1. แมวป่าหัวแบน (Flat-headed cat)
แมวหัวแบนจัดเป็นหนึ่งในแมวป่าที่แปลกประหลาดที่สุด มีน้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม เดิมทีจะพบแมวป่าหัวแบนได้บริเวณภาคใต้ของไทย มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว และสุมาตรา แต่ตอนนี้แมวป่าหัวแบนแทบจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ พบได้ยากแม้แต่ในในแห่งเพาะเลี้ยง
2. แมวลายหินอ่อน (Marbled Cat)
เป็นแมวที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ “ปัจจุบันนักวิชาการแบ่งแมวลายหินอ่อนออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ P. m. marmorata และ P. m. charltoni” พฤติกรรมของแมวลายหินอ่อน เมื่ออยู่ในที่เลี้ยงค่อนข้างดุร้ายกว่าเสือหรือแมวป่าชนิดอื่นๆ มีอายุในสถานที่เลี้ยงยืนสุด 12 ปี
3. แมวดาว (Leopard Cat)
แมวดาวเป็นแมวป่าที่พบได้ง่ายที่สุดในไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่มักจะถูกนำไปผสมกับแมวบ้าน ลูกแมวผสมจะถูกเรียกว่า “แมวเบงกอล หรือ แมวซาฟารี” โดยแมวดาวมีขนาดเล็กใกล้เคียงแมวบ้าน แต่ขายาวกว่าเล็กน้อย มีลายจุดทั่วทั้งตัว สีลำตัวต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แมวดาวมีตั้งแต่สีเทาซีด น้ำตาล เหลืองทอง จนถึงสีแดง ด้านใต้ลำตัวสีขาว จุดข้างลำตัวเป็นจุดทึบหรือเป็นดอก ส่วนบริเวณขาและหางเป็นจุดทึบ มีเส้นดำหลายเส้นพาดขนานกันตั้งแต่หน้าผากจนถึงท้ายทอย และเริ่มขาดท่อนกลายเป็นจุดรีๆ ที่บริเวณหัวไหล่ บางตัวมีเส้นยาวพาดตลอดแนวสันหลัง มีแถบสีขาว 2 แถบและแถบดำ 4 แถบพาดจากหัวตาไปที่หู แมวดาวตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย
4. เสือปลา (Fishing Cat)
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก เป็นแมวป่าขนาดกลาง รูปร่างอ้วนป้อม เสือปลาเป็นนักจับปลาที่เก่งมาก เป็นสัตว์ที่หากินกับน้ำโดยเฉพาะ ไม่เคยพบห่างจากแหล่งน้ำเลย มันชอบน้ำที่ไหลช้าหรือนิ่ง เช่น หนองบึง ป่าชายเลน และป่าริมลำธาร ว่ายน้ำเก่ง เวลาว่ายน้ำจะใช้ขาหลังที่มีพังผืดตีน้ำ จับสัตว์น้ำเป็นอาหาร บางครั้งอาจฆ่าสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านเช่น ลูกวัว ลูกแพะ เป็ดไก่ หมา เป็นต้น
5. เสือกระต่าย หรือ แมวป่า (Jungle cat)
แม้จะบอกว่าเป็นเสือที่พบได้ในไทย แต่ก็พบได้ยากมากๆ ตามข้อมูลบอกเอาไว้ว่า ไม่มีใครพบหรือบันทึกภาพของแมวป่าชนิดนี้ มาเป็นเวลาอย่างน้อย 40 ปี จนในปี พ.ศ. 2560 ก็มีการบันทึกภาพของมันได้อีกครั้ง โดยพบทั้งตัวผู้และตัวเมียที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 มีการจับกุมผู้ค้าสัตว์ป่าหลายชนิดผ่านทางเฟซบุกได้ หนึ่งในนั้นเป็นเสือกระต่าย โดยผู้ค้าอ้างว่าได้มาจากจังหวัดนราธิวาส ซึ่งไม่น่าจะเป็นความจริง
แมวชนิดนี้มีขายาว หางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็นปล้องๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่านับเป็นเสือในสกุล Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวและหัว 50–56 เซนติเมตร ความยาวหาง 26–31 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4–6 กิโลกรัม
6. เสือลายเมฆ (Clouded Leopard)
เสือลายเมฆเป็นเสือขนาดเล็ก รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายเสือดาวแต่เล็กกว่า รูปร่างเตี้ยป้อม ลำตัวมีสีพื้นน้ำตาลอมเทาจนถึงน้ำตาลเหลือง ช่วงล่างและขาด้านในสีขาวหรือสีครีม มีลายสีน้ำตาลเข้มเป็นดวงเหมือนก้อนเมฆขนาดใหญ่ทั่วตัว ตั้งแต่หัว ขา และหาง ดวงบางดวงอาจมีจุดดำอยู่ภายในดวงด้วย แต่ละดวงมีส่วนที่ค่อนไปทางท้ายลำตัวคล้ำกว่า ดวงบริเวณหัวและขาจะมีขนาดเล็กและอาจเป็นเพียงจุดทึบตัน ที่หลัง แก้ม และคอเป็นเส้นสีดำ หูสั้นกลม หลังหูสีดำและมีจุดสีขาวอมน้ำตาลกลางหลังหู ขาค่อนข้างสั้น ขาหลังยาวกว่าขาหน้าอย่างเห็นได้ชัด อุ้งตีนกว้าง
เสือลายเมฆพบได้ในไทยแต่ก็พบได้ยาก โดยที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เคยมีรายงานว่าเสือลายเมฆจับลิงกังและชะนีกิน เพราะมันล่าเหยื่อบนพื้นดินมากเท่าๆ กับบนต้นไม้
7. เสือไฟ (Asiatic Golden Cat)
เสือไฟเป็นแมวป่าชนิดหนึ่งที่พบได้ยากมาก มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องตบะอันแก่กล้าขนาดที่เสือโคร่งยังกลัว หรือ เขี้ยวเสือไฟ เป็นเครื่องรางคุ้มกันให้รอดจากเภทภัย ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อขายของทั้งสิ้น แต่ถึงอย่างงั้นก็ทำให้เสือไฟโดนล่าจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากไทย
8. เสือดาว (Leopard)
เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง เป็นชนิดเดียวกับเสือดำ ในวงศ์เสือและแมว และหาได้ยากในประเทศไทย พบได้ตามป่าอนุรักษ์ต่างๆ เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก
เมื่อเทียบกับสัตว์ในวงศ์เสือและแมวขนาดใหญ่อื่นๆ เสือดาวมีขาที่ค่อนข้างสั้น และมีลำตัวยาวและกระโหลกศีรษะขนาดใหญ่ ขนของมันถูกทำเครื่องหมายด้วยจุดคล้ายดอกกุหลาบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเสือจากัวร์ แต่ขนาดของจุดจะเล็กกว่า และไม่มีจุดตรงกลาง ทั้งเสือดาวและเสือจากัวร์ที่มีเมลานินผิดปกติจะกลายเป็นเสือดำ
9. เสือโคร่ง
เสือโคร่งที่พบในโลกตอนนี้เหลือเพียง 6 ชนิดย่อย คือ เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งเบงกอล เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งสุมาตรา เสือโคร่งจีนใต้ เสือโคร่งมลายู และที่สูญพันธุ์ไปอีก 3 ชนิดคือ เสือโคร่งแคสเปียน เสือโคร่งชวา และเสือโคร่งบาหลี สำหรับเสือโคร่งที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิดคือ เสือโคร่งอินโดจีน และเสือโคร่งมลายู
ปัจจุบันเสือโคร่งในธรรมชาติในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกมีไม่ถึง 4 พันตัว กระจายใน 13 ประเทศของทวีปเอเชีย ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม