ความกดดันที่รุนแรง นำไปสู่หนึ่งในอุบัติเหตุที่น่ากลัวที่สุดในประวัติศาสตร์

ในการดำเนินการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งจำเป็นต้องมีการก่อสร้างและบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ระดับความลึกมากๆ ซึ่งมักจะเกิน 50 เมตรไปจนถึงพื้นทะเล สำหรับนักดำน้ำที่ลงมาลึกระดับนี้พวกเขาจะต้องลงและขึ้นไปอย่างระมัดระวังโดยค่อยๆ ปรับความดันและค่อยๆ ขึ้นไป ไม่งั้นจะเจอกับอาการบาดเจ็บและป่วยจากการแรงดันที่เปลี่ยนไปได้

อาการป่วยจากการแรงอัดน้ำนั้นเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของการดำน้ำ เมื่อนักดำน้ำลงไปในความลึก แรงกดรอบตัวจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ำหนักของมหาสมุทรที่กดลงบนร่างกายของพวกเขา ก๊าซเช่นไนโตรเจนจะถูกหายใจเข้าไปจนกว่าเนื้อเยื่อของนักดำน้ำจะอิ่มตัว

ซึ่งหมายความว่าก๊าซเหล่านี้จะละลายอยู่ภายในเนื้อเยื่อและเลือด จนถึงจุดที่มีความเข้มข้นเดียวกันกับส่วนผสมของการหายใจ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดจากแรงกดดัน ดังนั้นนักดำน้ำจึงต้องปรับตัวเมื่อพวกเขาต้องดำขึ้นหรือลง

ถ้าเกิดว่านักดำน้ำทำไม่ถูกต้อง ผลที่ตามมาก็จะน่ากลัวมาก อาการจากการบีบอัดจะเกิดขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงของความดันเกิดขึ้นเร็วเกินไป ส่งผลให้ไนโตรเจนละลายจนเกิดฟองในเนื้อเยื่อและเลือด ภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก มีอาการอัมพาตและถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยวิธีแก้อีกอย่างคือการใช้ห้องปรับความดัน

ดังนั้นสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ ที่ต้องทำงานกับอุปกรณ์ที่อยู่บนพื้นทะเลเกือบตลอดเวลา จะหลีกเลี่ยงการรอคอยเป็นเวลานานได้อย่างไร ในขณะที่นักดำน้ำต้องปรับตัวให้เข้ากับแรงกดดัน

ในปี 1957 กองทัพเรือสหรัฐฯ พบวิธีแก้ปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรง โดยให้นักดำน้ำอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมากตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

การดำน้ำแบบต่อเนื่อง (Saturation Diving)

Advertisements

โดยปกติอากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจจะมีไนโตรเจน 78% ซึ่งหากไนโตรเจนได้รับความดันมากๆ มันจะกลายเป็นก๊าซพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทและการตัดสินใจได้ ดังนั้นหากนักดำน้ำคนใดต้องการดำลงไปที่ระดับความลึกมากกว่า 30 เมตร (ระดับที่ความดันเริ่มสูง) ก็จะต้องผสมก๊าซฮีเลียมลงไปในถังอากาศที่ใช้หายใจเพื่อป้องกันอาการเมาไนโตรเจนนั่นเอง

การหายใจเอาอากาศที่เป็นส่วนผสมเฉพาะนี้ จะทำให้มีอาการหนาวสั่นทั่วร่างกาย เนื่องจากฮีเลียมจะมีภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์หลายอย่าง ที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับความลึกที่รุนแรงเป็นเวลานาน ควบคู่ไปกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเกือบตลอดเวลา

มีการบังคับใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดหลายประการ เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาเหล่านี้ ตั้งแต่เวลาในการดำน้ำไปจนถึงการให้หยุดพัก ความเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลให้การดำน้ำแบบต่อเนื่อง กลายเป็นงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญที่สุดงานหนึ่งในโลก โดยมีไม่ถึง 400 คนที่ได้รับการว่าจ้างในบทบาทนี้ในปี 2015 ในสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตามในขณะที่การดำน้ำแบบต่อเนื่องนั้นปลอดภัยกว่าที่เคยเป็นมาก แต่การเคลื่อนไหวที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวจะอันตรายถึงชีวิตได้ทันที “ตัวอย่างที่เลวร้ายที่สุดคืออุบัติเหตุแท่นขุดเจาะ Byford Dolphin”

หายนะแท่นขุดเจาะ Byford Dolphin

นี่เป็นขั้นตอนประจำวัน ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องน่าธรรมดาของแท่นขุดเจาะน้ำมัน Byford Dolphin ในวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 1983 นักดำน้ำสี่คนกำลังกลับจากการดำน้ำและไปยังห้องปรับความดัน

ประกอบด้วยห้องที่ 1 ซึ่ง Edwin Coward และ Roy Lucas กำลังพักผ่อนและห้องที่ 2 ที่ Bjørn Bergersen และ Truls Hellevik เข้ามาหลังเสร็จภารกิจ ห้องที่ 2 เชื่อมต่อกับระฆังดำน้ำซึ่งตัวระฆังจะยึดด้วยตัวยึดซึ่งดำเนินการโดยนักดำน้ำสองคนคือ William Crammond และ Martin Saunders

Advertisements
ในสถานการณ์เหล่านี้ความดันจะต้องสมดุลกัน เพื่อให้แน่ใจว่าระฆังดำน้ำสามารถถอดออกจากระบบห้องได้ ผู้ควบคุมที่เป็นผู้รับผิดชอบในขั้นตอนซึ่งควรดำเนินการดังนี้

  1. ประตูระฆังดำน้ำปิด
  2. เพิ่มความดันในระฆังดำน้ำเพื่อปิดประตู
  3. ห้องที่ 1 ถูกปิดจากลำส่วนฐาน
  4. ความดันจะปรับให้เข้ากับห้องที่ 1
  5. ปลดระฆังดำน้ำออก

แม้จะมีประสบการณ์ในขั้นตอนนี้มานาน แต่ Crammond ก็ไม่คาดว่าจะเกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงขึ้น ระหว่างขั้นตอนที่ 2 และ 3 ในขณะที่ประตูห้องกำลังปิด Crammond ได้ปล่อยที่หนีบระฆังดำน้ำโดยไม่คาดคิด มันส่งผลให้ความดันต่างกันมากเกิน

ผลที่ตามมาคือแรงบีบอัดมหาศาล นักดำน้ำทั้งสี่คนต้องเผชิญกับความดันที่มากเกินกว่าที่ร่างกายมนุษย์จะทนได้ ส่งผลให้พวกเขาเสียชีวิตในทันที โดยอากาศที่พุ่งออกจากลำตัวทำให้ระฆังดำน้ำหลุดจากตำแหน่งและกระแทกใส่เจ้าหน้าที่สองคนทำให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเสียชีวิตหนึ่งรายและบาดเจ็บอีกราย

“เจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เข้าไปได้บรรยายภาพที่เห็นว่ามันน่าสยดสยองอย่างมาก “แรงอัดนั้นบีบร่างกายพวกเข้าผ่านช่องที่มีความกว้างเพียง 60 ซม. ทำให้อวัยวะภายในและชิ้นส่วนร่างกายกระจายไปถึง 10 เมตร เจ้าหน้าที่ยังบอกว่าอวัยวะภายในยังอยู่ในสภาพสมบรูณ์อย่างมาก มันเหมือนกับถูกผ่าออกมาจากร่างกาย”

เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงหายนะครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการก่อตั้ง North Sea Divers Allance ซึ่งก่อตั้งโดยเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง และครอบครัวของผู้เสียชีวิต ถึงแม้มันจะโดนระบุได้ว่าเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ แต่ทาง NSDA ได้ยื่นฟ้องโดยอ้างว่าอุปกรณ์ไม่พร้อม หลังจากการต่อสู้มานาน 26 ปี ในที่สุดครอบครัวก็ได้รับเงินชดเชยจากหายนะครั้งนี้

*เนื่องจากภาพเหตุที่เกิดเหตุอาจน่ากลัวเกินไป หากอยากดูสามารถหาดูรูปโดยหาคำว่า Byford Dolphin 1983

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements