ปลาหมอแคระขี้เซา ปลาถิ่นภาคใต้ของไทย

ปลาหมอแคระขี้เซา หรือ ปลาหมอแคระสยาม เป็นปลาหมอแคระอีกชนิดที่มีอยู่ในประเทศไทย แต่ที่อยู่จะมากกว่าปลาหมอแคระแม่กลอง เพราะเจอได้ในหลายพื้นที่ภาคใต้ ทั้งภูเก็ต ระนองเป็นต้น

ปลาหมอแคระขี้เซา

ปลาหมอแคระขี้เซา หรือ ปลาหมอแคระสยาม (Siamese badis) ชื่อวิทยาศาสตร์ Badis siamensis เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอแคระ (Badidae)

มีรูปร่างเหมือนปลาหมอ หรือปลากะพงทั่วไป แต่มีขนาดเล็ก ครีบก้นสั้น ปากเล็ก ตาโต ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีจุดประสีดำเหลือบและแดงสด ครีบหลังมีดวงสีคล้ำอยู่ระหว่างก้านครีบเกือบทุกอัน ขอบครีบสีแดงเรื่อๆ ครีบหางสีเหลืองอ่อน มีขนาดยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร

เป็นปลาที่พบครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต แต่มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่ไหลลงแนวชายฝั่งด้านทะเลอันดามันของไทย เริ่มตั้งแต่จังหวัดระนองลงไป ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้ถึงระดับใด

ที่อาศัยของปลาหมอแคระขี้เซา ในจังหวัดระนอง พบว่าปลาอาศัยอยู่ตามรากไม้ชายน้ำ และกอไม้ในน้ำด้วย

ข้อมูลจากเว็บไซด์ fishbase.org ระบุว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาประจำถิ่นของประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำที่ไหลลงทางฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) ของคาบสมุทรมลายู

เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ใต้ใบไม้ร่วงและซอกหินใต้น้ำ วางไข่ไว้ในโพรงไม้ กินแพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนของแมลงน้ำเป็นอาหาร

3 ปลาหมอแคระสวยจัด ที่พบได้ในธรรมชาติไทย

Advertisements
Advertisements