9 ข้อเท็จจริงที่น่าทึ่ง เกี่ยวกับสัตว์ป่าที่เราเพิ่งได้รู้ในปี 2022

มนุษย์เรามักจะติดตามและค้นหาเรื่องราวที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า และพวกเราเองก็ได้รับทราบข้อเท็จจริงใหม่ๆ อยู่เสมอ บางเรื่องก็ธรรมดา แต่บางเรื่องก็น่าทึ่ง และนี่ 9 ข้อเท็จจริงที่น่าทึ่ง เกี่ยวกับสัตว์ป่าที่เราเพิ่งได้รู้ในปี 2022

ข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งเกี่ยวกับสัตว์ป่

1. ชิมแปนซี รักษาบาดแผลให้กันและกัน

Advertisements

นักวิจัยถ่ายภาพลิงชิมแปนซี ในขณะที่มันกำลังใช้แมลงบดกับบาดแผล บนตัวของมันและตัวอื่นในฝูง ทีมงานคาดว่านี่เป็นวิธีที่พวกมันใช้รักษาบาดแผลให้กันและกัน แม้ในตอนนี้นักวิจัยจะไม่แน่ใจว่าแมลงที่พวกมันใช้จะเป็นชนิดใด แต่แมลงบางชนิดสามารถใช้แทนยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาบรรเทาอาการปวดได้

2. ในที่สุดนักวิจัยก็พบคลิตอริสงู

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยได้อธิบายโครงสร้างคลิตอริสของงูเป็นครั้งแรก อวัยวะที่เป็นง่ามหรือที่เรียกว่า “เฮมิคลิตอริส” สามารถพบได้ในงูอย่างน้อยเก้าสายพันธุ์

3. ผึ้งอาจเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้

การศึกษาพบว่า ผึ้งฝูงหนึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในชั้นบรรยกาศได้มากเท่ากับพายุฝนฟ้าคะนอง และยิ่งกลุ่มเมฆของผึ้งหนาแน่นเท่าใด สนามไฟฟ้าก็ยิ่งสร้างได้มากขึ้นเท่านั้น แต่! ถึงอย่างงั้นก็คงเป็นไปไม่ได้ที่แมลงจะสร้างพายุฝนฟ้าคะนองได้จริงๆ แต่พวกมันก็ยังส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศได้อยู่ดี

4. แม่หมึกยักษ์ทำลายตัวเอง

Advertisements

เมื่อไข่ใกล้ฟักเป็นตัว แม่หมึกส่วนใหญ่จะละทิ้งลูกของมัน จากนั้นจะเริ่มฉีกตัวเองเป็นชิ้นๆ พวกมันทำแม้กระทั่งกินเนื้อของตัวเอง และไม่นานนี้ นักวิจัยได้ค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกายของแม่หมึกยักษ์ ซึ่งไปกระตุ้นให้แม่หมึกยักษ์บางตัวต้องการทำลายตนเอง

Advertisements

5. โลมากินฉี่ของกันและกัน

นักวิจัยพบว่าโลมาปากขวด มีพฤติกรรมชิมฉี่ของพวกมันเอง ทั้งนี้ก็เพื่อแยกแยะเอกลักษณ์ของโลมาตัวอื่นๆ นอกจากนี้โลมายังเรียนรู้ที่จะจดจำเสียงผิวปากที่เป็นเอกลักษณ์ของกันและกัน ดังนั้นด้วยการใช้ประสาทรับรส และการได้ยินร่วมกัน พวกมันจึงสามารถจดจำเพื่อนได้อย่างรวดเร็ว และสังเกตุเห็นโลมาแปลกหน้าได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

6. วิวัฒนาการพิเศษของกบเชอร์โนบิล

จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ให้เห็นว่า กบต้นไม้ตะวันออกที่มีเม็ดสีเมลานินเข้มข้นสูงในผิวหนังของพวกมัน มีแนวโน้มที่จะรอดชีวิตจากภัยพิบัตินิวเคลียร์เชอร์โนปิล มากกว่ากบที่มีผิวสีอ่อนกว่า และปัจจุบันประชากรกบในเขตปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ก็มีสีเข้มกว่าประชากรกบที่อยู่นอกเขตอย่างมีนัยสำคัญ

Advertisements

7. ฮิปโปพ่นพายุทอร์นาโด

Advertisements

เมื่อตัวหนึ่งได้ยินเสียงของฮิปโปที่ไม่คุ้นเคยในระยะไกล ฮิปโปจะพ่นมูลสัตว์ขึ้นไปในอากาศ เพื่อแสดงอาณาเขตของมัน ในตอนนี้นักวิจัยเพิ่งพบว่า ฮิปโปสามารถแยกแยะฮิปโปที่คุ้นเคยได้ด้วยการฟัง “เสียงแตร” ซึ่งเป็นสัญญาณเรียกของพวกมัน

8. จระเข้เติบโตได้ดีในแม่น้ำที่เป็นพิษ

นักวิจัยพบความผิดปกติ ในแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดสายหนึ่งในอเมริกากลาง พวกเขาพบจระเข้อเมริกัน (American Crocodiles) ซึ่งมีในโลกราวๆ 2 พันตัว กำลังปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในแม่น้ำพิษ และดูเหมือนจะทำได้ดีอีกด้วย

9. นกบินไม่ลงจอด 11 วัน ระยะทาง 13,560 เมตร

นกปากแอ่นหางลายตัวหนึ่ง ได้สร้างสถิติโลกด้วยเที่ยวบินที่ยาวนานที่สุด และยังเป็นการเดินทางไกลกว่าสัตว์ทุกตัวบนโลก โดยบินได้ไกลอย่างน้อย 13,560 กิโลเมตร จากอลาสก้าไปยังรัฐแทสเมเนียของออสเตรเลีย

Advertisements

การบินของนกตัวนี้เริ่มต้นในวันที่ 13 ต.ค. 2022 และแตะลงพื้นใน 11 วันต่อมา ที่อ่าว Ansons บนเกาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐแทสเมเนีย …สถิตินี้ได้รับการยืนยันโดยดาวเทียม

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements