ชะตากรรมที่น่าเศร้าของ ‘สิงโตบาร์บารี’ ราชาแห่งสิงโต

สิงโตคือราชาแห่งสัตว์ป่า แต่ในปัจจุบันจำนวนสิงโตลดลงมาก อย่างในอินเดียซึ่งเคยมีสิงโตจำนวนมาก แต่ตอนนี้เหลือแค่ในอุทยานเพียงแห่งเดียว และบางพื้นที่ที่เคยมีสิงโตแต่ปัจจุบันนั้นได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว และเรื่องต่อจากนี้เป็นสิงโตสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสิงโตทั้งหมด นั้นก็คือสิงโตบาร์บารี (Barbary lion)

ภาพถ่ายสุดท้ายของสิงโตบาร์บารีที่พบในเทือกเขาแอตลาส

สิงโตบาร์บารี คืออะไร?

Advertisements

สิงโตบาร์บารี (Barbary Lion) หรืออีกชื่อคือสิงโตแอฟริกาเหนือ (North African Lion) เป็นสายพันธุ์ของสิงโตโบราณที่รอดมาจากยุคน้ำแข็ง เดิมทีพวกมันอาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาเหนือ จนมีอีกชื่อว่า สิงโตแอตลาส (Atlas lion) นอกจากนี้ยังเคยพบใน ลิเบีย, อัลจีเรีย และโมร็อคโค และเคยไปถึงตะวันออกกลาง

สิงโตบาร์บารี เป็นสิงโตที่มีขนาดใหญ่ที่สุด! จุดสังเกตที่ทำให้มันแตกต่างจากสิงโตแอฟริกาและสิงโตอินเดียคือ มันมีขนาดที่ใหญ่กว่า ซึ่งหากเป็นตัวผู้สิงโตบาร์บารีจะยาวได้ถึง 2.3 – 2.8 เมตร และหนักเกือบ 270 – 300 กิโลกรัม ในตัวเมียจะยาวประมาณ 2.5 เมตร และหนักประมาณ 180 กิโลกรัม …อย่างไรก็ตามเรื่องขนาดยังเป็นที่น่าสงสัย เพราะสิงโตบาร์บารีในที่กักขังมีขนาดเล็กกว่า

สิงโตบาร์บารีในธรรมชาติ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีแผงคอ จึงเป็นการยากที่จะแยกพวกมันด้วยการมองโดยเฉพาะเมื่อพวกมันยังไม่โตเต็มที่ แต่ปกติตัวผู้จะมีขนาดใหญ่และมีแผงคอที่มีสีเข้มและยาวไปจนถึงกลางหลัง ซึ่งรูปลักษณ์นี้อาจจะมาจากการที่แอฟริกาเหนือ มีอากาศที่หนาวเย็น และเป็นสิงโตที่ไม่ค่อยรวมฝูงแบบสิงโตแอฟริกา

ประชากรที่ถดถอยของสิงโตบาร์บารี

สิงโตบาร์บารีเริ่มถูกล่าจากมนุษย์ที่เข้ามาตั้งรกราก จนทำให้ที่อยู่อาศัยของพวกมันลดน้อยลง ในศตวรรษที่ 19 พวกมันลดลงอย่างรวดเร็ว จนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 พวกมันเริ่มหายไปในหลายพื้นที่ จนในปี 1925 สิงโตบาร์บารีตัวสุดท้ายที่พบในธรรมชาติ ก็ถูกบันทึกภาพไว้ได้

ภาพถ่ายสุดท้ายของสิงโตบาร์บารีที่พบในเทือกเขาแอตลาส ถ่ายโดย Marcelin Flandrin ระหว่างเดินทางจากคาซาบลังก้า (Casablanca) ไปยังดาการ์ (Dakar) ในปี 1925

สิงโตตัวสุดท้ายของเทือกเขาแอตลาสถูกยิงตายในปี 1942 หลังจากนั้นก็มีรายงานพบแบบไม่ยืนยันในโมร็อคโค, อัลจีเรีย และในลิเบีย รายงานการเจอครั้งสุดท้ายของมันที่อัลจีเรียในปี 1956 สุดท้ายแล้วมันถูกประกาศว่าสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการในช่วงปี 1960

