จนถึงปัจจุบัน มีการยืนยันการพบเห็นเซฟาโลพอด (สัตว์ประเภทหมึก) ใต้ทะเลลึกน้อยกว่า 20 ครั้ง หรือที่รู้จักในชื่อปลาหมึกบิ๊กฟิน (Magnapinna) และการพบเห็นครั้งล่าสุดนี้เพิ่มอีกหนึ่งในรายการการพบเห็น ตามคำแถลงของ NOAA Ocean Exploration
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ค้นพบหมึกที่ลึกลับในการสำรวจ Windows to the Deep 2021 ซึ่งเป็นการสำรวจโดยใช้ยาน ROV (ยานไร้คนขับ) ทางตะวันออกเฉียงใต้และเป็นการทำแผนที่ในบริเวณนั้น
ในระหว่างที่ทีมสำรวจพื้นที่น้ำลึกที่ไม่ค่อยมีคนสำรวจในมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันตก นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ขณะถ่ายภาพใต้น้ำใกล้กับบริเวณ West Florida Escarpment ซึ่งเป็นเนินสูงชันบนพื้นทะเลที่แยกน่านน้ำชายฝั่งทะเลตื้นออกจากอ่าวเม็กซิโกที่ลึกมาก “ทีมงานสังเกตเห็นบางอย่างว่ายผ่านยาน ROV”
ในคลิปวิดีโอนี้ เผยให้เห็นปลาหมึกบิ๊กฟิน (Bigfin squid) ที่สง่างาม หนวดที่กางออกด้านหลัง และส่วนที่เหมือนครีบขนาดใหญ่ซึ่งยื่นออกมาจากส่วนหลักของร่างกาย เรียกว่าเสื้อคลุม กระเพื่อมอย่างนุ่มนวลในน้ำ คล้ายกับครีบของกระเบน เสื้อคลุมโปร่งใสของหมึก ซึ่งปรากฏเป็นสีเหลืองและสีชมพูอ่อนเมื่อกระทบแสงจากยาน ROV
Mike Vecchione นักสัตววิทยาด้านการวิจัยกับสถาบัน NOAA Fisheries National Systematics Laboratory และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ Smithsonian กำลังชมภาพ ROV ขณะถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม ขณะที่ปลาหมึกตัวใหญ่เข้ามาพอดี
เขาและริชาร์ด อี. ยัง แห่งมหาวิทยาลัยฮาวายได้บรรยายถึงตระกูลหมึกบิ๊กฟินเป็นครั้งแรกในปี 1998 เรียกอีกชื่อว่าแม็กนาพินนิดี ตามรายงานในวารสารวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งแอฟริกาใต้ ตั้งแต่นั้นมา ได้มีการอธิบายปลาหมึกบิ๊กฟินว่ามีถึงสามสายพันธุ์ แต่อาจมีปลาหมึกบิ๊กฟินอีกหลายสายพันธุ์รอการค้นพบ ..ตามคำแถลงของ NOAA
หมึกบิ๊กฟินว่ายน้ำอยู่ใต้พื้นผิวมหาสมุทรที่ความลึกประมาณประมาณ 7,825 ฟุต (2,385 เมตร) แต่ในอดีต หมึกบิ๊กฟินเคยพบเห็นได้ที่ความลึกถึง 15,535 ฟุต (4,735 ม.) สมาชิกของตระกูลบิ๊กฟินกระจายอยู่ทั่วไปในระบบนิเวศใต้ทะเลลึกของโลก แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าพวกมันทั้งหมดมีกี่ตัวเนื่องจากเห็นไม่บ่อยนัก
ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าเห็นปลาหมึก 5 ตัวอยู่ใกล้ Great Australian Bight ซึ่งเป็นอ่าวขนาดใหญ่ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพบเห็นปลาหมึกยักษ์ในน่านน้ำของออสเตรเลีย