หลายคนอาจกำลังคิดว่า “เดี๋ยวก่อนนะ? ฉันไม่เคยคิดถึงเรื่องที่ว่าไดโนเสาร์มีสะดือ” แต่การค้นพบล่าสุดนี้ถือเป็นหลักฐานแรกของรอยดังกล่าว มันอยู่บนซากของสัตว์ยุคซีโนโซอิก (Cenozoic) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก หรือสัตว์เลื้อยคลาน ..งานวิจัยนี้อยู่ใน BMC Biology
การเก็บรักษาตัวอย่างของซิตตะโกซอรัสเอาไว้อย่างดี เป็นส่วนช่วยให้พบสะดือดังกล่าว โดยตัวอย่างนี้ค้นพบที่ประเทศจีน ปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่สถาบันวิจัย Senckenberg และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแฟรงก์เฟิร์ต และมันถูกเรียกว่า SMF R 4970
Michael Pittman ผู้เขียนการศึกษากล่าวว่า “ตัวอย่างนี้เป็นไดโนเสาร์ Ceratopsian Psittacosaurus ซึ่งเป็นญาติตัวแรกของไทรเซราทอปส์ (Triceratops)
มันเป็นฟอสซิลที่ถูกอธิบายครั้งแรกในปี 2002 แต่มันก็ไม่ได้มีอะไรคืบหน้ามากนัก จนตอนนี้นักวิจัยสามารถถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงได้ ซึ่งมันช่วยให้สามารถสร้างตัวอย่างที่สมบรูณ์ได้ ด้วยสิ่งนี้ทำให้สามารถระบุความผิดปกติอย่างเช่นสะดือได้
และในฐานะสะดือที่เก่าแก่ที่สุด ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี สะดือของซิตตะโกซอรัส ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าที่มันเก่าแก่ เพราะมันมีสะดือที่ยาวมาก และสะดือแบบนี้ก็ไม่เคยพบมาก่อนในอาณาจักรสัตว์
มีตัวอย่างมากมายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมถึงมนุษย์) ที่เก็บสะดือเอาไว้ตลอดชีวิต .. สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เช่น งูและกิ้งก่า ยังคงมีรอยแผลเป็นจากอดีตในช่วงที่อยู่ในไข่ สำหรับงูบางครั้งสิ่งนี้จะแสดงเป็นรอยพับ
แต่สะดือของซิตตะโกซอรัส นั้นคล้ายกับกิ้งก่ามากที่สุด โดยแสดงเป็นเกล็ดคู่ที่มีขนาดใหญ่กว่าและผิดรูปเมื่อเทียบกับเกล็ดที่อยู่รอบๆ โดยขยายไปตามเส้นกึ่งกลางของผนังช่องท้อง แต่เพราะเหตุใดแผลเป็นที่สะดือของซิตตะโกซอรัส จึงยังคงอยู่? และนี่ก็คือสิ่งที่เราต้องค้นหาต่อไป