ลักษณะของงูเห่า
งูเห่าจัดเป็นงูที่อันตราย มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอาง เมื่อตกใจหรือต้องการขู่ศัตรู มักทำเสียงขู่ฟู่ ๆ โดยพ่นลมออกจากทางรูจมูก และแผ่แผ่นหนังที่อยู่หลังบริเวณคอออกเป็นแผ่นด้านข้างเรียกว่า “แม่เบี้ย” หรือ “พังพาน” ซึ่งบริเวณแม่เบี้ยนี้จะมีลวดลายเป็นดอกดวงสีขาวหรือสีเหลืองนวลเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ เช่น คล้ายตัวอักษรวีหรืออักษรยูหรือวงกลม หรือไม่มีเลยก็ได้ เรียกว่า “ดอกจัน”
- ขนาด : 100 – 180 เซนติเมตร ขนาดยาวที่สุดที่วัดได้ของสถานเสาวภาคือ 225 เซนติเมตร
- ลักษณะ : เป็นงูที่แผ่แม่เบี้ยได้โดยการตั้งส่วนหัวและคอขึ้น แล้วแผ่กางส่วนคอให้ขยายกว้างออกไป มีลายตรงกลางแม่เบี้ยบนด้านหลังของส่วนคอเรียกว่า “ลายดอกจัน” ลักษณะส่วนใหญ่เป็นรูปวงแหวนเดี่ยว สีลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม สีดำ หรือ สีเหลืองนวล
- การสืบพันธุ์ : ผสมพันธุ์ช่วงเดือนสิงหาคมถึงมกราคม วางไข่ครั้งละ 15-37 ฟอง ช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคม ระยะฟักไข่นาน 51-69 วัน (เฉลี่ย 60 วัน) ลูกงูเห่าแรกเกิดมีน้ำหนัก 13.2 -18.8 กรัม และความยาว 31.5 – 35.5 เซนติเมตร
- อาหาร : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก หนู นก กบ เขียด และบางครั้งกินงูชนิดอื่นเป็นอาหาร
- แหล่งที่พบ : บริเวณที่ลุ่มค่อนข้างชื้น อาศัยอยู่ในจอมปลวก ทุ่งนา หรือพบบนภูเขาที่ระดับความสูง 900 เมตร ออกหากินในเวลาพลบค่ำโดยหากินตามพื้นดิน
- การแพร่กระจาย : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล และจีน
พิษของงูเห่า
พิษมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทที่รุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่ถูกกัดเสียชีวิต พิษของงูเห่านับว่ามีความร้ายแรงมาก งูเห่ามีสีหลากหลาย เช่น ดำ, น้ำตาล, เขียวอมเทา เหลืองหม่น รวมทั้งสีขาวปลอดทั้งลำตัว ที่เรียกว่า งูเห่านวล หรือ งูเห่าสุพรรณ ซึ่งเป็นความหลากหลายทางสีสันของงูเห่าหม้อ (N. kaouthia) ที่เป็นงูเห่าชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยที่มิใช่สัตว์เผือกด้วย
เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง มีร่องและรูทางออกของน้ำพิษทางด้านหลังของเขี้ยวพิษ เขี้ยวพิษขนาดไม่ใหญ่นักซึ่งผนึกติดแน่นกับขากรรไกรขยับไม่ได้ นอกจากเขี้ยวพิษแล้วอาจมีเขี้ยวสำรองอยู่ติด ๆ กันอีก 1-2 อัน ที่ขากรรไกรล่างไม่มีฟัน นอกจากนี้แล้วในบางชนิดยังสามารถพ่นพิษออกมาจากต่อมน้ำพิษได้อีกด้วย เรียกว่า “งูเห่าพ่นพิษ” ซึ่งหากพ่นใส่ตา จะทำให้ตาบอดได้
งูพิษขนาดกลาง
งูเห่าจัดว่าเป็นงูพิษขนาดกลาง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 เมตร พบกระจายพันธุ์ไปทั่วในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียและแอฟริกา สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งทะเลทราย ป่าดิบ ทั้งบนพื้นที่ราบและภูเขาสูง ตลอดจนในชุมชนเมือง
งูเห่าขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยงูตัวเมียจะเป็นผู้ปกป้องและฟักไข่จนกระทั่งฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้จะมีนิสัยดุร้ายกว่าปกติ งูเห่าวางไข่ได้ครั้งละ 10 จนมากที่สุดได้ถึง 30 ฟอง และลูกงูมีอัตราฟักเป็นตัวสูงถึงร้อยละ 80-90 [3]โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทย นอกจาก งูเห่าหม้อ ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมี งูเห่าพ่นพิษสยาม (N. siamensis) และงูเห่าพ่นพิษสีทอง (N. samarensis)
งูเห่าพ่นพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ งูเห่าอาเช (N. ashei) พบได้ในที่ราบแห้งแล้งทางภาคเหนือและตะวันออกของเคนยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูกันดา รวมทั้งภาคใต้ของเอธิโอเปียและโซมาเลีย ที่มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.6 เมตร เป็นงูเห่าที่เพิ่งถูกจำแนกออกจากชนิดอื่นเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007
วิธีเอาตัวรอดจากงูเห่า
อ่านเรื่อง : งูพิษถึงตาย 7 ชนิด ที่คนไทยโดนกัดบ่อย