อึ่งกรายหัวแหลม ในประเทศไทยถูกเรียกขานในหลายชื่อ อาทิเช่น อึ่งกรายหัวแหลม, อึ่งกรายจมูกแหลม, อึ่งกราย/กบตาหนาม เป็นต้น ด้วยความโด่นเด่นมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนอึ่งทั่วๆ ไป อึ่งกรายหัวแหลม ยังถูกยกให้เป็น 1 ใน 4 ของแสตมป์ชุดสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จัดสร้างโดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) อีกด้วย
สถานที่พบอึ่งกรายหัวแหลม
พื้นที่ป่าสมบูรณ์เขตอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อาทิ ผืนป่าฮาลา-บาลา อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า อุทยานแห่งชาติบางลาง เป็นต้น
เนื่องจากผืนป่าเหล่านี้ ลักษณะภูมิอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูงทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ส่งผลให้พบความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งชนิดพรรณพืชและสัตว์ป่าสูง ขอบคุณพี่พริษฐ์ นราสฤษฎ์กุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ที่เอื้อเฟื้อภาพอึ่งกรายหัวแหลม ซึ่งเจ้าหน้าที่ถ่ายได้ระหว่างทำการลาดตระเวนเชิงคุณภาพปกป้องผืนป่าเขาน้ำค้าง
ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช – 8 ต.ค.2564
ข้อมูล : – กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ
-สถานีวิจัยสัตว์ป่าป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา
-บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (2557)
-การสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่ดงดาหลา อุทยานแห่งชาติบางลาง
(ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี 2563)
ภาพ : ขอขอบคุณหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง เอื้อเฟื้อภาพ