ตามรายงานได้ระบุถึงความยากลำบากก่อนที่จะได้รับ “ลูกแรดสุมาตรา” ตัวนี้ เพราะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ของอินโดนีเซีย ต้องประสบกับการแท้งลูกถึง 8 ครั้งในระยะเวลา 17 ปี ทั้งนี้กองทุนโลกเพื่อธรรมชาติ ประเมินว่ามีแรดสุมาตราน้อยกว่า 80 ตัวที่ยังคงอยู่ในโลก ส่วนใหญ่อยู่บนเกาะสุมาตราและบอร์เนียว
แรดชื่อโรซา (Rosa) ได้ให้กำเนิดลูกเพศเมียเมื่อวันพฤหัสบดี (24 มี.ค. 2022) ที่อุทยานแห่งชาติ Way Kambas บนเกาะสุมาตราหลังจากที่มันต้องแท้งลูกมาแล้วถึง 8 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งนับตั้งแต่โรซาถูกนำเข้ามาจากป่าเพื่อเข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์
“การกำเนิดของลูกแรดสุมาตรานี้ ถือเป็นข่าวดีท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลและพันธมิตร ในการเพิ่มจำนวนประชากรของพวกมัน” Wiratno เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ (28 มี.ค. 2022)
การเกิดที่ประสบความสำเร็จนั้นยากมาก พ่อของลูกแรดชื่อ Andatu มันเป็นแรดสุมาตราตัวแรกที่เกิดในสถานศักดิ์สิทธิ์ในรอบกว่า 120 ปี โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้จำแนกแรดสุมาตรา ว่าเป็นแรดขนาดเล็กที่สุดในบรรดาแรดทั้งหมด และมันก็ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต
ข้อมูลเพิ่มเติมของแรดสุมาตรา
กระซู่, แรดสุมาตรา (Sumatran rhinoceros) หรือ แรดขน (hairy rhinoceros) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Dicerorhinus sumatrensis เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยกระซู่ถือเป็น “แรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก” และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus
จำนวนในปัจจุบันยากที่จะประมาณการได้ เพราะเป็นสัตว์สันโดษที่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็นวงกว้าง แต่คาดว่าเหลืออยู่ไม่ถึง 80 ตัว สาเหตุอันดับแรกของการลดลงของจำนวนประชากรคือ การล่าเอานอที่มีค่ามากในการแพทย์แผนจีน อาจขายได้ถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัมในตลาดมืด นอกจากนี้ยังถูกคุกคามถิ่นอาศัยจากอุตสาหกรรมป่าไม้และเกษตรกรรม