุบันนี้ที่หายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ
1. ปลาซีลาแคนท์
2. ปลาปอดแอฟริกาและปลาปอดอเมริกาใต้
3. ปลาปอดออสเตรเลีย
ปลาปอดทั้งหมดมีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล ยกเว้นปลาปอดออสเตรเลีย ซึ่งแยกย่อยไปอีกกลุ่ม ถือเป็นหลักฐานและร่องรอยของการวิวัฒนาการของปลาที่พัฒนามาเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลาปอดนั้นมีกระดูกครีบอกคู่ที่เทียบได้กับแขนขาของสัตว์ชั้นสูง มีแกนยาวและมีกล้ามเนื้อประกอบชัดเจน
เมื่ออยู่ในน้ำหรือบนบกที่ชื้นแฉะจะใช้คืบคลานคล้ายสัตวครึ่งบกครึ่งน้ำ หางมีลักษณะเป็น Diphycercal เกล็ดเป็น Cosmoid ภายในลำไส้มีแผงเนื้อที่วางตัวเป็นเกลียวตามความยาวลำไส้ ชื่อของปลาปอดมีที่มาจากปลาชนิดนี้มีกระเพาะลมหนามาก อยู่ใกล้สันท้อง (เทียบได้กับหน้าอก)
และมีท่อเชื่อมกับส่วนล่างทางด้านหน้าของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่เป็นปอดคอยดูดซับออกซิเจนและกำจัดขยะ ในขณะที่ปลาทั่วไปในส่วนนี้จะทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวในขณะที่ปลาว่ายน้ำ กินอาหารได้หลากหลาย กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำและสามารถขบกัดสัตว์มีกระดองได้เป็นอย่างดี เพราะมีกรามและฟันที่แข็งแรง
นอกจากนี้ปลาปอดยังมีระบบจมูกที่แตกต่างจากปลาทั่วไป คือมีท่อเชื่อมกับช่องปาก ในปลาปอดยุคใหม่ (ปลาปอดแอฟริกา และ อเมริกาใต้) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แม้ในช่วงที่แหล่งน้ำที่มันอาศัยแห้งขอด โดยจะขุดโพรงในโคลนและปิดผนึกโพรงนั้นไว้ด้วยเมือก ในระหว่างนั้นจะหายใจเอาอากาศโดยตรงผ่านทางถุงลมและจะลดการเผาผลาญพลังงาน อย่างรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นปลาปอดก็สามารถจมน้ำตายได้หากไม่สามารถขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำได้
ปลาปอดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ใหญ่ ๆ คือ ปลาปอดยุคเก่า คือ ปลาปอดออสเตรเลีย (Ceratodontidae) ซึ่งพบเฉพาะประเทศออสเตรเลียบริเวณรัฐควีนส์แลนด์เท่านั้น และปลาปอดยุคใหม่ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์อีก คือ ปลาปอดแอฟริกา (Protopteridae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ชนิด 1 สกุล พบในหนองน้ำทวีปแอฟริกาเท่านั้น และปลาปอดอเมริกาใต้ (Lepidosirenidae) พบทั้งหมด 1 สกุลและ 1 ชนิด เท่านั้น
โดยทั้งหมดจะมีพฤติกรรมที่คล้ายกันคือ สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ บางวงศ์สามารถขุดรูจำศีลใต้ดินได้ในฤดูแล้ง และอาศัยอยู่ในหนองน้ำหรือแหล่งน้ำที่ไม่ค่อยสะอาดหรือมีปริมาณออกซิเจนมากนัก
อ่านเรื่อง : การุณยฆาต ปลาปอด อายุกว่า 90 ปี