10 ปูน้ำจืด-ปูนา-ปูป่า ที่พบได้ในไทย

ในประเทศไทย มีปูน้ำจืด ปูนา ปู่ป่า หรือ แม้แต่ปูน้ำตก เยอะชนิดสุดๆ ซึ่งความจริงผมเองก็มีรายชื่อของปูพวกนี้ แต่เพราะมันเข้าใจยากเหลือเกิน แถมข้อมูลแต่ล่ะแหล่งก็ไม่ค่อยตรงกัน จึงทำให้ดูได้เท่าที่มีข้อมูลค่อนข้างชัดเจน แม้บางชนิดจะงงอย่างปูนา ที่มีหลายชนิดเหลือเกิน แต่ก็ยากที่จะแยกชนิดให้เห็นกันในตอนนี้ เอาเป็นว่า! แค่ให้รู้จักเอาไว้ก่อนก็แล้วกัน ต่อไปเดี๋ยวผมจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปูพวกนี้ให้ฟังก็แล้วกัน!

ปูน้ำจืด

ปูน้ำจืดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

Advertisements

ปัจจุบัน! มีปูมากกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในอินโด-แปซิฟิก เฉพาะในประเทศไทยก็มีมากกว่า 820 ชนิด และหากถามว่า และหากนับเฉพาะปูน้ำจืด ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ

  • กลุ่มที่ 1. ปูนา (rice-field crabs) ในธรรมชาติ จะพบอยู่ทั่วไปตามท้องนา โดยขุดรูอยู่ตามคันนา รูจะลึก 0.5 – 1 เมตร และจะพบมากที่สุดในช่วงฤดูฝน ส่วนใหญ่จะมีสีม่วงดำจนถึงสีเทา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปูอาศัยอยู่
  • กลุ่มที่ 2. ปูลำห้วย, ปูขี้เหล็ก และ ปูแม่น้ำ (creek crabs, river crabs) ปูในกลุ่มนี้จะพบอยู่ตามลำห้วย หรือตามลำคลองที่มาจากลำธารและลำห้วย มักพบอาศัยอยู่ตามชายน้ำของลำห้วย โดยจะหลบอยู่ใต้ก้อนหินหรือใต้ใบหญ้า ใบไม้ พืชน้ำ หรือ รากผักตบชวาที่ลอยอยู่ในน้ำ ปูลำห้วยมักจะมีสีน้ำตาล ตามก้ามและตามขาจะมีลายเป็นจุดสีน้ำตาลดำ ส่วนปูแม่น้ำมักจะมีสีน้ำตาลดำ ก้ามและขาไม่ลาย
  • กลุ่มที่ 3. ปูน้ำตก, ปูหิน (waterfall crabs, mountain crabs) ปูพวกนี้จะพบตามแอ่งน้ำบริเวณน้ำตก หรือลำธารที่ไหลมาจากน้ำตก อาศัยอยู่ตามใต้ก้อนหินบริเวณริมลำธารที่มีกระแสน้ำไม่ไหลแรง หรืออาจขุดรูอยู่สองฝั่งลำธาร ซึ่งรูจะลึก 0.5-1 เมตร ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ น้ำตาลดำ ม่วงดำ หรือเหลือง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพแวดล้อมที่ปูอาศัย
  • กลุ่มที่ 4. ปูป่า, ปูแดง และ ปูแป้ง (terrestrial crabs) ปูพวกนี้จะอาศัยขุดรูอยู่ตามเนินดิน บริเวณชายป่า และต้องเป็นบริเวณที่มีน้ำขังตอนฤดูฝน หรือบริเวณริมฝั่งของลำห้วยหรือลำธารน้ำตก รูที่ปูกลุ่มนี้ขุดจะลึก 1 – 1.5 เมตร และปูในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ จะมีสีสันสวยงาม เช่น สีม่วง แดง เหลือง น้ำเงินเข้ม หรือแม้แต่สีขาว …ต่อไปเป็นรายชื่อของปูน้ำจืดบางส่วนที่พบในไทย

