แต่วิธีการตีสายแบบนี้จะไม่ค่อยได้ผลทางความแม่นยำอย่างเป็นที่น่าพอใจนัก ถ้าต้องการเน้นเรื่องความแม่นจำและตีออกไปยังหมายในระยะใกล้ๆ วิธีการตีสายแบบทอดแขนลงข้างล่างหรือทยอยเหยื่อออกไปจะได้ผลดีที่สุด ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความแม่นยำสูงแล้ว ยังเป็นวิธีการที่ทำให้เราสามารถเหวี่ยงเหยื่อลอดผ่านสิ่งกีดขวางเช่นกิ่งไม้ที่ระเกะระกะอยู่เบื้องหน้า ออกไปตกลงยังช่องว่างที่มีพื้นที่จำกัด ได้โดยง่ายอีกด้วย
ส่วนข้อดีประการอื่นก็คือไม่จำเป็นต้องออกกำลังแขนมาก และอาการเคลื่อนไหวของคันเบ็ดไม่มากเหมือนวิธีตีสายแบบแรกซึ่งอาจทำให้ฝูงปลามองเห็นและว่ายแตกตื่นหนีไปถ้าตกอยู่ในสภาพน้ำใส สำหรับในแหล่งน้ำที่กว้างใหญ่อย่างเช่น ตามอ่างเก็บน้ำหรือทะเลสาบ การตีเหยื่อข้ามศีรษะทั้งแบบมือเดียวและสองมือ จะทำให้สามารถีเหยื่อออกไปได้ไกลขึ้นแต่ก็ทำให้ความแม่นยำลดน้อยลง
การยกและลดคันเบ็ด
เมื่อเหวี่ยงเหยื่อออกไปตกลงสู่พื้นน้ำแล้ว เชื่อว่ามีนักตีสปินอยู่หลายคนที่รีบลดคันเบ็ดลงให้ปลายคันชี้ไปยังพื้นน้ำในแนวเดียวกับสายเบ็ดทันที เมื่อกรอสาย ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่เพียงแต่จะลดความรู้สึกที่ถ่ายทอดมาตามเบ็ดได้น้อยลงแล้ว ยังทำให้โอกาสที่ปลาจะเข้าสไตร์ค์เหยื่อช้าลงด้วย หลักการที่ถูกต้องคือลดคันเบ็ดลงให้ทำมุมกับสายเบ็ดประมาณ 120-140 องศาซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้เรารับความรู้สึกที่ผ่านมาตามคันเบ็ดได้ดีขึ้น และยังทำให้แอ็คชั่นของเหยื่อเรียกร้องปลาให้เข้าสไตร๊ค์ได้เร็วขึ้นอีกด้วย
แต่วิธีการดังกล่าวก็ยังไม่เป็นเทคนิคที่สมบูรณ์เพียงพอ การที่จะทำให้อ็คชั่นของเหยื่อมีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกจะต้องยกและลดคันเบ็ดไปในแนวดิ่งสลับกันไปเป็นระยะๆ เพื่อให้เส้นทางว่ายของเหยื่อเป็นแบบฟันเลื่อย เพิ่มรัศมีเรียกร้องความสนใจให้เป็นแนวกว้างขึ้น ถ้าถ้าลากเหยื่อในแหล่งน้ำไกลตามแม่น้ำลำคลอง แนวฟันเลื่อนจะส่ายออกไปไม่กว้างนัก แต่ยังคงแอ็คชั่นการสะบัดตัวแนบเหยื่อจริง ถ้าลากเหยื่อในแหล่งน้ำลึก แนวว่ายจะมีรัศมีกว้างกว่าและแอ็คชั่นของเหยื่อจะอ่อนพลิ้วและดำได้ลึกกว่า
ในสภาพพื้นน้ำใสที่เรามองเห็นสิ่งกีดขวางในน้ำได้อย่างชัดเจนและในบริเวณที่พ้นใต้น้ำมีระดับสูงต่ำไม่เท่ากัน การยกคันขึ้นอย่างเร็วจะทำให้เหยื่อว่ายข้ามโขดหินหรือสันดอนใต้น้ำได้ และถ้ายกคันขึ้นช้าๆ เหยื่อก็จะว่ายลอยข้ามเนินเตี้ยๆ ในทางตรงกันข้ามคือการลดคันลงก็จะทำให้เหยื่อลงไปดำอยู่ในหลุมหรือในร่องน้ำลึก และนี่ก็เป็นอีกทริคหนึ่งที่จะทำให้ความสำเร็จของเพื่อนนักตีสปินมีโอกาสสูงขึ้น
การลากเหยื่อแบบโยกคันไปซ้ายขวา
ถือเป็นอีกพื้นฐาน ที่นักตกปลามือใหม่ต้องเรียนรู้ เพราะทุกคนคงรู้จักวิธีการหลบเหลี่ยงจากสิ่งกีดขวางที่มองเห็นในพื้นน้ำแล้วว่า จะต้องใช้วิธีโยกคันไปทางขวาหรือซ้าย แต่การลากเหยื่อแบบนี้ไม่ใช่จะมีผลดีเฉพาะการหลบเลี่ยงจากกึ่งไม้ตอไม้เท่านั้น แม้ใจสภาพแหล่งน้ำเปิดโล่งปราศจากสิ่งกีดขวาง การโยกคันไปมาในแนวระดับ ลากเหยื่อให้มีแนวว่ายแบบซิกแซ็กไปทางซ้ายทีขวาที ยังมีผลในการเพิ่มแรงดึงดูดความสนใจแก่ฝูงปลา ล่าเหยื่อได้มากกว่าการลากเหยื่อเข้ามาในแนวตรงๆ
แน่นอนว่ามีเหยื่อปลอมมากมาย จำเป็นต้องสร้างแอคชั่นด้วยวิธีนี้ โดยเฉพาะเหยื่อผิวน้ำ จำพวกเพนซิล พวกแอคชั่น Dog Walk อย่างเช่น Jack All Water Monitor แม้แต่เหยื่อปลั๊ก ก็มีหลายตัวที่ต้องใช้สร้างแอคชั่นด้วยวิธีนี้เช่นกัน
ความเร็วในการลากเหยื่อ
ถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้วไม่มีหลักการที่ถูกต้องแน่นอนที่สามรถกำหนดได้ว่าเราจะกรอสายด้วยความเร็วเท่าใดในการตกปลาชนิดใด เพราะมีแฟคเตอร์สำคัญหลายประการที่เราจะต้องนำมาพิจารณาประกอบ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วและความแรงของกระแสน้ำ มุมของสายเบ็ดที่สัมพันธ์กับกระแสน้ำ (ลากเหยื่อตามน้ำ) ความลึก ชนิดและขนาดของสปินเนอร์ แอคชั่นของเหยื่อ การสร้างแอ็คชั่นของเหยื่อให้สอดคล้องกับระดับความดุของปลาเป็นต้น แล้ะดวยแฟคเตอร์ทั้งหมดนี้ความเร็วในการกรอสายจะขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของตัวนักตีสปินเองว่า ต้องการให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของเหยื่อหรือจากใบสปินมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าใครมีวิจารณญาณมีวิจารณญานในเรื่องนี้ จะสามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วในการลากเหยื่อให้ถูกต้องกับสภาพการณ์นั้นๆ ได้ ด้วยเหตุนี้เองในฉบับที่แล้วจึงได้เน้นถึงเคล็ดลับในการตีสปินทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจเอาไว้ก่อน
แต่ถ้าใครยังไม่สามารถแปลความหมายจากตัวเหยื่อที่ถ่ายทอดมาตามสายและคันเบ็ดได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องทดลองลากเหยื่อด้วยความเร็วที่แตกต่างกันสลับไปเรื่อยๆ เช่นลากเร็วๆ ในช่วงสั้นๆ และลากช้าๆ เป็นระยะทางยาว และถ้าลากช้าลากเร็วก็ยังไม่มีการเข้าสไตร๊ค์อีก วิธีการขั้นสุดท้ายก็คือลากเหยื่อด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่จะเร็วได้ และถ้ายังเกิดผลเหมือนเดิมที่ไร้ซึ่งความสำเร็จ คุณก็ต้องเปลี่ยนมาใช้สปินเนอร์ตัวใหม่หรือเปลี่ยนขนาดของใบสปินใหม่ แล้วทอลองทำตามวิธีการเช่นเดิม
แอ๊คชั้นแบบผสม
ในที่สุด เพื่อนักตกปลาที่ตีสปินทุกคนคงรู้จักกับเคล็ดลับในการลากเหยื่ออย่างละเอียดแล้ว คือจะต้องใช้การเคลื่อนไหวของคันเบ็ดหรือการโยกคันเข้าช่วยด้วย (โดยเฉพาะในแหล่งน้ำนิ่ง) ไม่ใช่ถือคันนิ่งๆ ยืนกรออย่างเดียว การยกคันขึ้นเพื่อ “ดึง” เหยื่อขึ้นมาจะต้องทำพร้อมไปกับการเร่งความเร็วในการกรอสาย หรือจะลดความเร็วให้ช้าลงจนถึงจุดที่เหยื่อใกล้หมดแอ็คชั้นได้ ในทำนองเดียวกันเมื่อลดคันเบ็ดลงถ้าเรากระวิธีในทางตรงกันข้าม แอ็คชั้นของเหยื่อก็จะเกิดขึ้นในลักษระที่คล้ายๆ กัน
การนำเอาแฟคเตอร์ทั้งหมดมาพิจารณารวมกันนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ถ้าเราค่อยๆ ใช้ความพยายามทีละเล็กละน้อย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจในที่สุด ความเฉียบไวในการรับความรู้สึกของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่จะทำให้เพื่อนนักตกปลาเกิดสัญชาตญาณสนองตอบในทันทีทันใด เพื่อให้ตรงกับ “ความต้องการ” ของเหยื่อ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรามีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ก็จะทำหสามารถคาดเดาได้ถึงความต้องการล่วงหน้าของเหยื่อและการควบคุมแอ๊กชั่นที่จะต้องทำไม่เพียงแต่เท่านั้น ถ้ามีความรู้สึกเข้าใจถึงสภาพของน้ำที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของปลา ก็จะทำให้ตัวคุณเองเป็นนักตีสปินฝีมือดี ที่สามารถนำคุณสมบัติต่างๆ ของเหยื่อสปินเนอร์เมปป์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่