สิงโตบาร์บารีที่ยังรอดชีวิต

ถึงแม้มนุษย์จะเป็นต้นเหตุที่ทำให้มันสูญพันธุ์ แต่มนุษย์นั้นก็เป็นผู้ที่ทำให้พวกมันยังมีชีวิตรอด เนื่องจากเดิมนั้นสิงโตบาร์บารีจำนวนมากถูกจับมาเลี้ยงในวังของกษัตริย์และคนรวย รวมถึงในสวนสัตว์ ทำให้ปัจจุบันยังมีสายพันธุ์ที่เติบโตมาในที่เลี้ยงหลายรุ่นสืบต่อมา

โดยรูปลักษณ์ภายนอกมันคือสิงโตบาร์บารีชัดเจน แต่เมื่อมีการตรวจดีเอ็นเอก็พบว่าบางตัวเป็นลูกผสม แต่ก็มีสายพันธุ์แท้ด้วย โดยเมื่อไม่นานนี้สิงโตบาร์บารีได้ให้กำเนิดลูกสิงโตสองตัวที่สวนสัตว์ของสาธารณะรัฐเช็ค ซึ่งเป็นข่าวดีอย่างมาก

ในปัจจุบันมีสิงโตบาร์บารีเหลือในที่เลี้ยงประมาณ 100 ตัวทั่วโลก โดยที่ที่มีเยอะที่สุดคือที่สวนสัตว์โมร็อคโค ในปัจจุบันเริ่มมีการสำรวจเขตอุทยานต่างๆ ในแอฟริกาเหนือเพื่อโครงการฟื้นฟูประชากรสิงโตบาร์บารี ในธรรมชาติอีกครั้ง ซึ่งเคสของสิงโตบาร์บารีนั้นเป็นการสูญพันธุ์ในธรรมชาติแต่ยังมีในที่เลี้ยงอีกนิดหน่อย

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของสิงโต

Advertisements

สิงโตในปัจจุบัน เดิมเคยมี 12 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 8 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แม้ว่าหนึ่งในนั้นอาจจะเป็นโมฆะ ..ซึ่งทั้งหมดมีดังนี้

  1. สิงโตเอเชีย หรือ สิงโตอินเดีย มีการกระจายพันธุ์จากประเทศตุรกีข้ามเอเชียตะวันตกเฉียงใต้สู่ประเทศปากีสถาน ประเทศอินเดีย และแม้กระทั่งประเทศบังคลาเทศ ปัจจุบันเหลือประมาณ 300 ตัวในอุทยานแห่งชาติป่ากีร์ในประเทศอินเดีย
  2. สิงโตบาร์บารี เดิมมีการกระจายพันธุ์จากประเทศโมร็อกโกถึงประเทศอียิปต์ ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ สิงโตบาร์บารีตัวสุดท้ายถูกฆ่าตายในประเทศโมร็อกโก เป็นสิงโตชนิดย่อยที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง มีรายงานว่ายาว 3 เมตร
  3. สิงโตแอฟริกาตะวันตก พบในทางตะวันตกของแอฟริกาจากประเทศเซเนกัลถึงประเทศไนจีเรีย
  4. สิงโตคองโกตะวันออกเฉียงเหนือ พบในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของคองโก
  5. สิงโตแอฟริกาตะวันออก สิงโตมาไซ หรือสิงโตซาโว พบทางตะวันออกของแอฟริกาจากประเทศเอธิโอเปียและประเทศเคนยาถึงประเทศแทนซาเนียและประเทศโมซัมบิก
  6. สิงโตแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ หรือสิงโตกาตองงา พบในทางตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟริกา ประเทศนามิเบีย ประเทศบอตสวานา ประเทศแองโกลา กาตองงา ประเทศแซมเบีย และประเทศซิมบับเว
  7. สิงโตแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สิงโตเทรนส์เวล พบในบริเวณทรานเวลของแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงอุทยานแห่งชาติครูเกอร์
  8. สิงโตแหลมกูดโฮพ สูญพันธุ์จากธรรมชาติราวปี 1860 ผลจากการวิจัยไมโทคอนเดรีย DNA พบว่าไม่ควรแยกสิงโตแหลมกูดโฮพออกมาเป็นชนิดย่อย อาจเป็นไปได้ว่าสิงโตแหลมกูดโฮพเป็นประชากรที่อยู่ใต้สุดของการกระจายพันธุ์ของสิงโตชนิดย่อย สิงโตแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements