ปลาหมอแคระพม่า พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนไทยและลาว

ในไทยอาจจะมีปลาหมอแคระอยู่หลายชนิด แต่ก็มีไม่กี่ชนิดที่สวย โดยปลาหมอแคระพม่าจัดเป็นปลาหมอที่พบได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมันตัวเล็ก และมีพบได้บางพื้นที่เท่านั้น

ปลาหมอแคระพม่า

ปลาหมอแคระพม่า หรือ ปลาหมอแคระแดง (Burmese badis) ชื่อวิทยาศาสตร์ Badis ruber เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอแคระ (Badidae)

มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอแคระขี้เซา (B. siamensis) แต่ส่วนหัวสั้นกว่าเล็กน้อย มีจุดสีดำบนครีบหลังเป็นจุดใหญ่กว่า ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง และมีจุดสีแดงคล้ำหรือแดงสดในทุกเกล็ดสลับกับจุดสีฟ้าเหลือบ โคนหางด้านบนมีจุดสีคล้ำจุดใหญ่ ครีบหลังมีแถบสีคล้ำอมม่วงและแดง มีขลิบสีจาง

ปลาหมอแคระพม่า มีขนาดเล็กมาก มันมีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วเป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์เฉพาะในลำธารหรือริมฝั่งแม่น้ำที่ตื้นของลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนในแถบประเทศไทยและลาวเท่านั้น

เป็นปลาที่มักซ่อนตัวเองอยู่ใต้ใบไม้ร่วงใต้น้ำหรือซอกหลืบหิน วางไข่ไว้ในโพรงไม้ กินแพลงก์ตอนสัตว์หรือตัวอ่อนของแมลงน้ำเป็นอาหาร และจัดเป็นปลาที่พบได้น้อย และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่ไม่พบบ่อยนักในวงการปลาสวยงาม

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements