ปลาหมอแคระแม่กลอง พบได้ที่กาญจนบุรีเท่านั้น

ที่บอกว่าที่กาญจนบุรีเท่านั้น เพราะปลาหมอปลาหมอแคระแม่กลอง เป็นหนึ่งในปลา 72 ชนิดที่อยู่ในกลุ่ม "ปลาเฉพาะถิ่นของไทย" นั้นหมายความว่ามันเป็นปลาถิ่นอาศัยเดียว และด้วยเหตุนี้จึงเป็นปลาที่เปราะบางต่อการสูญพันธุ์ด้วย

ปลาหมอแคระแม่กลอง
“ปลาหมอแคระแม่กลอง (Badis khwae) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอแคระ (Babidae)”

มีช่วงลำตัว ช่วงระหว่างตา และจุดเริ่มต้นของครีบหลังยาว โดยรวม จึงเป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาวอาศัยอยู่ในลำธารที่มีระบบนิเวศจำเพาะ ที่มีปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามฤดูกาล ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในที่เดียวกันและได้วิวัฒนาการปรับตัวตามการผันแปรตามฤดูกาลของลำธาร

ลักษณะที่อยู่อาศัยของปลาหมอแคระแม่กลอง

ค้นพบครั้งแรกโดย นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักสำรวจธรรมชาติและนักมีนวิทยาชาวไทยที่ต้นแม่น้ำแควน้อย ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี และ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น จึงเป็นปลาประจำถิ่นของประเทศไทย

ปลาหมอแคระแม่กลอง สำหรับตัวผู้ประมาณ 55-60 มม. ตัวเมียเล็กกว่าเล็กน้อย

ปลาหมอแคระแม่กลอง

สำหรับการเลี่ยงปลาชนิดนี้ในตู้ ต้องใช้ตู้ 60*30 ซม. ขึ้นไป เป็นปลาที่ต้องเลี่ยงในน้ำค่อนข้างสะอาด และควรตกแต่งให้เหมือนธรรมชาติ มีหิน ดิน กรวด พืชน้ำเป็นต้น

3 ปลาหมอแคระสวยจัด ที่พบได้ในธรรมชาติไทย

Advertisements
Advertisements