ปลาเพ้า ปลาประจำจังหวัดเลย! ที่หายไป

แม้ว่าปลาเพ้า จะเป็นปลาประจำจังหวัดเลย แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับปลาชนิดนี้น้อยมาก แถมยังไม่ค่อยตรงกันอีกต่างหาก โดยปลาชนิดนี้ มีการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์อยู่อย่างน้อยสองชื่อ โดยชื่อแรกคือ แบน-กา-นา ลิป-ปุส (Bangana lippus) ซึ่งถูกใช้ในข้อมูลภาษาไทย รวมถึงรายชื่อสัตว์น้ำประจำจังหวัดของไทยด้วย ส่วนชื่อที่สองคือ อัล-ติ-จี-นา ลิป-ปา (Altigena lippa) จะถูกใช้ในข้อมูลภาษาอังกฤษ และ ในหนังสือปลาน้ำจืดไทยก็ใช้ชื่อนี้เช่นกัน! ด้วยเหตุนี้ ผมจะข้อใช้ชื่อที่สองเป็นชื่ออ้างอิงนะครับ! ลืมบอกไปอีกอย่าง ปลาชนิดนี้ มีรูปถ่ายน้อยมากๆ ซึ่งเท่าที่ผมค้นดู มีไม่ถึง 5 ภาพที่สามารถพูดได้ว่า มันคือปลาเพ้า! และที่ท้ายเรื่องผมขอเสริมเรื่อง ปลากดไทยระดับตำนานอีกตัวด้วยนะครับ ป่ะเดี๋ยวมาดูเรื่องราวของปลาชนิดนี้กัน

ปลาเพ้า (Altigena lippa) คืออะไร?

Advertisements

ข้อมูลภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับปลาเพ้าใน wiki มีไม่ถึง 2 บรรทัด! ในหนังสือปลาน้ำจืดไทยมีไม่ถึง 4 บรรทัด ในเรื่องภาพของปลาชนิดนี้แม้แต่ในแห่งรวบรวมภาพสัตว์ป่าอย่าง ไอ-นา-เชอ-รัล-ลิสต์ (iNaturalist) ก็มีเพียงสองภาพ นี่แสดงให้เห็นว่า มันคือปลาที่หายากอย่างแท้จริง!

โดยปลาเพ้า อยู่ในวงศ์ย่อยของปลาตะเพียน และอยู่ในสกุลปลาหว้า โดยปลาชนิดนี้ มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร บางแห่งข้อมูลภาษาไทยบอก 10 เซนติเมตร! ซึ่งคาดว่าจะเป็นปลาเพ้าอีกชนิด หรืออาจเป็นปลาที่คล้ายกัน จึงเข้าใจผิดว่าเป็นปลาเพ้า

ทั้งนี้ปลาเพ้าเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำโขงตอนบน ในไทยอาจเจอได้เฉพาะในจังหวัดเลย! …แต่ก็อย่างที่บอก มันคือปลาประจำจังหวัดเลย! ที่หายไป

ตามคำอธิบายของหนังสือปลาน้ำจืดไทย ได้บอกเอาไว้ว่า ปลาเพ้า เป็นปลาที่มีลำตัวเพรียวยาว ริมฝีปากบนมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป หน้าค่อนข้างเรียบเมื่อเทียบกับปลาในวงศ์สกุลย่อยนี้ ลำตัวมีสีเขียวเหลือชมพู ครีบหลังเว้าค่อนข้างมาก จัดเป็นปลาที่มีข้อมูลน้อยจน IUCN ไม่สามารถระบุสถานะที่แท้จริงได้ แน่นอนว่าสำหรับประเทศไทยพบเจอได้ยากมากๆ จนไม่รู้ว่าจะยังมีให้เห็นหรือเปล่า ในประเทศไทยมีรายงานการพบเฉพาะที่ แม่น้ำเหืองและแม่น้ำเลยซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง

น่าเสียดายที่ในตอนนี้! ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับปลาชนิดนี้ ทำได้เพียงอ้างอิงจากปลาที่คล้ายกัน! อย่างเช่น ถิ่นอาศัยของปลาชนิดนี้ น่าจะเป็นบริเวณที่มีน้ำไหลแรงและมีท้องน้ำที่เป็นกรวดขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณลำห้วยในพื้นที่สูง แก่งหิน ซึ่งพื้นแบบนี้พบเห็นได้ค่อนข้างน้อยแล้ว!

ว่ากันว่าปลาเพ้าชนิดนี้ เป็นปลาที่มีรสชาติดี! ในอดีตนิยมนำมากินในท้องถิ่น แต่เพราะสภาพแวดล้อม รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำและป่าไม้ของมนุษย์ ได้ส่งผลให้ปลามีจำนวนลดน้อยลง ขณะเดียวกันก็ยังขาดข้อมูลเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ นิเวศวิทยา ศัตรู และจำนวนประชากรที่แท้จริงของปลาชนิดนี้ก็ไม่ทราบ เพราะแบบนี้หน่วยงานต่างๆ จึงยังไม่สามารถบริหารจัดการและเพาะขยายพันธุ์ปลาได้ …และบางทีอาจจะสายไปแล้วด้วยซ้ำ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements