ครบรอบ 50 ปี พายุครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ คร่าชีวิต 6 แสนราย

นี่อาจไม่ใช่พายุที่รุนแรงที่สุด แต่มันคือพายุที่นำพาสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน นั้นเพราะพายุลูกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเสียชีวิตของผู้คนจำนวนมาก โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ตัวเลขอย่างเป็นทางการของผู้เสียชีวิตที่ถูกระบุเอาไว้น้อยความเป็นจริงมาก เนื่องจากพวกเขาทั้งหมดเป็นคนของรัฐบาล ..เอาล่ะเดี๋ยวมาอ่านเรื่องราวของพายุลูกนี้กัน

“เมื่อราว 50 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์พายุที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่บันทึกไว้ในเอเชียใต้ มันได้คร่าชีวิตผู้คนมากถึง 6 แสนคน”

จุดเริ่มต้นของพายุ

Advertisements

เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 1970 พายุไซโคลนโบลา ได้พัดถล่มปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบันคือบังกลาเทศ) ซึ่งเป็นจังหวะที่น้ำขึ้นสูง พายุได้กระตุ้นให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ มันกวาดผู้คนหลายแสนคนในพื้นที่ต่ำไปทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้ พายุไซโคลนขนาดเล็กได้ถล่มพื้นที่นี้ ในเดือนตุลาคม 1970 โดยมีผู้เสียชีวิต 300 คน

“จนในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1970 พายุโคลนโบลา มาถึงบริเวณอ่าวเบงกอล และกำลังมุ่งหน้าขึ้นฝั่ง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งคำเตือนใดๆ แก่ประชาชน เพราะพวกเขาอาจคิดว่าประชาชนจะย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย เนื่องจากพายุก่อนหน้าที่เพิ่งผ่านไป”
มุมมองทางอากาศที่เกี่ยวกับการทำลายล้างจากพายุไซโคลนโบลา ในปี 1970 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สภาพอากาศที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ (ภาพ Getty)

หายนะที่สมบรูณ์แบบ

สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็คือพายุมีความเร็วลมถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (บางแหล่ง 225 กม. / ชม ) ที่พร้อมจะพัดพาทุกสิ่งที่มันขวางทางมัน นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลงคือ “การตอบสนองอย่างเชื่องช้าของรัฐบาลปากีสถาน” พวกเขาไม่แยแสต่อความทุกข์ทรมานของผู้ประสบภัยพายุไซโคลน อีกทั้งการระดมสิ่งของบรรเทาทุกข์จากนานาชาติที่ล่าช้า ทำให้เกิดเป็นหายนะที่สมบรูณ์แบบ

“รายงานส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 300,000 คน แต่การประมาณการคาดว่าตัวเลขที่แท้จริงอาจจะสูงถึง 600,000 คน การเสียชีวิตที่เจ้าหน้าที่บันทึกไว้มาจากคนของรัฐบาล ทำให้ตัวเลขดูน้อยกว่าที่เห็น”
วัวมากกว่าหนึ่งล้านตัวถูกไซโคลนสังหาร (ภาพ Getty)

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าบันทึกดังกล่าว ได้ระบุจำนวนประชากรในภูมิภาคน้อยกว่าที่คิดมาก เนื่องจากการเก็บข้อมูลที่ไม่เที่ยงตรงและอัตราการเกิดที่สูงมาก อีกทั้งจำนวนแรงงานที่เดินทางเข้าออกจำนวนมาก จำนวนผู้สูญเสียที่อยู่อาศัยมีมากถึง 50 ล้านคน ซึ่งเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ไร่นา อุปกรณ์การเกษตร ถูกทำลายเรียบจากพายุ

เมื่อทั้งหมู่บ้านและไร่นาถูกลมพัดทำลาย โรคเช่นอหิวาตกโรคและไทฟอยด์ก็ตามมาเนื่องจากศพมนุษย์และสัตว์จำนวนมากที่กลบฝังไม่ทัน

ผู้รอดชีวิตหลายล้านคน ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีที่พักพิง หลังจากสูญเสียบ้านในพายุไซโคลนโบลา (Getty)
Advertisements

อ่าวเบงกอลเป็นแหล่งกำเนิดสำหรับพายุไซโคลนร้ายแรงและพายุทำลายล้างอื่น ๆ หลังจากพายุโบลา ชายฝั่งที่ราบต่ำของบังกลาเทศซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน 30 ล้านคนและทางตะวันออกของอินเดียถูกพายุไซโคลนที่คร่าชีวิตผู้คนหลายแสนคนถล่มไปหลายครั้งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

ภาพของผู้รอดชีวิตจากพายุไซโคลนโบลา พวกเขากำลังเริ่มต้นการทำความสะอาด และจัดการกับสิ่งที่เหลืออยู่ หลังจากพายุลูกใหญ่พัดถล่มเอเชียใต้ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 1970

และนี่คือเรื่องราวความน่ากลัวของพายุ ซึ่งโบลาถูกจัดให้เป็นเหตุการณ์จากพายุที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ยังไงถ้าน้าๆ ชอบเรื่องนี้ก็แชร์ไปให้น้าท่านอื่นได้อ่านกันนะครับ

สัตว์ประหลาดยักษ์ในน้ำมีอยู่จริง แต่พวกมันกำลังจะหายไปตลอดกาล

Advertisements
แหล่งที่มา9news