1. ทะเลสาบไนออส (Lake Nyos) สังหารมากที่สุด
ทะเลสาบแห่งนี้ถือเป็นทะเลสาบที่อันตรายที่สุดอย่างแท้จริง มันมีความกว้างประมาณ 206 ตารางกิโลเมตร ความลึกสูงสุดที่ 208 เมตร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแคเมอรูน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 315 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยาอุนเดซึ่งเป็นเมืองหลวง
เมื่อ 21 สิงหาคม 1986 หรือก่อนหน้า 1 – 2 วัน? มีเหตุการณ์ใหญ่ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตรอบๆ ทะเลสาบต้องเงียบไป ไม่มีใครรู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไรจริงๆ จนกระทั้งมีคนเดินทางไปในหมู่บ้านใกล้ทะเลสาบไนออส และพบกับซากสิ่งมีชีวิต นก วัว สัตว์เลี้ยง รวมถึงชาวบ้านทั้งหมดเสียชีวิต
จากการสืบสวนจึงทราบว่ามันเป็นการปะทุอย่างฉับพัน ที่ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1 – 3 แสนตัน ในบางพื้นที่อาจมากถึง 1.6 ล้านตัน
ก๊าซลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าและตกลงสู่พื้น ส่งผลให้ออกซิเจนทั้งหมดในรัศมี 15 ไมล์ หายไป และเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตที่ต้องใช้อากาศทั้งหมดตาย .. “จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,746 คนและปศุสัตว์ 3,500 ตัว ยังไม่นับสัตว์ชนิดอื่นๆ”
2. ทะเลสาบคีวู (Lake Kivu) กดระเบิดไว้ 55 พันล้านตัน
ทะเลสาบคีวู (Lake Kivu) เป็นทะเลสาบในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กับรวันดา ทางเหนือของทะเลสาบแทนกันยีกา และทางใต้ของทะเลสาบเอ็ดเวิร์ด ทะเลสาบมีเนื้อที่ 2,700 ตารางกิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,460 เมตร มีความลึกสูงสุด 480 เมตร เป็นทะเลสาบที่ลึกเป็นอันดับ 8 ของโลก
แม้จะไม่เคยสร้างวีรกรรมเหมือนกันทะเลสาบไนออส แต่หากเกิดขึ้น มันจะรุนแรงกว่า เพราะมันคือ “ระเบิด” ลูกใหญ่ที่มีก๊าซมีเทนสะสมอยู่ที่ก้นทะเลสาบถึง 55 พันล้านตัน (จากการประมาณ) และยังมีคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) สะสมอยู่ที่ก้นทะเลสาบเช่นกัน ..
3. ทะเลสาบโมโนอุน (Lake Monoun) น้ำปล่องภูเขาไฟ
ทะเลสาบแห่งนี้เป็นหนึ่งในทะเลสาบที่อันตรายมากที่สุด มันเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ ทางตะวันตกของแคเมอรูนซึ่งอยู่ในเขตภูเขาไฟโอคุ และเช่นเดียวกับทะเลสาบทั้งสอง มันเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1984 เกิดการปะทุที่ทะเลสาบ ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิต 37 คน
ปัจจุบันทะเลสาบทั้ง 3 ได้รับการป้องกันการประทุครั้งใหญ่ ด้วยการทยอยดึงเอาก๊าซที่สะสมอยู่ใต้น้ำขึ้นมาบนผิวน้ำและอากาศ โดยเฉพาะทะเลสาบคีวู ที่ดึงเอาก๊าซขึ้นมาเพื่อผลิตพลังงาน ซึ่งคิดเป็น ไฟฟ้า 30% สำหรับแอฟริกาตะวันออก .. นี่แสดงให้เห็นว่า ถึงจะอันตรายแต่ก็มีประโยชน์