ชนิดที่ 1. ปูนา (Somanniathelphusa)

ปูนา! ถือเป็นปูที่ใกล้ชิดกับคนไทยมากที่สุด! พวกมันเป็นปูน้ำจืด ที่พบอยู่ทั่วไปตามทุ่งนา และในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มของปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศน์และถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab) ด้วยเหตุนี้นักอนุกรมวิธานจึงได้แยกปูนา ออกมาจากปู 3 กลุ่มข้างต้น และในประเทศไทยก็มีปูนาในธรรมชาติอยู่ 8 ชนิด ทุกชนิดอยู่ในสกุล โซมันเนียเทลฟูซา (Somanniathelphusa) ต่อไปเป็นชื่อของ 8 ชนิด ซึ่งบอกไว้ก่อนว่า ทั้งภาพและชื่อสามัญผมเองก็ไม่แน่ใจ มันหาข้อมูลไม่ค่อยได้เลย

  1. โซมันเนียเทลฟูซา เจอร์เมนี (Somanniathelphusa germaini) พบได้ในภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคใต้ 1 จังหวัด และ ภาคเหนือ 1 จังหวัด จัดเป็นปูที่พบมากที่สุดในไทย
  2. โซมันเนียเทลฟูซา แบงคอคเอนซิส (Somanniathelphusa bangkokensis) พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และ ภาคใต้ 13 จังหวัด
  3. โซมันเนียเทลฟูซา เซ็กซ์พูเนทาตา
  4. โซมันเนียเทลฟูซา แม่ฮ่องสอนเอนซิส (Somanniathelphusa maehongsonensis) พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเท่านั้น
  5. โซมันเนียเทลฟูซา แฟงเอนซิส (Somanniathelphusa fangensis) พบในจังหวัดลำปางและเชียงใหม่
  6. โซมันเนียเทลฟูซา เด็นไชอิ (Somanniathelphusa denchaii) พบในจังหวัดแพร่
  7. โซมันเนียเทลฟูซา นานิ (Somanniathelphusa nani) พบในจังหวัดน่าน
  8. โซมันเนียเทลฟูซา ดูแกสตี (Somanniathelphusa dugasti / Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด

ในบรรดาปูนาทั้ง 8 ชนิดนี้ ดูเหมือนชนิดที่ 8 หรือ โซมันเนียเทลฟูซา ดูแกสตี (Somanniathelphusa dugasti / Esanthelphusa dugasti) จะมีคำธิบายน่าสนใจ เพราะมันเป็นปูนาชนิดเดียว ที่พบในภาคอีสาน และเพราะแบบนี้ มันจึงเคยมีชื่อว่า เอสันเทลฟูซา ดูแกสตี (Esanthelphusa dugasti) ซึ่งบ่งบอกถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของปูชนิดว่าเป็นปูนาอีสาน

ปูนา (Somanniathelphusa dugasti / Esanthelphusa dugasti)

มันเป็นปูที่ถือว่าเป็นมรดกดินของชาวอีสานเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นทรัพย์สินติดแผ่นดินที่คนอีสานมีสิทธิที่จะเก็บเกี่ยวหรือนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่จะใช้ประโยชน์อย่างไรถึงจะคุ้มค่าและยั่งยืนก็ขึ้นอยู่กับคนที่จะนำไปใช้ และสุดท้าย สำหรับปูนา หลายคนอาจสงสัยกันว่า ชนิดที่เลี้ยงๆ กันอยู่คือ ปูนาชนิดไหน ผมบอกเลยว่า ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะปูพวกนี้มักถูกเรียกกันในชื่อเฉพาะเช่น ปูนาพันธุ์กำแพง พันธุ์พระเทพ อะไรพวกนี้ ไม่รู้ว่ามันมีการผสมคอสกันเหมือนปลานิลหรือเปล่า

ชนิดที่ 2. ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn)

ปูทูลกระหม่อม (Mealy Crab) มีอีกหลายชื่อเช่น ปูแป้ง ปูแดง ปูป่า กะปู จัดเป็นปูน้ำจืดเฉพาะถิ่นที่พบในป่าดูนลำพัน จังหวัดมหาสารคาม เท่านั้น! ได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 เป็นปูน้ำจืดในกลุ่ม ปูป่ามีสีสันสวยงาม โดยปกติแล้ว ปูแป้งจะมี 3 สี คือ กระดองมีสีม่วงเปลือกมังคุด ขาสีส้ม ปลายก้ามและปลายขา จะมีสีขาวงาช้าง กระดองมีขนาด 3 – 4 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 100 – 120 กรัม

ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn)

ชนิดที่ 3. ปูลำห้วย (Chulathelphusa brandti)

Advertisements

ปูลำห้วยมีลักษณะกระดองค่อนข้างโค้ง สันขอบหน้าเว้าเข้าตื้นๆ และเอียงไปทางด้านข้าง และจะโค้งขึ้นจนกระทั่งถึงตรงกลางของส่วนโค้งเป้าตา โดยกระดองจะมีสีเทา สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาล มีรอยปะสีดำ กระจายอยู่ทั่วตัว ก้ามหนีบมีขนาดแตกต่างกันมาก มีช่องระหว่างนิ้วเพียงเล็กน้อย แหลมและเรียวมีหนามหยาบๆ มีขนาดตัวประมาณ 24 มิลิเมตร พบอาศัยใน ลำธาร ลำห้วย ในจังหวัดเลย เชียงใหม่ และเชียงราย

ปูลำห้วย (Chulathelphusa brandti)
Advertisements

ชนิดที่ 4. ปูก่ำ (Thaipotamon nandidarb)

ปูก่ำ เป็นปูน้ำจืดที่มีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร กระดองมีสีม่วงเข้ม โคนก้ามมีสีฟ้าอมเทา ปลายก้ามมีสีขาว ข้อต่อของก้ามด้านในมีสีแดงสด และมีขอบเป็นวงสีขาวอยู่ด้านนอก พบอาศัยตามที่ดอนที่มีความชื้นสูง น้ำไม่ท่วมขัง และถึงแม้ในฤดูฝนจะมีน้ำมากเพียงใด ก็จะไม่ออกไปอาศัยตามท้องนา ปูชนิดนี้จะขุดรูอยู่ในดินที่ความลึก 1-1.5 เมตร โดยในฤดูแล้งจะอยู่ลึกมาก เมื่อเทียบกับปูนาทั่วไป ปูก่ำ มีขนาดใหญ่กว่า ชาวบ้านมักจะจับมาประกอบอาหาร เพราะมีเนื้อมากกว่าปูนา และรสชาติก็ดีกว่า พบอาศัยใน ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

ปูก่ำ (Thaipotamon nandidarb)

ชนิดที่ 5. ปูเจ้าพ่อหลวง (Indochinamon bhumibol)

ปูเจ้าพ่อหลวง กระดองกว้างได้ประมาณ 87 เซนติเมตร จัดเป็นปูภูเขาหรือปูน้ำตก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และยังเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทย (endemic species) พบเฉพาะที่ ภูหลวง ภูกระดึง ภูเรือ ด่านช้าย และ นาแห้ว จังหวัดเลย นอกจากนี้ยังพบที่ น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

ปูเจ้าพ่อหลวง (Indochinamon bhumibol)
Advertisements

ลักษณะเด่นของปูเจ้าพ่อหลวงมี 3 สี คือ สีน้ำตาลเข้ม สีม่วง และสีส้ม โดยกระดองจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขาเดิน 4 คู่ และขาก้ามทั้งสองข้างเป็นสีน้ำตาลเข้ม ยกเว้นด้านในของก้ามหนีบอันล่างเป็นสีม่วง และปลายก้ามหนีบทั้งสองข้างเป็นสีส้ม และจากการสังเกตุของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนพบว่า รอยบริเวณหลังกระดองปูเจ้าพ่อหลวง ลักษณะคล้ายรูป “ครุฑ”

ชนิดที่ 6. ปูราชินี (thaiphusa sirikit)

Advertisements

ปูราชินี เป็นปูที่มีขนาดกระดองประมาณ 12 เซนติเมตร จัดเป็นปูป่า ที่ได้ชื่อว่า สวยที่สุดในประเทศไทย ปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อยๆ ตามฤดูกาล เป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืด ในอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ปูราชินี (thaiphusa sirikit)

ชนิดที่ 7. ปูแม่ฟ้าหลวง (Dromothelphusa sangwan)

ปูแม่ฟ้าหลวง เป็นปูที่มีขนาดกระดองประมาณ 4 เซนติเมตร ตัวอย่างต้นแบบได้มาจากลําห้วย บริเวณบ้านก้อแสนใจ ดอยตุง จังหวัด เชียงราย มีกระดองด้านบนสีม่วงดํา ขอบกระดอง เบ้าตา และสันเหนือปากเป็นสีแดงส้ม ก้ามหนีบสีน้ำเงิน ปลายก้ามสีส้ม ขาเดินสีน้ำตาล หนามบนก้ามและขาเดินออกสีขาว

ปูแม่ฟ้าหลวง (Dromothelphusa sangwan)

ชนิดที่ 8. ปูเจ้าฟ้า (Phricotelphusa sirindhorn)

ปูเจ้าฟ้า หรือ ปูสิรินธร หรือ ปูน้ำตก จัดเป็นปูน้ำตกขนาดเล็ก มีกระดองกว้าง 9 – 25 มิลิเมตร เป็นปูที่มีสีสันสวยงาม กระดองและก้ามทั้งสองข้างเป็นสีขาว ขาเดินทั้งสี่คู่และเบ้าตาและบริเวณปากเป็นสีม่วงดำ พบอาศัยในน้ำตกหงาว จังหวัดระนอง น้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ น้ำตกเขาพะเทินทุ่ง จังหวัดเพชรบุรี น้ำตกเขาสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และ น้ำตกปิล็อก จังหวัดกาญจนบุรี

ปูเจ้าฟ้า (Phricotelphusa sirindhorn)
Advertisements

ชนิดที่ 9. ปูพระพี่นาง (Potamon galyaniae)

ปูพระพี่นาง เป็นปูที่อยู่ในกลุ่มปูป่า มีขนาดกระดองประมาณ 4.5 เซนติเมตร มี 3 สี คือ สีแดงเลือดนก แดงส้ม และสีขาว โดยกระดองมีสีแดงเลือดนก ขอบของกระดอง ขอบเบ้าตา และริมฝีปากเป็นสีแดงส้ม ขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดงเลือดนก ยกเว้นตรงปลายประมาณ 1 ใน 3 ของก้ามทั้ง 2 ข้าง จะเป็นสีขาว พบปูชนิดนี้บริเวณ ท่าแฉลบ ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ปูเจ้าฟ้า (Phricotelphusa sirindhorn)

ชนิดที่ 10. ปูมดแดงอาจารย์ซุกรี (Phricotelphusa sukreei)

ปูมดแดงอาจารย์ซุกรี จัดเป็นปูป่า ที่มีขนาดกระดองประมาณ 22 มิลิเมตร มีลักษณะกระดองสีแดง ขายาว พบอยู่บนต้นไม้เตี้ยๆ บริเวณเทือกเขาสูงทางภาคใต้ตอนล่างที่มีความชื้นสูง พบได้บริเวณพื้นที่เทือกเขาในจังหวัดพัทลุง หรือเทือกเขาสูงทางภาคใต้ของไทย

ปูมดแดงอาจารย์ซุกรี (Phricotelphusa sukreei)

ขี้เกรียจอ่านเรื่องปู กดดูที่คลิปได้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements