แมงมุมปูขี้นกที่อาศัยอยู่ในป่าฝนเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันมีรูปลักษณ์และกลิ่นตรงตามชื่อของมัน เป็นแมงมุมที่มีลักษณะคล้ายปูขนาดเล็ก ลำตัวค่อนข้างกว้างและแบน ขาทั้ง 4 คู่ยื่นออกไปทางด้านข้างของลำตัว โดยขาสองคู่หน้ามีขนาดใหญ่และยาวกว่าขาสองคู่หลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสีค่อนข้างอ่อนหรืออาจมีสีที่ใกล้เคียงกับพื้นหลัง ทั้งนี้เพื่อเป็นการพรางตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แมงมุมกลุ่มนี้จะไม่สร้างใยเพื่อดักจับเหยื่อ แต่จะซุ่มโจมตีเหยื่ออยู่บริเวณดอกไม้ ใบไม้ พื้นดิน
จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อเดือน กรกฎาคม 2021 ใน Current Zoology ระบุว่า ส่วนที่เป็นขี้ของแมงมุมจะดึงดูดเหยื่อไปพร้อมๆ กับที่มันขับไล่นักล่าได้เช่นกัน
โดยการวิจัยก่อนหน้านี้ตั้งสมมติฐานว่า การปลอมตัวของแมงมุมปู สามารถดึงดูดแมลงที่โชคร้ายได้ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีใครมีหลักฐานการทดลอง ถึงกระนั้น แนวคิดนี้ก็สมเหตุสมผล เพราะสำหรับแมลงหลายชนิด ขี้นกเป็นแหล่งสารอาหารที่น่าดึงดูดใจ ทั้งยังเหมาะใช้เป็นบ้านและวางไข่ แมงมุมปูยังเป็นสัตว์กินเนื้อแบบนั่งรอ โดยเลือกที่จะซุ่มโจมตีเหยื่อที่ไม่สงสัยเดินตกลงมาบนใบไม้ของพวกมัน
“พวกมันอาจนั่งรอนานกว่า 12 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น เพื่อให้เหลือหลงเข้ามา ..บางครั้งพวกมันก็อยู่ที่นั่นตลอดชีวิต”
เพื่อทดสอบสมมติฐาน นักวิจัยได้บันทึกภาพแมงมุมในป่าที่นั่งอยู่บนยอดใบไม้ แล้วจึงเปรียบเทียบดูว่าแมลงจะถูกดึงดูดโดยขี้นกของจริงหรือแมงมุมปูขี้นกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
ผลคือแมลงมาหาทั้งแมงมุมและขี้นกในอัตราที่สูงกว่าใบไม้ที่ว่างเปล่าอย่างมีนัยสำคัญ แมงมุมดึงดูดแมลงโดยเฉพาะแมลงวัน แม้ว่าขี้นกของจริงจะดึงดูดในอัตราที่สูงขึ้น
จากนั้นเพื่อทดสอบว่าการผสมสีที่เป็นเอกลักษณ์ของแมงมุม เพื่อให้ทราบว่ามันเป็นกุญแจสำคัญในการหลอกแมลงบางชนิดหรือไม่ นักวิจัยจึงใช้สีน้ำที่ไม่มีกลิ่นเพื่อควบคุมสีของแมงมุม ..ผลคือ แมงมุมที่ทาสีขาวหรือสีดำทั้งหมดจะดึงดูดแมลงได้น้อยกว่าแมงมุมที่ไม่ได้ทาสี หรือตัวที่ทาสีด้วยสีเดียวกับที่เคยเป็น นั้นหมายความว่า การที่ดูเหมือนขี้นกจริงๆ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการหลอกลวง
ยังสัตว์อื่นที่วิวัฒนาการมาเพื่อปลอมตัวเป็นสิ่งที่กินไม่ได้ หรือเป็นไม่มีชีวิตเพื่อป้องกันนักล่า อย่างตัวอ่อนของมอดหนามที่ดูเหมือนกิ่งไม้และผีเสื้อใบไม้ที่ตายแล้วก็ดูเหมือนใบไม้ที่ตายแล้ว แต่นักวิจัยไม่ค่อยได้ตรวจสอบว่าเทคนิคการใช้สีของพวกมัน สามารถทำหน้าที่หลายอย่างในสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ “ในอนาคต เราจะเห็นอีกหลายกรณีที่ทั้งสีสันหรือลวดลายจะใช้เพื่อรับและรุก”